ชลบุรี-กองทัพเรือ ตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน

ชลบุรี-กองทัพเรือ ตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน

ภาพ/ข่าว:นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี

          วันที่ 5 กันยายน 2566 พลเรือเอก ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ พร้อมด้วย พลเรือโท พิชัย ล้อชูสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ภาค 1 นายนริศ นิรามัยวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า และนายณัฐพล มีฤทธิ์ ผู้แทนบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกันแถลงข่าว กรณีน้ำมันที่รั่วไหลลงสู่ทะเลในพื้นที่อำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี จากเหตุน้ำมันดิบจากเรือบรรทุกน้ำมัน รั่วไหลขณะขนถ่ายน้ำมันดิบบริเวณทุ่นผูกเรือกลางทะเล หมายเลข 2 (SBM-2) ของโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ โดยเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2566 เวลา 21.00 น. โดยภายหลังเกิดเหตุ ทางบริษัทฯ ได้เข้าควบคุมสถานการณ์โดยได้ทำการปิดวาล์วท่อน้ำมันที่เกิดปัญหาและวางทุ่นล้อมคราบน้ำมันเพิ่มเติม เพื่อป้องกันและจำกัดการแพร่กระจายตามขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานสากล ทำให้ขณะนี้ไม่มีน้ำมันรั่วไหลเพิ่มเติมแล้ว และไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามได้มีน้ำมันที่รั่วไหลลงสู่ทะเล จำนวนหนึ่งซึ่งอาจก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน อันส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติใต้ท้องทะเล
          ในการนี้ กรมเจ้าท่า ได้ประสานมายังกองทัพเรือ ดำเนินการจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน กองทัพเรือ ” หรือเรียกโดยย่อว่า ศอปน.ทร. โดย พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้สั่งการให้ ทัพเรือภาคที่ 1 จัดตั้งศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการในการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน ทัพเรือภาคที่ 1 (ศคปน.ทรภ.1) ประกอบด้วย ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 1 กรมเจ้าท่า ตำรวจน้ำ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมควบคุมมลพิษกรม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับจังหวัดชลบุรี และ บริษัทไทยออยล์ จำกัด มหาชน จัดกำลังพลพร้อมยุทโธปกรณ์ เร่งขจัดคราบน้ำมันที่รั่วไหลลงสู่ทะเลในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จากเหตุน้ำมันดิบจากเรือบรรทุกน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลในพื้นที่อำเภอศรีราชา ขณะขนถ่ายน้ำมันดิบบริเวณทุ่นผูกเรือกลางทะเลหมายเลข 2 (SBM-2) ของโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2566 เวลา 21.00 น. โดยภายหลังเกิดเหตุ ทางบริษัทฯ ได้เข้าควบคุมสถานการณ์โดยได้ทำการปิดวาล์วท่อน้ำมันที่เกิดปัญหาและวางทุ่นล้อมคราบน้ำมันเพิ่มเติม เพื่อป้องกันและจำกัดการแพร่กระจายตามขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานสากล ทำให้ขณะนี้ไม่มีน้ำมันรั่วไหลเพิ่มเติมแล้ว และไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว

          ในการนี้ กองทัพเรือ โดย ทัพเรือภาคที่ 1 และ ศรชล.ภาค 1 ได้ส่งอากาศยานขึ้นบินสำรวจและถ่ายภาพคราบมันน้ำ เพื่อนำมาวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของน้ำมันบางส่วน และคาดการณ์ว่าคราบน้ำมันจะมีการเคลื่อนตัวจากทางทิศใต้ของเกาะท้ายค้างคาว จ.ชลบุรี และมีแนวทางการเคลื่อนตัวขึ้นลงตามกระแสน้ำไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเริ่มมีคราบน้ำมันเข้าสู่ทางตอนใต้ของเกาะท้ายค้างคาว จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 4 กันยายน 2566 เวลา 23.00 น. /ส่วนในค่ำวันนี้ คาดว่าอาจจะมีคราบน้ำมันบางส่วน เคลื่อนที่ผ่านเกาะค้างคาวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และจะมีคราบน้ำมันบางส่วน ถูกพัดเข้าสู่ขายฝั่งของเกาะค้างคาว ซึ่งทัพเรือภาคที่ 1 และ ศรชล.ภาค 1 ได้จัดส่งกำลังพลจาก หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ไปประจำที่เกาะท้ายค้างคาวแล้ว เพื่อเตรียมการจัดเก็บคราบน้ำมันหากมีการขึ้นฝั่ง โดยจะดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการเดียวกับกรณีที่มีน้ำมันรั่วใน จ.ระยอง

          สำหรับการปฏิบัติที่สำคัญ ในห้วงที่ผ่านมา วานนี้ (4 กันยายน 2566) เวลา 15.00 น. เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ (ฮ.ปด.1) พร้อม Helibucket บรรจุน้ำยาขจัดคราบน้ำมัน 900 ลิตร ได้ยกตัวในเที่ยวแรก จากฝูงบินทัพเรือภาคที่ 1 อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อนำไปโปรยจุดที่พบคราบน้ำมันรั่วไหลในทะเล จ.ชลบุรี พร้อมกันนี้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฯ ได้มีการยกระดับเหตุที่เกิดขึ้นเป็น Tier 2 แล้ว ซึ่งกองทัพเรือ โดยทัพเรือภาค ที่ 1 ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว จัดตั้งศูนย์ประสานงานป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและศูนย์ควบคุมการปฏิบัติ การขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน เพื่อทำหน้าที่ในการอำนวยการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขจัดคราบน้ำมัน ควบคู่ในการทำงานร่วมกับเอกชน ซึ่งกองทัพเรือ จะส่งเรือหลวงตาชัย และเรือหลวงแสมสาร ไปช่วยขจัดคราบน้ำมัน นอกจากนั้นจะส่งเรือ ต.235 เพื่อตรวจการณ์ ร่วมกับเรือของกรมเจ้าท่า / กรมประมง / กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง / ตำรวจน้ำ / รวมถึงอากาศยาน ของกองทัพเรือ และกำลังพล จากหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง อีกจำนวน 100 นาย เพื่อร่วมกัน ขจัดคราบน้ำมัน
          โดยล่าสุด เมื่อช่วงเช้าวันนี้ จากการเดินเท้าสำรวจตามแนวชายฝั่ง บริเวณเกาะสีชังและพื้นที่ใกล้เคียง ของกำลังพล สอ.รฝ. ยังไม่พบคราบน้ำมัน โดยจะมีการนำข้อมูลไปประเมินสถานการณ์ในการปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ คาดว่า สถานการณ์ต่างๆ จะคลี่คลายในอีก 2-3 วัน

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!