นครสวรรค์-นายก อบจ. มอบประกาศนียบัตร หลักสูตรห้องเรียนวัยรุ่น CPS ศูนย์สุขภาพจิตที่ 3
ภาพ/ข่าว:ชาติชาย เกียรติพิริยะ
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 8 สิงหาคม 2566 พล.ต.อ.สมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธาน พิธีมอบประกาศนียบัตร หลักสูตรห้องเรียนวัยรุ่น CPS ณ ห้องประชุม 72 พรรษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ โดยมี ดร.อร่าม วัฒนะ ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รักษาการในตำแหน่ง ผอ.สถานศึกษาโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ นายพงษ์ศักดิ์ เงินสันเทียะ รอง.ผอ.สถานศึกษา คณะครู และนักเรียน ให้การต้อนรับ โดยนางเดือนเพ็ญ ชาญณรงค์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 3 เข้าร่วม พร้อมชี้แจงการดำเนินงานหลักสูตรห้องเรียนวัยรุ่น CPS (e- Learning) เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรห้องเรียนวัยรุ่น ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยส่งเสริมและป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในนักเรียน และดำเนินการเก็บข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพจิต
สำหรับหลักสูตรห้องเรียนวัยรุ่น CPS คือการดำเนินงานภายใต้โครงการการพัฒนาการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในรูปแบบดิจิดัลสำหรับเยาวชน เพื่อส่งเสริมและป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายและเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตของวัยรุ่นอายุระหว่าง 13-18 ปี ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยดำเนินการในกลุ่มนักเรียนทั่วไปหรือกลุ่มเสี่ยงมีปัญหาสุขภาพจิต ผ่านการเรียนบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้กลุ่มเป้าหมายเข้าศึกษาทั้งหมด 4 บทเรียน และสามารถเข้าเรียนได้สัปดาห์ละ 1 บท เรียน รวม 6 สัปดาห์ โดยในจะมีเนื้อหาและแบบประเมินที่สำคัญ เช่น 1. แบบประเมิน RQ 2. แบบประเมิน PHQ-A 3. แบบทดสอบในเรื่อง/ประเด็นต่างๆ ทั้งก่อนและหลังเรียน
การศึกษาหลักสูตรห้องเรียนวัยรุ่น CPS จะทำให้ผู้เข้าร่วมได้ประเมินและทราบผลการประเมินของตนเอง ได้รับความรู้ในเรื่องของการคบเพื่อน ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการสื่อสาร การช่วยเหลือหรือการสนับสนุนทางสังคม รู้แหล่งช่วยเหลือ เป็นต้น เด็กนักเรียนจะเข้าศึกษาหลักสูตรห้องเรียนวัยรุ่น CPS สัปดาห์ละ 1 บทเรียน รวม 6 สัปดาห์ค่ะ จำนวนเด็กที่ได้รับใบประกาศจำนวน 82 คน จาก 135 คน
นายก อบจ.นครสวรรค์ ให้โอวาทและข้อคิดกับนักเรียนว่า อยากให้ทุกคนได้คิด และไปทดลองเขียนด้วยตนเอง ในเรื่องเหล่านี้ 1.ให้รู้จักความหมายชีวิตคืออะไร 2.อะไรสำคัญที่สุดในโลก 3.ให้เขียนเรื่องราวชีวิตของเรา 4.ให้เรียนรู้ตามพื้นฐานความจริง ทำตามศักยภาพของเรา อย่าเขียนเรื่องราวชีวิตที่เป็นไปไม่ได้ เรียบเรียงชีวิตของเราที่เป็นไปได้ ไม่ฝันเฟื่อง ถ้าไม่สมหวัง ให้กลับมาทบทวนใหม่ ความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ ความล้มเหลวที่แย่ที่สุดคือล้มแล้วไม่ลุก แต่ความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ คือล้มแล้วต้องลุก”