สุพรรณบุรี-โครงการคัดกรองประชนชนกลุ่มเสี่ยงเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุก

สุพรรณบุรี-โครงการคัดกรองประชนชนกลุ่มเสี่ยงเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุก

ภาพ/ข่าว:มงคล สว่างศรี-ภัทรพล พรมพัก-ธนกฤต แตงโสภา-นภดล แก้วเรือง-นิกร สิงห์พิมาตร์

 เปิดโครงการคัดกรองประชนชนกลุ่มเสี่ยงเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุก

         นายสมภพ สายแก้ว ปลัดอบต.เนินพระปรางค์ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เป็นประธานเปิดโครงการคัดกรองประชนชนกลุ่มเสี่ยงเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุก พร้อมให้คำปรึกษาด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในตำบลเนินพระปรางค์ และอำเภอใกล้เคียง ภายใต้โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งการป้องกันควบคุมวัณโรค โดยมีนายพิษณุ ศรีธนานันท์ กำนันตำบลเนินพระปรางค์ นายสัมฤทธิ์ ตันติเกษตรกิจ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ร่วมเปิดโครงการด้วยแบบคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ พร้อมให้บริการคัดกรองด้วยรถเอ็กซเรย์เคลื่อนที่ตรวจสุขภาพปอดและค้นหาผู้ป่วยวัณโรคแบบครบวงจร รวมถึงการจัดบูทนิทรรศการให้ความรู้ในเรื่องวัณโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคจากการประกอบอาชีพ และโรคเรื้อน(ผิวหนัง) เพื่อพัฒนายกระดับสุขภาพให้กับชาวบ้านในตำบล สู่การบริการที่ปลอดภัย

           นายสมภพ สายแก้ว ปลัด อบต.เนินพระปรางค์ กล่าวว่า อบต.เนินพระปรางค์ ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาผู้ป่วยวัณโรค เนื่องจากเป็นโรคที่สำคัญและยังคงเป็นปัญหาที่พบกับชาวบ้าน สาเหตุปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีประชาชนรวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก โดยกิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้มีอาการสงสัยวัณโรคในกลุ่มคนงาน โดยจะทำให้สามารถค้นหาผู้ป่วยและนำเข้าสู่ระบบการรักษาโดยรวดเร็ว ช่วยลดแหล่งแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น และผู้ป่วยได้รับการรักษาให้หายขาด อันจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้าๆในอดีตแต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา แต่อัตราผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อยังอยู่ และประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ทำให้ปัญหาวัณโรคทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในแต่ละปีมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ขึ้นทะเบียนรายใหม่ ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีแนวโน้มของการดื้อต่อยารักษาวัณโรคเพิ่มสูงขึ้น อบต.เนินพระปรางค์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาโรควัณโรคในชุมชน ทั้งนี้มีประชาชนให้ความสำคัญจำนวน 513ราย โดยดำเนินการพัฒนาศักยภาพแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้องรวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่ชุมชน และดำเนินการเร่งรัดการค้นหาผู้ที่มีอาการเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรครายใหม่ อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ที่อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค และแรงงานที่ไปทำงานต่างพื้นที่ กลับมาหาครอบครัวเพื่อที่จะได้มีการดำเนินการส่งต่อเพื่อเข้ารับรักษาต่อไป

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!