สระบุรี-รพ.สระบุรี และรพ.เสาไห้ฯเปิดให้บริการทางการแพทย์
ภาพ/ข่าว:สมภพ พิมมะศร
โรงพยาบาลสระบุรี และโรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ร่วมมือกันเปิดให้บริการทางการแพทย์ Saraburi – Sao Hai Hospital Joint Venture Care : SSJC
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุมศิริพานิช อาคารผู้ป่วยนอกชั้น 6 โรงพยาบาลสระบุรี จัดให้มีพิธีแถลงข่าว ความร่วมมือทางการแพทย์ ระหว่างโรงพยาบาลสระบุรี กับโรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา โดยมี นพ.รุ่งฤทัย มวลประสิทธิ์พร นายแพทย์สาธารณสุข จ.สระบุรี เป็นประธาน และมี นพ.อนันต์ กมลเนตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสระบุรี,นพ.สมชาติ สุจริตรังษี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเสาไห้ฯ คณะผู้บริหารฯ แพทย์ พยาบาล จาก 2 โรงพยาบาลฯ สื่อมวลชนร่วมในพิธี
นพ.รุ่งฤทัย มวลประสิทธิ์พร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภาวะสุขภาพของประชาชน เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีผู้ป่วยมารับการรักษาในโรงพยาบาลจํานวนมาก โรงพยาบาลสระบุรีเป็นโรงพยาบาลระดับ ตติยภูมิระดับสูง เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย เขตบริการสุขภาพที่ 4 เป็นศูนย์ความเชี่ยวชาญในการดูแล ผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน และต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับสูง แต่ด้วยสถานที่ของโรงพยาบาล สระบุรีที่มีพื้นที่ให้บริการจํากัด ทําให้ เกิดความแออัด เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติสามารถเข้าถึง บริการได้ ผู้ป่วยที่ผ่านพ้นระยะวิกฤติหรืออาการคงที่ สามารถไปรับการรักษาในโรงพยาบาลชุมชนซึ่ง มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวได้
โรงพยาบาลสระบุรีจึงจัดทําโครงการความร่วมมือ บริการทางการแพทย์ ระหว่างโรงพยาบาลสระบุรี ร่วมกับโรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ภายใต้ชื่อโครงการ Saraburi – Sao Hai Hospital Joint Venture Care หรือ SSJC เพื่อเพิ่ม คุณภาพการดูแล เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเตียงรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลตติยภูมิระดับสูง และส่งเสริมความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ขอให้ประชาชนเกิดความมั่นใจได้ว่า ท่านจะได้รับการ ดูแลที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยทีมแพทย์ พยาบาลและ สหสาขาวิชาชีพของทั้งสองโรงพยาบาล ร่วมกัน กลุ่มผู้ป่วยเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการคงที่ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะฟื้นฟูสภาพ เช่น ผู้ป่วย ติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร , ทางเดินหายใจ , ทางเดินปัสสาวะที่ต้องได้รับยาปฏิชีวนะต่อเนื่อง หรือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง โดยจะเริ่มดําเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป ดังนั้นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจและมั่นใจใน ระบบบริการ ซึ่งจะเกิดประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนในจังหวัดสระบุรีและเครือข่ายบริการสุขภาพเขต 4 ต่อไป
นพ.สมชาติ สุจริตรังสี ผอ.รพ.เสาไห้ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเสาไห้ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา กำลังดำเนินการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกเพิ่มเติม ซึ่งจะมี เตียงคนไข้ปกติ และห้องพิเศษไว้รองรับผู้ป่วยที่จะนำไปปฐมพยาบาลต่อตามโครงการดังกล่าวนี้ สำหรับกลุ่มผู้ป่วยเป้าหมาย – ผู้ป่วยติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร , ทางเดินหายใจ , ทางเดินปัสสาวะ ที่ต้องให้ยาปฏิชีวนะต่อเนื่อง (ที่ไม่ใช่เชื้อดื้อยา) – ผู้ป่วย Palliative care ระยะเริ่มต้นโครงการ รับผู้ป่วยที่ไม่ใช้เครื่องช่วยหายใจ – ผู้ป่วย Intermediate Care ( ระบบการส่งต่อ Intermediate care โดยใบ refer ชมพู เหลือง)
