ปทุมธานี-เกษตรกรจี้ชลประทานสูบน้ำเข้าคลองรังสิตผันน้ำช่วยพืชผลทางการเกษตรก่อนแห้งตาย
ภาพ/ข่าว:อนันต์ วิจิตรประชา
เกษตรกรจี้ชลประทานสูบน้ำเข้าคลองรังสิตผันน้ำช่วยพืชผลทางการเกษตรก่อนแห้งตาย
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 4 มกราคม 2563 เกษตรชาวสวนจังหวัดปทุมธานีได้เผชิญกับปัญหาภัยแล้งที่หนักกว่าทุกปีที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐยังคงไม่ขยับ ทางเกษตรบางกลุ่มตั้งรวมตัวกันช่วยเหลือกันเองก่อน เบื้องต้นได้สำรวจเส้นทางที่จะผันน้ำจากแม้น้ำเจ้าพระยา เพื่อชวนเหลือชาวสวนที่พืชผลต้องการน้ำไปหล่อเลี้ยง โดยพบว่าสามารถผันน้ำจาก แม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้ามาทางประตูระบายน้ำจากคลองเปรมประชากรฝั่งเหนือรังสิต ต.บางพูน อ.เมือง จ.ปทุมธานี และประตูระบายน้ำปากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ปทุมธานี เพื่อให้น้ำไหลเข้ามายังคลองรังสิตประยูรศักดิ์เพิ่มขึ้นและสามารถส่งน้ำไปยังคลองซอยต่างๆไปหล่อเลี้ยงพืชผลทางการเกษตรได้
ด้านนายภาค วราธนานันท์ อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ที่ประตูระบายน้ำคลองเปรมเหนือรังสิต เป็นประตูระบายน้ำจากคลองเปรมประชากรที่เชื่องระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ปตร.เปรมเหนือรังสิต ต.บางพูน อ.เมือง จ.ปทุมธานี โดยสภาพตรงจุดนี้ด้านซ้ายจะเป็นคลองรังสิตฯตั้งแต่คลองหนึ่งฝั่งอำเภอธัญบุรีเรื่อยไป ส่วนด้านขวาไปทางปากคลองรังสิต หากตรงไปจะเป็นคลองเปรมฯมุ่งไปทางหลักสี่ ปกติแล้วคลองรังสิตจะสามารถส่งน้ำไปถึงจ.นครนายก เนื่องจากชาวเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ อ.ธัญบุรี อ.หนองเสือ อ.ลำลูกกา สามารถใช้น้ำจากคลองนี้ได้ ส่วนปัญหาน้ำเค็มที่ทางชลประทานเป็นห่วงนั้น ตนเองเห็นว่าน้ำจากคลองเปรมฯที่ไหลมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นน้ำที่ไม่มีค่าความเค็ม ส่วนน้ำที่มาจากประตูน้ำปากคลองรังสิตอาจจะมีความเค็มช่วงน้ำแห้งที่น้ำทะเลหนุนมา เมื่อผสมกันก็จะเจือจางไปได้ เพื่อให้มีน้ำไปประทังให้กับชาวสวนชาวเกษตรกรรมได้
ส่วนนายมนัส พุทธรัตน์ อายุ 66 ปี ประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังจากที่คลองระพีพัฒน์ไม่มีน้ำจริง ๆ หากมีน้ำไหลมาก็น้อยมาซึ่งจะมีโรงงานไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ สารถสูบน้ำไปใช้ในกิจกรรมของตัวเองได้ ส่วนเกษตรกรในพื้นที่จึงไม่มีน้ำ จึงได้ร่วมตัวมาดูช่องทางที่จะผันน้ำไปใช้จากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะที่ประตูน้ำปากคลองรังสิตฯ ว่าจะสามารถผันน้ำไปช่วยเกษตร อ.หนองเสือ อ.ธัญบุรี ได้หรือไม่ ผมเป็นเกษตรกรมาตั้งแต่ ปี 2519 ยอมรับว่าปีนี้แล้งมากที่สุด ปกติแล้งชาวสวนจะเผชิญภัยแล้งช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม เพียง 2 เดือนเท่านั้น แต่รอบนี้ชาวเกษตรกรต้องพบกับภัยแล้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 แล้วเราจะอยู่ถึงภัยแล้งที่ยาวนานแบบนี้อย่างไร ภาครัฐต้องมีแผนแล้วว่าจะผันน้ำช่วยเหลือเกษตรกรอย่างไร เดือนละ 1 ครั้งก็ยังดี ให้เขาอยู่ได้ ให้รักษาพืชผลทางการเกษตรของเรา ทางด้านผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีก็ต้องลงมาดูแลด้วยตนเอง ไม่ใช่ปล่อยให้ทางชลประทาน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เนื่องจากทางผู้ว่าฯเป็นผู้ที่มีงบประมาณเยอะที่สุด ที่จะมาช่วยผันน้ำเข้าไปยังคลองต่าง ๆ การประการภัยแล้งสมควรที่จะประกาศหรือยัง เราต้องนัดไปเลยว่ายังคงแล้งอีก 6 เดือน อยากฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยงข้องว่า ในเมื่อแม่น้ำเจ้าพระยายังมีอยู่ ควรจะสูบหรือผันน้ำเข้าไปในคลองเลย ในขณะที่น้ำจืดลงมาก็ให้รีบสูบเข้าไปให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีเครื่องมือวัดความเค็มอยู่แล้ว
ทางด้านนายพงศ์พันธ์ สินผดุง อายุ 50 ปี เกษตรชาวหนองเสือ กล่าวว่า ผมเป็นเกษตรปลูกไม้ผลหลายชนิด ทั้งฝรั่ง มะม่วง มะนาว จำนวน 30 ไร่ ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ซึ่งการบริการจัดการน้ำจากภาครัฐที่มีนโยบายส่งผลต่อเกษตร เมื่อได้สำรวจเส้นทางน้ำยังพบว่าเราสามารถผันน้ำจืดจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ โดยน้ำจากคลองรังสิตฯจะเป็นที่พึ่งสุดท้ายของเกษตรได้ เนื่องจากน้ำในคลองระพีพัฒน์น้ำไม่พอที่จะไหลเข้ามาได้แล้ว อยากฝากถึงท่านผู้ว่าราชการจังหวัดให้ลงมาดูความเดือดร้อนของชาวนาและเกษตรพืชสวน ในส่วนของพืชสวนเป็นพืชที่ต้องดูแลต่อ และเราจะได้รู้พื้นที่จริงว่ามีปริมาณเท่าไรต้องการน้ำเท่าไร จะได้ช่วยเหลือได้ถูกทาง เนื่องปัจจุบันได้รับความเดือดร้อนมาก.
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/