อุตรดิตถ์-ม.นเรศวร ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนหลงลับแลและหมอนทอง

อุตรดิตถ์-ม.นเรศวร ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนหลงลับแลและหมอนทอง

ภาพ/ข่าว:พูลชัย ราชประสิทธิ์  นสพ.อินทรีสยามออนไลน์ จ.อุตรดิตถ์

ม.นเรศวร ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนหลงลับแลและหมอนทอง

             เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 21 มิถุนายน 64 ที่ห้องคัทลียา 1 ชั้น 4 โรงแรมฟรายเดย์ ถ.บรมอาสน์ ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ นายปรัชญา เสริฐลือชา นายอำเภอลับแล เดินทางมาเป็นประธานเปิดโครงการการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนหลงลับแลและหมอนทองเชิงพาณิชย์ในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยมี ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลกกล่าวรายงานโครงการ “การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนหลงลับแลและหมอนทอง เชิงพาณิชย์ในเขตภาคเหนือตอนล่าง” โดยการจัดโครงการในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

           วัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาการผลิตทุเรียน และการพัฒนาการส่งออกทุเรียนในเขตภาคเหนือตอนล่าง ทุเรียนพันธุ์หลงลับแลเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ จุดเด่น คือ รสชาติดี เนื้อนุ่มไม่มีเสี้ยน กลิ่นอ่อน เมล็ดลีบ เนื้อแห้ง น้ำหนักโดยเฉลี่ย 1-2 กิโลกรัม เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในประเทศ โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ในครั้งนี้เน้นการแก้ไขปัญหาสำคัญ ได้แก่ เทคโนโลยีการผลิตก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว การแพร่ระบาดของแมลง การให้ปุ๋ยและสาเหตุการแปรปรวนของสภาพอากาศในช่วงออกดอกและติดผล ทำให้ทุเรียนหลงลับแลมีคุณภาพต่ำ ป้องกันและการกำจัดโรค การเกิดโรคหลังการเก็บเกี่ยว อีกทั้งยังเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการผลิตไม้ผลระหว่างนักวิชาการ เกษตรกรผู้มีประสบการณ์ในการทำสวน เกษตรกรรายใหม่ และผู้สนใจทั่วไปนายปรัชญา นอภ.ลับแล กล่าวว่า ทุเรียนมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยทุเรียน เป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อในจังหวัดอุตรดิตถ์ และมีความสำคัญทาง เศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย ที่นิยมปลูกกันแพร่หลาย มีเกษตรกรทำสวน ทุเรียนจำนวน 157 ราย เนื้อที่เพาะปลูกประมาณ 1,571 ไร่ ทุเรียนหลงลับแลได้รับ ความนิยมจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เนื่องจากรสชาติดี ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกร ประสบปัญหาด้านคุณภาพของทุเรียนหลงลับแล ไม่ได้มาตรฐานตามความต้องการ ของบริษัทส่งออกทุเรียน ดังนั้น การถ่ายทอดความรู้จากการทำวิจัย และการส่งเสริม การผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องเหมาะสม แก่เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน และผู้สนใจ จึงเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการผลิตทุเรียนหลงลับแลให้มีคุณภาพดีตรงตาม มาตรฐานที่กำหนด ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนต่อไป.

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

 

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!