อุบลราชธานี-น้ำท่วม 13 อำเภอ พื้นที่การเกษตรเสียหาย กว่า 92,804 ไร่
ภาพ/ข่าว:ศูนย์ข่าวเฉพาะกิจจังหวัดอุบลราชธานี
วันนี้ ( 15 ต.ค. 66 ) จังหวัดอุบลราชธานี ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยจังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้ พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ ระดับน้ำมูลที่สถานีวัดน้ำ M7 ระดับน้ำ 112.91 ม.รทก ลดลงจากวานนี้ 6 ซม. สูงกว่าตลิ่งฝั่งอำเภอวารินชำราบ 0.91 เมตร ระดับน้ำที่แก่งสะพือ 109.97 ม.รทก. ต่ำกว่าระดับน้ำ M.7 : 2.94 เมตร ระดับน้ำตอนท้ายเขื่อนปากมูล 100.40 ม.รทก. ต่ำกว่าระดับน้ำแก่งสะพือ 9.57 เมตร และระดับน้ำแม่น้ำโขง 98.03 ม.รทก ลดลง 27 ซม. ต่ำกว่าตลิ่ง 5.50 เมตร และต่ำกว่าระดับน้ำเขื่อนปากมูล 2.37 เมตร
ทั้งนี้ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม 13 อำเภอได้แก่ อำเภอเมือง วารินชำราบ ม่วงสามสิบ ตระการพืชผล เหล่าเสือโก้ ดอนมดแดง เขื่องใน ตาลสุม เดชอุดม อำเภอสว่างวีระวงศ์ ทุ่งศรีอุดม พิบูลมังสาหาร และเขมราฐ จำนวน 76 ตำบล 486หมู่บ้าน 15,322 ครัวเรือน ตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 25 จุด แยกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านการดำรงชีพ 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง วารินชำราบ และสว่างวีระวงศ์ 10 ตำบล 49 ชุมชน 2,069 ครัวเรือนราษฎรอพยพ 7 ตำบล 29 ชุมชน 545 ครัวเรือน แยกเป็นศูนย์พักพิงชั่วคราว 25 จุด 476 ครัวเรือน 1,653 คน และพักบ้านญาติ 69 ครัวเรือน 167 คน , ด้านการเกษตร ด้านพืชได้รับผลกระทบ 13 อำเภอได้แก่ อำเภอม่วงสามสิบ วารินชำราบเมือง ตระการพืชผล เหล่าเสือโก้ก ดอนมดแดง เขื่องใน ตาลสุม เดชอุดม สว่างวีระวงศ์ ทุ่งศรีอุดม พิบูลมังสาหาร และเขมราฐ พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 92,804.75 ไร่ , ด้านประมง 3 อำเภอได้แก่อำเภอดอนมดแดง เขื่องใน และม่วงสามสิบ พื้นที่อาจจะเสียหาย 48.70 ไร่ , ด้านปศุสัตว์ 4 อำเภอได้แก่ อำเภอเมือง วารินชำราบ ตระการพืชผล และม่วงสามสิบ สัตว์ที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย 12,049 ตัว อพยพสัตว์ 7,058 ตัว แปลงหญ้าเสียหาย 79 ไร่
จังหวัดอุบลราชธานี ได้ระดมความช่วยเหลือจากส่วนราชการ ทหาร ตำรวจพลเรือน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคเอกชนมูลนิธิการกุศล พร้อมด้วยจิตอาสา ออกให้การช่วยเหลือประชาชน นำกำลังพลอพยพเคลื่อนย้าย จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 25 จุด ตั้งเต็นท์มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ 35 หลัง เต็นท์ 280 หลัง ถังน้ำ 85 ถังตู้ สุขา 70 ตู้ รถเคลื่อนย้าย เครื่องสูบน้ำ 23 เครื่องพร้อมมอบสิ่งของ จัดตั้งโรงครัวกลางอาสาของเครือข่ายอาสาชุมชนป้องกันภัยพิบัติอุบลราชธานี ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำท่วมขังในพื้นที่ชุมชนลุ่มต่ำและเพิ่มการระบายน้ำแม่น้ำมูลจากพื้นที่จำนวน 4 จุด 17 เครื่อง นอกจากนี้ กองบิน 21 จัดหาอากาศยานแบบปีกหมุน สนับสนุน ชป.7 ทำการบินสำรวจลำน้ำสายต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อลำน้ำมูลในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร และจังหวัดร้อยเอ็ด ด้วย