ดีแทคร่วมกับเทเลนอร์นำเสนอแหล่งเรียนรู้ออนไลน์

ดีแทคร่วมกับเทเลนอร์นำเสนอแหล่งเรียนรู้ออนไลน์

ดีแทคร่วมกับเทเลนอร์ กรุ๊ป และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) นำเสนอแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ SafeInternetForKid.com เพื่อช่วยเยาวชนรับมือกับความเสี่ยงบนโลกออนไลน์

ภาพ/ข่าว:อริย์ธัช พรอัศวโยธิน

    ดีแทคร่วมกับเทเลนอร์ กรุ๊ป และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPAนำเสนอแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ SafeInternetForKid.com เพื่อช่วยเยาวชนรับมือกับความเสี่ยงบนโลกออนไลน์
     คุณคิดว่าข้อมูลบนออนไลน์ในปัจจุบันน่าเชื่อถือได้มากแค่ไหนคุณยินยอมให้ผู้อื่นโพสต์ภาพลูกของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่? คุณเข้าใจความแตกต่างระหว่างการพูดหยอกล้อและการพูดทำร้ายจิตใจหรือไม่บุคคลที่สามารถพึ่งพาได้เมื่อลูกคุณมีปัญหาไม่สบายใจคือใคร? การใช้ออนไลน์สามารถเป็นทั้งโอกาสในการหาความรู้และสืบค้นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถนำภัยอันตรายมาให้เช่นกัน ดีแทคจึงร่วมมือกับเทเลนอร์ กรุ๊ป และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) นำเสนอแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ล่าสุด SafeInternetForKid.com ที่ช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูดูแลบุตรหลานให้พ้นภัยจากโลกออนไลน์
    นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชนหรือ ดีแทค กล่าวว่า “เด็กและเยาวชนเป็นช่วงวัยที่มีความสามารถอย่างเหลือล้นในการใช้สื่อไอทีได้อย่างคล่องแคล่วมากกว่ารุ่นพ่อแม่ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะมีความรู้และทักษะที่จะใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยสำหรับตัวพวกเอง นั่นจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดีแทค ภายใต้ความร่วมมือกับเทเลนอร์ กรุ๊ป และ Parent Zone ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวจากประเทศอังกฤษ พัฒนา SafeInternetForKid.com แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่คุณครูและพ่อแม่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสอนเด็ก  ให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากอินเทอร์เน็ต ขณะเดียวกัน ก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อปกป้องกันตนเองจากความเสี่ยงในโลกออนไลน์
   “ในโอกาสนี้ ดีแทคยังได้รับความร่วมมือในการแนะนำแหล่งเรียนรู้ออนไลน์และการจัดทำค่ายเยาวชนร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPAเพื่อสนับสนุนให้เด็กมีทักษะความเข้าใจในการใช้สื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacyซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายภาครัฐที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรดิจิทัล นางอเล็กซานดรากล่าวเพิ่มเติม
     ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า “สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล มีภารกิจสำคัญที่ต้องเตรียมคนไทยให้พร้อมสู่ศตวรรษที่ 21 ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เยาวชน มีความรู้และทักษะในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล ไปพร้อมกับการมีภูมิคุ้มกันต่อภัยออนไลน์ต่าง  ที่มักมีความซับซ้อน เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสามารถส่งผลกระทบในวงกว้างได้  สำนักงานฯ จึงให้การสนับสนุนการทำงานดังกล่าวผ่านกลไก Digital Manpower Fund เพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในการต่อสู้กับภัยออนไลน์ที่นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย
      SafeInternetForkid.com สร้างเยาวชนให้มีภูมิคุ้มกันบนโลกดิจิทัล (Digital Resilienceเด็กและเยาวชนทุกคนมีสิทธิ์ในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งความรู้เพื่อโอกาสในการพัฒนาตนเองอย่างเหมาะสมและมีสิทธิ์ในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นบนพื้นที่ออนไลน์อย่างมีความรับผิดชอบ จากผลสำรวจสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2560 ของศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ (COPAT)** กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 9-18 ปีจากทั่วประเทศไทย พบว่า เด็ก  เผชิญกับความเสี่ยงทางออนไลน์ ทั้งเคยพบเห็นสื่อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศร้อยละ 68.07 เคยถูกกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์เป็นร้อยละ 46.11และเคยนัดพบกับเพื่อนออนไลน์ร้อยละ 15.97
