สระแก้ว-รณรงค์ฉีดวัคซีน ป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคคอตีบคอบวม ในโค กระบือ

สระแก้ว-รณรงค์ฉีดวัคซีน ป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคคอตีบคอบวม ในโค กระบือ

ภาพ/ข่าว:สวาท เกตุงาม

        ปศุสัตว์สระแก้ว รณรงค์ฉีดวัคซีน ป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคคอตีบคอบวม ในโค กระบือ

          เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 ที่ สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด ต.วังใหม่ อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว นาย วรพันธุ์ สุวัณณุสส์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานในพิธีรณรงค์ ฉีดวัคซีน ป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย โรคคอบวม หรือโรคเฮโมรายิคเซปติกซีเมีย การทำลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยง ของโค กระบือ โดยมีนายวิทยา มากปาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว นายชัยยุทธ เหลือบุษราคัม ปศุสัตว์จังหวัดสระแก้ว นายอำนวย ทองก๊ก ที่ปรึกษาสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด นาย สุรชาติ คหินทพงษ์ ประธานสหกรณ์โคนทวังน้ำเย็นจำกัดและปศุสัตว์อำเภอ เข้าร่วมโครงการ ด้วย

         ในงาน มีพิธีมอบวัคซีน และปล่อยขบวนรณรงค์ป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย โรค เฮโมรายิคเซปติกซีเมีย จากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว และผู้เข้าร่วมงาน ได้เดินทางเข้าชม โรงงานผลิตนมกล่อง จากนมผง ของสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด เป็นโรงงานที่ มีมาตรฐานระดับสากล
          ด้าน นาย ชัยยุทธ เหลืองบุษราคัม เผยว่า โรคปากเท้าเปื่อย และโรคคอบวม หรือโรคเฮโมรายิคเซปติกซีเมีย เป็นโรคที่สำคัญในโคและกระบือ สำหรับโรค เฮโมรายิคเซปติกซีเมีย ทำให้กระบือมีอัตราการตายสูง ส่วนโรคปากและเท้าเปื่อย จะทำให้สุขภาพโคกระบือทรุดโทรม โดยเฉพาะโคนม ทำให้ผลผลิตลดลง เกษตรกรจะรีดนมไม่ได้ จนกว่าจะรักษาโคนมให้หายขาด ส่งผลให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ และยังทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในลูกสัตว์ ทำให้ลูกสัตว์ตาย สำหรับสถานการณ์เกิดโรค จังหวัดสระแก้วยังไม่พบ แต่พบในจังหวัดอื่น ทางภาคใต้ อีสานและภาคภาคกลาง อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด กรมปศุสัตว์ จึงมีมาตรการเข้มงวด โดยชะลอการเคลื่อนย้ายโคกระบือแพะแกะ เข้าออกในพื้นที่จังหวัดที่มีการประกาศเขตโรคระบาด และทำการฉีดวัคซีน ในโคนม ปีละ 3 รอบ ส่วนโคเนื้อ แพะ แกะ ปีละ 2 รอบ เพื่อให้สัตว์มีระดับภูมิคุ้มกัน ที่ป้องกันโรคได้
            ส่วนนายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เผยว่า จังหวัดสระแก้ว มรเกษตรกรเลี้ยงโคนมจำนวนมาก หากเกิดโรคระบาด ของโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคเฮโมรายิคเซปติกซีเมีย จะมีผลกระทบต่อเกษตรกรอย่างมาก เนื่องจากปริมาณน้ำนมดิบลดลง และไม่สามารถส่งน้ำนมดิบขายได้ ดังนั้น สำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดสระแก้ว มีภารกิจดูแลเรื่องสุขภาพของสัตว์ และผลผลิตด้านปศุสัตว์ จึงต้องมีมาตรการ ป้องกันการแพร่ระบาด ป้องการความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนม โดยการรณรงค์ฉีดวัคซีน ป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย โรคเฮโมรายิคเซปติกซีเมีย และการทำลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงรอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2563 เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับโคนม มีระดับภูมมิคุ้มกัน สามารถป้องกันการเกิดโรคได้

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!