ศรีสะเกษ-เร่งทำหมันลิงกว่า 500 ตัว
ภาพ/ข่าว:ศิริเกษ หมายสุข
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 เร่งทำหมันลิงกว่า 500 ตัว อ.ราษีไศล หวังควบคุมประชากรลิงลดปัญหาภัยคุกคามกับชุมชนเมืองได้อย่างถูกวิธีและสามารถหยุดการแพร่กระจายเชื้อโรคระบาดบางตัวได้ด้วย
เมื่อวันที่ 3 ก.ค.62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณวัดเมืองแคน ต.เมืองแคน อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี เปิดเผยว่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี ได้ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการทำหมันลิงที่อยู่ในบริเวณป่าของวัดเมืองแคน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 500 ตัว โดยมีทีมดักจับนำกรงขนาดใหญ่ไปดักในพื้นที่วัดเมืองแคน แล้วนำลิงไปแยกในกรงเล็กเพื่อให้ทีมผ่าตัดทำหมัน ฉีดยาสลบ ทำประวัติ โดยคล้องหมายเลขและถ่ายรูปให้ครบทุกด้านรอบตัวลิง ทำการวัดขนาด ความยาวตัว/หาง/ขาหลัง/ฝาเท้า/ใบหู/และระบุตำหนิ เจาะเลือด เก็บตัวอย่างน้ำลาย อุจจาระ เซรั่ม เพื่อหาเชื้อไวรัสโรคอุบัติใหม่ ที่ติดต่อจากลิงสู่คนโดยสุ่ม 25 ตัวอย่างต่อฝูง และนำส่งตรวจที่มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ยาก่อนผ่าตัด ได้แก่ cogetin ทาตาลิงเพื่อไม่ทำให้ตาลิงแห้ง ฉีดยาลดปวด (tolfedine) ลดอักเสบ(shotapen) ถ่ายพยาธิ(ivermectin) ให้แก่ลิง โกนขนบริเวณหน้าท้อง ผ่าตัด โดยผ่าตัดเอาท่อนำไข่ออก หรือท่อนำอสุจิออก แล้วทำแผล ทำสลักสัญลักษณ์ โดยสักต้นแขนขวา ตามที่กำหนดไว้ 3301 33 คือศรีสะเกษ 01 คือ พื้นที่แรก 62001 62 คือ ปี 001 คือ ตัวที่ 1 จากนั้นนำลิงไปพักฟื้น และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไปซึ่ งการทำหมันเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยควบคุมประชากรลิง ลดปัญหาภัยคุกคามกับชุมชนเมืองได้อย่างถูกวิธี และสามารถหยุดการแพร่กระจายเชื้อโรคระบาดบางตัวได้ด้วย
นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี เปิดเผยต่อไปว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาขยายพื้นที่เมืองเข้าไปในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และพื้นที่ที่เคยเป็นป่ามาก่อนจำนวนมาก ซึ่งพื้นที่เหล่านั้นมีระบบควบคุม โดยห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันลิงจำพวกนี้กลับอยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร ไม่มีผู้ล่า เช่นเสือดาวหรือ งูเหลือม เป็นต้น ขณะนี้ ลิงที่อาศัยในแหล่งชุมชนกลับเพิ่มจำนวนมาก ต้องเข้ามาอาหารในพื้นที่ที่มีคนอยู่ ตลอดจนมีประชาชนบางกลุ่มซึ่งอยู่ในพื้นที่ไปให้อาหารสัตว์ ทำให้สัตว์ป่าเหล่ามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปไม่ยอมหาอาหารเองและเข้ามาก่อกวนประชาชนในท้องที่ และสัตว์ป่าเหล่านั้นเป็นสัตว์ที่เป็นห่วงโซ่อาหารที่สูงสุดในพื้นที่ทำให้การขยายพันธุ์และแพร่พันธุ์เป็นไปอย่างรวดเร็ว
นายชัยวัฒน์ เปิดเผยด้วยว่า สัตวป่าที่อยู่ในบัญชี สัตว์ป่าคุ้มครอง ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคมเมืองในปัจจุบันได้แก่ ตัวเงินตัวทอง ช้าง และลิง ซึ่งทั้ง 3 ชนิด หากผู้ใดมีไว้ครอบครองหรือทำอัตรายแก่สัตว์ป่าย่อมถือว่าผิดกฎหมาย ตาม พรบ.สัตว์ป่าสงวนและคุ้มครองสัตว์ พ.ศ.2535 ปัจจุบันนี้ สัตว์ป่าที่เป็นปัญหาหนักที่สุด คือ ลิง ซึ่งเป็นปัญหาหลักของชุมชนก่อกวน และสร้างปัญหา ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวหลายๆแห่ง ด้วยกัน กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จึงให้ความสำคัญในการจัดการปัญหาสัตว์ป่าที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน จึงได้ให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี สำรวจพื้นที่ที่มีปัญหาดังกล่าว ซึ่งได้พบว่าในเขตพื้นที่ อ. ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ที่อดีตในปี พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมามีประชากรลิงไม่ถึง 100 ตัว แต่ในปัจจุบันปี 2562 มีประชากรลิงถึงประมาณ 500 ตัว ซึ่งหน่วยงานในท้องที่ ตลอดจนชาวบ้านในชุมชน เห็นด้วยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำให้ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี ได้จัดทำโครงการทำหมันลิงในท้องที่ อ. ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้อนุมัติโครงการแล้ว และได้มีคำสั่งให้หน่วยงานในสังกัดใกล้เคียงร่วมดำเนินการด้วย ได้แก่ สบอ.8 สัตว์แพทย์นันทิตา รักษาชาติ สบอ.9 สัตวแพทย์บงกตมาศ พิมพ์สินและพัชรินทร์ ราชสิน และ สอบ.10 สัตวแพทย์ทักษินา จารุวัฒนานนท์
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/