สุพรรณบุรี-รมว.ทส.ลงสำรวจพื้นที่เตรียมรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง

สุพรรณบุรี-รมว.ทส.ลงสำรวจพื้นที่เตรียมรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง

ภาพ/ข่าว:มงคล สว่างศรี/ภัทรพล พรมพัก/ธนกฤต แตงโสภา/นภดล แก้วเรือง/โสภณ สว่างศรี/ไพรัช ภมรพล/ธีรพร ชูก้าน/นิกร สิงห์พิมาตร์/ดนัยภพ สังข์สุวรรณ

 รมว.ทส.ลงสำรวจพื้นที่เตรียมรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง

          ที่ จ.สุพรรณบุรี นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จงจิตร์ นีรนาทเมธีกุล อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล คณะลงพื้นที่ ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง ที่บ้านห้วยม้าลอย ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมแสดงความห่วงใยประชาชนหลายจังหวัดที่กำลังประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง ทำให้ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร โดยโดยเน้นย้ำ ทส. พร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง และเร่งให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาปัญหาให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
        สืบเนื่องจากการที่นายกรัฐมนตรีได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งอย่างใกล้ชิด เนื่องจากบางพื้นที่ เริ่มมีฝนทิ้งช่วง โดยเฉพาะจังหวัดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประชาชนและเกษตรกรขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร จึงได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทำงานและเร่งบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและให้ความช่วยเหลือเป็นรายพื้นที่ โดยในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ซึ่งมีกรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำผิวดินและน้ำบาดาลในพื้นที่นอกเขตชลประทาน 119 ล้านไร่ จึงได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 2558-2561 มีผลการดำเนินการด้านน้ำบาดาลรวม 15,914 แห่งการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภค จำนวน 8,189 แห่ง ประชาชนได้รับประโยชน์ 1,452,643 ครัวเรือน สามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน 290 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร จำนวน 7,725 แห่ง ประชาชนได้รับประโยชน์ 50,028 ครัวเรือน พื้นที่ได้รับประโยชน์ 678,690 ไร่ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน 292 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
           นายวราวุธ กล่าวว่าสำหรับพื้นที่บ้านห้วยม้าลอย หมู่ที่ 4 เป็นพื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทาน ที่ผ่านมาเกษตรกรประสบปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอยู่เป็นประจำ แต่ละปีสามารถเพาะปลูกพืชได้เพียงรอบเดียวเท่านั้น เช่น อ้อย มันสำปะหลัง และกล้วย เนื่องจากต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ รายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ทำให้เกิดปัญหาหนี้สิน และการละทิ้งถิ่นฐานเพื่อหารายได้ทางอื่นมาใช้จ่ายภายในครอบครัว ต่อมาในปี 2560-2561 รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณ โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร ในพื้นที่ประสบภัยแล้ง โดยเจาะบ่อน้ำบาดาล ติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ก่อสร้างหอถังเก็บน้ำขนาด 20 ลูกบาศก์เมตร พร้อมท่อกระจายน้ำระยะทาง 2,000 เมตร ครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 130-242 ไร่ ปัจจุบันเกษตรกรบ้านห้วยม้าลอยสามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี และมีน้ำบาดาลใช้เพื่อการเลี้ยงสัตว์ ส่วนพืชที่ปลูก ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง กล้วย หญ้าเนเปียร์ มะนาว และพืชสมุนไพร เช่น ขมิ้นชัน ไพล โดยชมรมผู้สูงอายุในชุมชน จึงเป็นการส่งเสริมการทำกิจกรรมยามว่างของผู้สูงอายุอีกด้วย
             ส่วนการที่จะใช้น้ำบาดาลไปช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งนั้นขอเรียนให้ทราบว่าชื่อว่าน้ำบาดาลจะไปแก้ภัยแล้งหรือว่าจะไปช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งให้กับพี่น้องเกษตรกรทางภาคอีสานและภาคเหนือได้ต้องดูแต่ละพื้นที่ว่าบริเวณเหล่านั้นมีน้ำบาดาลเพียงพอและมีคุณภาพดีไม่ดีมากน้อยแค่ไหนแม้แต่ใน จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เรายืนอยู่นี้ขุดลงไปแค่ 100 กว่าเมตรก็จะได้น้ำที่มีคุณภาพดีแต่บางจุดห่างไปไม่ไกลต้องขุดลึกลงไปถึง 200 กว่าเมตรกว่าจะได้น้ำบางที่ในจังหวัดสุสุพรรณบุรี ถึงแม้จะขุดลึกลงไปถึง 2-300 เมตรแต่ยังได้น้ำมีสนิมเหล็ก ทั้งตะกรันอยู่ ดังนั้นแต่ละพื้นที่ทั้งภาคอีสาน และภาคเหนือหรือบางจังหวัดในภาคตะวันออก เช่นจังหวัดชลบุรี คงจะต้องให้ทางกรมทรัพยากรน้ำ สำรวจให้ดีเสียก่อนว่าคุณภาพน้ำที่จะขุดขึ้นมานั้นสามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้มากน้อยเพียงใดและมีปริมาณน้ำเท่าใดเพียงพอที่จะรองรับความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรหรือไม่ แต่ว่าทั้งทั้งนั้นขอเรียนว่าบทบาทและหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ว่าจะเป็นกรมทรัพยากรน้ำบาดาล หรือกรมทรัพยากรน้ำนั้น สำหรับภัยแล้งที่กำลังประสบอยู่ในปัจจุบันพวกเราทุกคนจะทำงานกันอย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นปลัดกระทรวง อธิบดีทั้งสองกรมและข้าราชการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกคนเราจะใช้เวลาทุกนาทีที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรในทุกๆภาค
                นายวราวุธ กล่าวอีกว่าจากการลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี จากนี้ไปจะให้ทางกรมคิดวางแผนว่าเราจะไปดูกันที่ภาคอีสาน และภาคเหนือได้อย่างไร เพื่อที่จะไปแก้ปัญหา จะไปสำรวจจำไปเจาะกันให้เห็นเลยว่ามีปริมาณน้ำเพียงพอมีคุณภาพเพียงเท่าใด

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!