สระแก้ว-เกษตรกรสระแก้วได้เฮ กระทรวงเกษตรใจป้ำ ให้เงินลงทุนทำการเกษตรช่วงแล้ง

สระแก้ว-เกษตรกรสระแก้วได้เฮ กระทรวงเกษตรใจป้ำ ให้เงินลงทุนทำการเกษตรช่วงแล้ง

ภาพ/ข่าว:สวาท เกตุงาม

            เกษตรกรได้เฮ กระทรวงเกษตรใจป้ำ ให้เงินลงทุนทำการเกษตรช่วงแล้ง คนละ 1 ล้าน แต่ต้องมีตลาดรองรับ

              เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.62 นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขต 10 นายสุวศักดิ์ ชิงนวรรณ์ ส.ส.สระแก้ว เขต 3 และคณะ จะเดินทางเข้าพื้นที่ ทำการสหกรณ์ปศุสัตว์โคบาลบูรพาวัฒนานคร จำกัด ตำบลหนองน้ำใส อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว พบปะกับสมาชิกสหกรณ์ปศุสัตว์ โคบาลบูรพา วัฒนานคร จำกัด กว่า 500 คน จากนั้นได้มอบถังสนามเก็บน้ำเชื้อแก่อาสาผสมเทียม มอบลูกโคเพศเมียโคบาลบูรพา ขยายผลโครงการ มอบหญ้าแห้งเพื่อเพื่อจัดตั้งคลังเสบียงอาหารสัตว์ ให้กับสหกรณ์โคบาลบูรพา อำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ และอำเภอโคกสูง จากนั้น ได้ดูการชั่งน้ำหนักโค ที่สมาชิกนำมาขายให้กับ บริษัท สุระสิงห์ฟาร์ม จังหวัดระยอง พร้อมมอบเงินจาการขายโคให้กับสมาชิกสหกรณ์ ด้วย

             นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้ติดตาม โครงการโคบาลบูรพา ผลที่เขาปฏิบัติมา 3 ปี ถือว่าประสบความสำเร็จ โดยท่านประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการให้เรา นำสินเชื่อมาให้เกษตรกร กู้ในช่วงฤดูแล้งนี้ ดอกเบี้ย ล้าน ละ 100 บาท เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงวัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เกี่ยวกับด้านเกษตรกรรมทุกอย่าง ไม่ว่าจะปลูกเมลอน ปลูกพืชผักทั้งหมด ทั้งนี้ทุกย่างต้องมีตลาดรองรับ ทุกโครงการต้องมีตลาดมารองรับ และยืนยันในเรื่องราคาโดย พ่อค้าจะต้องนำเงินมาฝากไว้ที่ธนาคาร ธกส. ว่าเป็นการซื้อจริง ในโครงการแต่ละอัน เกษตรกร จะต้องรวมกลุ่ม ทำโครงการ กลุ่มละ 10 คน แต่ละคนสามารถกู้เงินนำมาลงทุน คนละไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยเสียดอกเบี้ยเพียง 100 บาทเท่านั้นทั้งนี้ขอให้เกษตรกร ได้มีความตั้งใจจริง สิ่งสำคัญควบคู่กับการเกษตร คือ เราจะเจาะน้ำบาลให้ กับพี่น้องเกษตรกร ที่ทำโครงการ ร่วมกับภาครัฐ อย่างไรก็ดี ปัญหาที่ห่วงมากที่สุดคือ การทำจริง ทุกคนต้องจริงใจและช่วยกันของเกษตรกร

             ในด้านการผลิตโคเนื้อ ประเทศไทยผลิตเพื่อการบริโภค ได้ปีบละ 1 ล้านตัว มีความต้องการบริโภค ปีละ 1.2 ล้านตัว แสดงให้เห็นว่า ปริมาณโคเนื้อผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภค ภายในประเทศ จึงเป็นโอกาสที่ดี ที่เกษตรกรจะหันมาประกอบอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อ ซึ่งจะจำหน่ายได้ราคาดี ขณะเดียวกันตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน มีความต้องการโคเนื้อ มีชีวิตจำนวนมาก หากไทยสามารถพัฒนาระดับศักยภาพการเลี้ยงโคนม ได้สำเร็จ เป็นการยกระดับเกษตรกรให้เป็น สมาร์ทฟาร์ม ส่งเสริมการสร้างเครือข่าย เชื่อมโยงให้ครบวงจร ทำให้เกษตรกรพ้นจากความยากจนและมีอาชีพมั่นคง ความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!