สภาสตรีแห่งชาติฯเดินหน้ารณรงค์สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน

สภาสตรีแห่งชาติฯเดินหน้ารณรงค์สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน

ภาพ/ข่าว:คัคเนศวร์ พรอัศวโยธิน

สภาสตรีแห่งชาติฯเดินหน้ารณรงค์สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน

            วันที่ 2 ธันวาคม 2562 ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และนางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ลงนาม บันทึกข้อตกลง(MOU) โครงการ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ร่วมกับ นายดำรงค์ สิริวิชย อิ่มวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด และนายโชคชัย แก้วป่อง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยนางนงรัตน์ คงเกษม ประธานแม่บ้านมหาดไทย/ นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีสมบัติ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย ราชภัฏร้อยเอ็ด นายมังกร ยนต์ตระกูล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคม ชมรม เครือข่ายระดับจังหวัด ของจังหวัดร้อยเอ็ด ในระดับอำเภอ มีนายอำเภอทั้ง 20 อำเภอ โดยนางนวลจันทร์ ศรีมงคล หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมลงนาม การรณรงค์ให้คนไทยทั้งประเทศร่วมมือร่วมใจกันใส่ผ้าทอไทย เพื่อช่วยกันสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้ให้แก่ชุมชน รักษาเอกลัษณ์ทางวัฒนธรรม และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีกลุ่มองค์กรสตรี กลุ่มอาชีพทอผ้า ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ของจังหวัดร้อยเอ็ด เข้าร่วมจำนวน 400 คน ทั้งนี้ มีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าเครื่องแต่งกาย ได้มาจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ผ้าไหมอันลือชื่อของจังหวัดร้อยเอ็ด มากกว่า 13 ราย เป็นการกระตุ้นให้เกิดการทอผ้า และสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยจัดกิจกรรม ณ ห้องประดับเพชร โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้นอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

              ดร.วันดี กล่าวว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระพันปีหลวง ต่อปวงสตรีและปวงชนชาวไทย ที่ได้ทรงมีพระวิริยะ พระปรีชาชาญ พลิกฟื้นผ้าทอไทยทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย ให้ผ้าไทยเป็นที่นิยมในสังคมจวบจนปัจจุบัน ได้สร้างงาน สร้างอาชีพทอผ้าแก่สตรีทั่วทุกภูมิภาค หากว่าคนไทยครึ่งประเทศ จำนวน 35 ล้านคน ได้ร่วมกันใส่ผ้าไทยทุกวัน เฉลี่ยซื้อผ้าไทยเพียง 10 เมตรต่อคน จะก่อให้เกิดความต้องการผ้าไทยถึง 350 ล้านเมตร ในราคาเมตรละ 300 บาท จะเกิดการซื้อขายกว่า 100,000 ล้านบาท เป็นการสร้างงาน สร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก ยกระดับคุณภาพชีวิตจากระดับครอบครัวถึงชุมชนอย่างยั่งยืน
               จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรม เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ อันเลื่องชื่อของประเทศไทย มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ได้แก่ พระมหาเจดีย์ชัยมงคล วัดเจดีย์ชัยมงคล เจดีย์หินทราย บึงพลาญชัย สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด อยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ด นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ผาหมอกมิวาย จุดชมทิวทัศน์พระอาทิตย์ตกดินที่สวยงาม น้ำตกถ้ำโสดา อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ และสินค้า OTOP โดดเด่นที่น่าสนใจ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ผ้าไหมสาเกต ถั่วป่านทอง ฯลฯ

                นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมประเพณีที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ประเพณีสมมาน้ำ คืนเพ็งเส็งประทีป ประเพณีบุญผะเหวต นอกจากนี้ ยังมีผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด คือ ผ้าสาเกต ผ้าไหมลายสาเกต หมายถึง ผ้าไหมที่ประกอบด้วยลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ในการทอผ้าไหมของจังหวัดร้อยเอ็ดที่ได้นำเอาลายมัดหมี่พื้นบ้าน 5 ลายที่นิยมทอในกลุ่มชนที่อยู่ในเมืองร้อยเอ็ด มาทอต่อกันในผ้าผืนเดียวกันเปรียบเสมือนเป็นการหลอมรวมความสามัคคีของชาวร้อยเอ็ดให้เป็นหนึ่งเดียว โดยแต่ละลายจะทอคั่นด้วยผ้าสีพื้นสีดอกอินทนิลบก (สีชมพูอมม่วง) ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ลายมัดหมี่พื้นบ้าน 5 ลายที่ประกอบในผ้าสาเกต ได้แก่ ลายโคมเจ็ด ลายนาคน้อย ลายคองเอี้ย ลายหมากจับ ลายค้ำเพา ลวดลายทั้ง 5 ลายนี้ ได้นำมาประยุกต์ไว้ในผ้าผืนเดียวกันและได้มีการประกาศชื่อลายนี้คือ ลายสาเกต เป็นผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด มายาวนาน เป็นระยะเวลา 18 ปี

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!