    SafeInternetForkid.com ได้รับการออกแบบมาเพื่อสร้างทักษะให้เยาวชนสามารถปรับตัวและมีภูมิคุ้มกันบนโลกออนไลน์ (Digital Resilienceอันมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ สามารถแยกแยะความเสี่ยงบนออนไลน์ได้,รู้วิธีการขอความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม,สามารถใช้ประโยชน์และสร้างโอกาสจากการใช้อินเทอร์เน็ตได้,สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม หากตกอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นเหยื่อในโลกออนไลน์
   เนื้อหาของ SafeInternetForkid.com เหมาะสำหรับเด็กและเยาวชนระหว่างช่วงวัย 7 – 16 ปี แหล่งเรียนรู้ออนไลน์นี้ ประกอบด้วยแบบฝึกหัดที่ครูสามารถดาวน์โหลดไปปรับใช้ในกิจกรรมการเรียนในห้องเรียนได้ รวมถึงเกมส์ออนไลน์ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้อินเทอร์เน็ต โดยเนื้อหาในเกมส์จะเป็นการติดตามชีวิตของ น้องฟ้า” ที่จะพาผู้เล่นไปรู้จักสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการถูกล่อลวง โดนกลั่นแกล้งและอาจหลงเชื่อข่าวปลอม โดยคำถามจะมีความยากง่ายตามอายุของผู้เล่น
    ปัจจุบัน ดีแทคและบริษัท อินสครู จำกัด สตาร์ทอัพที่มุ่งพัฒนาศักยภาพคุณครู ได้ร่วมมือกันเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ SafeInternetForKid.com ผ่านการอบรมครูและนักเรียนจาก 400 โรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งดีแทค คาดว่าจะมีเด็กนักเรียนกว่า 50,000 คนที่ได้รับประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ดังกล่าวในปีนี้
     นางมานิชา โดกรา รองผู้อำนวยการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเอเชีย เทเลนอร์ กรุ๊ป ได้กล่าวว่า เทเลนอร์ กรุ๊ป เชื่อว่า การรับรู้ข่าวสารบนโลกออนไลน์อย่างเท่าเทียมกันจะทำให้ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมถึงการได้รับความร่วมมือกับเครือข่ายต่าง  จะเป็นการสนับสนุนที่สำคัญทางด้านการศึกษา ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเข้าถึงเด็กและเยาวชนมากกว่า ล้านคน เพื่อการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยในปี 2020”
    Young Safe Internet Leader Camp แพลตฟอร์มสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชนเพื่อสร้างกลไกรับมือความเสี่ยงออนไลน์ แพลตฟอร์มนี้ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับเด็กและเยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ช่วงวัย 12-15 ปีเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองสู่การเป็นแกนนำเยาวชนที่มีความรู้และทักษะที่จำเป็น สามารถนำไปต่อยอดในการจัดการกับความเสี่ยงในการใช้อินเทอร์เน็ตประจำวัน และยังให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นได้  เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมในแพลตฟอร์มนี้จะมีโอกาสทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาเพื่อสร้างแผนกิจกรรมและโครงการการจัดการปัญหาอันเนื่องมาจากความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ที่ส่งผลกระทบในโรงเรียนและชุมชนของตนเอง 
    นอกจากนี้ Young Safe Internet Leader Camp ยังมีจุดประสงค์เพื่อสร้างทัศนคติและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความสำคัญของทักษะที่เกี่ยวกับการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ (Data-Driven mindset) ซึ่งเป็นทักษะดิจิทัลจำเป็นที่คนทำงานในอนาคตต้องมี โดยเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลเพื่อการแสดงผลด้วยภาพ (Data Visualizationและการใช้ข้อมูลเล่าเรื่อง (Data storytellingค่ายจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม 2562   dtac house อาคารจัตุรัสจามจุรี  ทั้งนี้ Young Safe Internet Leader Camp เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง ดีแทค สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และเพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย สามารถเข้าไปที่ SafeInternetForKid.com

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!