เกณฑ์การรับผู้ป่วย – ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยที่มีโรคร่วม และมีอาการคงที่ ระยะวันนอนไม่น้อยกว่า 3 วัน – มีญาติ (ไม่ต้องอยู่ตลอดเวลา) สิทธิการรักษาพยาบาล – UC หน่วยบริการหลัก โรงพยาบาลสระบุรี ข้าราชการ ( กรมบัญชีกลาง /องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น) ประกันสังคมโรงพยาบาลสระบุรี เงินสด โดยจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป
ด้าน นพ.อนันต์ กมลเนตร ผอ.รพ.สระบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการความร่วมมือระหว่าง โรงพยาบาลสระบุรี และโรงพยาบาลเสาไห้ฯ ในครั้งนี้ เป็นการลดการแออัด ลดปริมาณผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลสระบุรี อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ร่วมกัน ซึ่งการส่งต่อผู้ป่วย จะเป็นไปโดยความสมัครใจของคนไข้ ไม่ได้บังคับ อาการคนไข้ที่คงที่และยังคงต้องมีการให้ยาต่อ หลักใหญ่คือคนไข้จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลต่ออีกอย่างน้อย 3 วัน นั่นคือข้อตกลงร่วมกันเบื้องต้น ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยที่เข้าโครงการ SSJC โรงพยาบาลสระบุรีโดยแพทย์ Intern ดําเนินการประสาน ข้อมูลผู้ป่วยกับแพทย์โรงพยาบาลเสาไห้ฯ ทางโทรศัพท์ และระบุแผนการรักษา การนัด Follow up ในใบส่งต่อ (แบบฟอร์มส่งต่อ โครงการ SSJC ) พยาบาลหอผู้ป่วยส่งต่อข้อมูลกับพยาบาลโรงพยาบาล เสาไห้ฯ โดยพยาบาลหอผู้ป่วยประสานกับศูนย์ refer โรงพยาบาลสระบุรีเพื่อประสานและจัดรถ refer ไป โรงพยาบาลเสาไห้ – กรณีผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น/ทรุดลง ต้องส่งกลับมารักษาต่อที่โรงพยาบาลสระบุรี ( แพทย์โรงพยาบาลเสาไห้ เป็นผู้ประสานกับอายุรแพทย์โรงพยาบาลสระบุรี) กําหนดให้มีระบบช่องทางด่วน ( Green channel) โดย โรงพยาบาลเสาไห้ฯ ประสานศูนย์ refer โรงพยาบาลสระบุรี เพื่อรับผู้ป่วยและเตรียมเอกสาร admit และ ส่งผู้ป่วยกลับหอผู้ป่วยเดิม กรณีผู้ป่วยวิกฤต/ฉุกเฉิน ให้เข้าระบบ refer fast track การบันทึกแผนการรักษาในการจําหน่าย ระบุเข้าโครงการ SSJC – ภายหลังผู้ป่วยจําหน่าย ให้ดําเนินการสรุปเวชระเบียน นําไปจําหน่ายและ receive ที่การเงินทันที เพื่อไม่ให้ เกิดการ admit ซ้อน – การสรุปเวชระเบียน Discharge Type : discharge with approval / Status type : Improve (ไม่ใช่ refer ) 2. การเยี่ยมตรวจ( Round) และการให้คำปรึกษา ทีมแพทย์ พยาบาล และสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โรงพยาบาลสระบุรี ร่วม Round ผู้ป่วยในโครงการ SSJC ที่โรงพยาบาลเสาไห้ฯ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง (ในระยะเริ่มต้นโครงการ) เพื่อให้คําปรึกษาด้านการ รักษาพยาบาล ติดตามปัญหาอุปสรรค การดําเนินงาน พร้อมยินดีเป็นที่ปรึกษาในการดูแลผู้ป่วย อายุรกรรมรายอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในโครงการ SSJC – กรณีแพทย์โรงพยาบาลเสาไห้ฯ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยขณะพักรักษาที่โรงพยาบาลเสาไห้ฯ สามารถปรึกษา แพทย์ Staff โรงพยาบาลสระบุรีได้ทางโทรศัพท์หรือระบบ Line application
ระบบ การจ่ายยา Antibiotic หรือยาอื่น ๆ ที่จําเป็น ที่ไม่มีในโรงพยาบาลเสาไห้ฯ โรงพยาบาลสระบุรีจะจ่ายให้ ครบ Course การรักษา การพัฒนาความรู้/ทักษะทีมผู้ดูแลผู้ป่วย – จัดตั้ง Line เพื่อใช้สื่อสารข้อมูลของทีมสุขภาพ และการปรึกษาข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ต่อการ รักษาพยาบาลผู้ป่วย – ทีมโรงพยาบาลสระบุรี สนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาสมรรถนะทีมดูแลผู้ป่วยอายุรกรรม ระบบการขนส่ง – ผู้ป่วยในโครงการ SSJC ส่งต่อไปโรงพยาบาลเสาไห้ฯ นําส่งโดยรถและทีมพยาบาลจากโรงพยาบาลสระบุรี แพทย์ พยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพโรงพยาบาลสระบุรีไปเยี่ยมตรวจผู้ป่วยที่โรงพยาบาลเสาไห้ โดยรถของโรงพยาบาลสระบุรี -กรณีผู้ป่วยต้องกลับมารักษาที่โรงพยาบาลสระบุรี ให้โรงพยาบาลเสาไห้ฯนําส่งผู้ป่วยมาโรงพยาบาล สระบุรี
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/