สุพรรณบุรี-หนุ่มสู้ชีวิตทำสวนไม้ประดับไม้ใบขายสร้างรายได้วันร่วมหมื่น

สุพรรณบุรี-หนุ่มสู้ชีวิตทำสวนไม้ประดับไม้ใบขายสร้างรายได้วันร่วมหมื่น

ภาพ/ข่าว:มงคล สว่างศรี / ภัทรพล พรมพัก

          ที่จังหวัดสุพรรณบุรี นายวันชัย นิลวงศ์ เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี นำทีมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า ลงพื้นที่สวนไม้ประดับและไม้ตัดใบ ของนายอำนาจ ดอกอุบล อายุ 44 ปีและ นางสาวขวัญตา เนตรจารุ อายุ 39 ปีสองสามีภรรยาอยู่บ้านเลขที่ 15 หมู่ 7 ตำบลไผ่กองดิน อำเภอบางปลาม้า ซึ่งได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นสาขาพืชสวนระดับเขต ปี 2565 และเป็นประธานวิสาหกิจชุมชนไม้ประดับและไม้ตัดใบบ้านโพธิ์หลวง ตำบลไผ่กองดินอำเภอบางปลาม้า เพื่อเยี่ยมเยือนให้กำลังใจสอบถามปัญหาเกี่ยวกับศัตรูพืชและปัญหาเพื่อจะได้ให้การช่วยเหลือ
          สอบถามนายอำนาจ อายุ 44 ปีเจ้าของสวน เล่าว่าตนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิวิทยาเขตพระนครศรีอยุธยาหันตรา สาขาเกษตรพืชศาสตร์พืชสวน ปัจจุบันทำสวนไม้ประดับไม้ตัดใบชื่อสวนอำนาจไม้ใบ ร่วมกับนางสาวขวัญตา อายุ 39 ปีภรรยา อดีตพยาบาลวิชาชีพ จากจุดเริ่มต้นที่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อก่อนครอบครัวพ่อแม่ มีอาชีพเกษตรกรรมทำนาบางปีก็ได้ผลผลิตบางปีก็ไม่ได้ผลผลิตตนคิดว่า เหมือนกับทำไปแล้วไม่มีความหวังเป็นแบบนี้อยู่หลายปีตนจึงมีความคิดอยากเปลี่ยนแปลงแต่ตอนนั้นเรายังเด็กก็ไม่สามารถที่จะทำตรงนี้ได้ ได้แต่พูดกับพ่อแม่ แต่พ่อกับแม่ก็บอกอย่าเพิ่ง ให้ทำนาไปก่อนตนก็ไม่ล้มเลิกความตั้งใจ พอเรียนระดับปริญญาตรีก็ได้ไปฝึกงานอยู่ 2 ที่แรกคือ เป็นไม้ดอกไม้ประดับ ครั้งที่สองเป็นสวนไม้ประดับให้เราได้แนวคิดและแนวทางก็เลยอยากลองทำเราสามารถทำได้ มีที่อยู่หนึ่งแปลงแต่ที่ตรงนั้นเป็นสวนไม้ผลที่ปลูกแบบรวม มีทั้งกระท้อน กล้วย มะม่วง ฝรั่ง และเราก็เจอปัญหา คือผลผลิตเราได้ดีมากในพื้นที่ 3 ไร่ แต่พอถึงเวลาเก็บเกี่ยวมันไม่เหลือผลผลิตให้เราเก็บเกี่ยวเราเจอปัญหาเพลี้ยกระสอบ คือหัวขโมยมาพร้อมกระสอบเอากระสอบมาใส่เป็นแบบนี้เกือบ 10ปีเราคิดว่าของของเราแท้ๆเรายังไม่สามารถทำรายได้ได้เลย มะม่วงรวมกับไม้ผลอื่นในเนื้อที่ประมาณ 200 ต้นได้ผลผลิตประมาณ 1,000 บาทเป็นแบบนี้ตลอด ก็เลยคิดว่าถ้าเป็นแบบนี้เราคงไม่มีรายมาใช้จ่ายในครอบครัวได้แน่ ก็เลยตัดสินใจคุยกับพ่อแม่ แต่คำตอบที่ได้คืออย่าทำเลยลูก เพราะเขาไม่รู้ว่าสิ่งเราต้องการทำคืออะไรก็เลยพูดแบบนี้อยู่เรื่อย เราไม่เปลี่ยนแปลงเขาไม่ได้ กระทั่งอยู่มาวันหนึ่งตนขับรถไถมากับพ่อแม่เห็นมะม่วงอยู่ 2 ลูกทีแรกกะจะเด็ดไปเลยแต่ก็กลัวว่าจะเปื้อนสารเคมีที่เราไปฉีดก็เลยคิดว่าเดี๋ยวกลับมาค่อยเด็ดเพื่อเอาไปทานแต่พอฉีดยาในนาเสร็จกลับมาดูพบว่ามะม่วง 2 ลูกหายไปแล้วที่สำคัญและน่าเจ็บใจคือยางมะม่วงยังหยดอยู่เลยทำให้เรารู้สึกแย่ขึ้นไปอีกจะได้กินอยู่แล้วแต่ไม่ได้ ก็เลยไปพูดกับพ่อแม่ ว่าขอทำนะมันไม่ไหวแล้ว พ่อและแม่ก็ไม่มั่นใจ เพราะเขาไม่รู้ว่าสิ่งที่เราจะทำมันคืออะไร ต้องทำยังไง และได้ผลิตอะไรก็เลยแค่นพ่อแม่ขอทำครึ่งหนึ่งในพื้นที่ 3 ไร่ เริ่มต้นที่ไม้ตัดใบก่อนเพราะเราได้ความรู้จากการฝึกงานเรารู้ว่าน่าจะทำได้เพราะตลาดที่เรามองดู ก็จะเป็นตลาดไท และร้านจัดดอกไม้ทั่วไปบ้านเราอยู่ไม่ไกลจากตลาดไท จึงขอแบ่งพื้นที่ 1.5 ไร่เริ่มปลูกหมากเหลืองก่อนด้วยการซื้อพันธุ์มาขยายเองเพื่อลดต้นทุน ใช้เวลาประมาณ 1 ปีก็มีรายได้เข้ามาให้พ่อแม่ บางส่วน ระหว่างที่ทำ พื้นที่ 3 ไร่ตนรื้อต้นมะม่วงออก ก็มีชาวบ้านถามว่าจะทำอะไร ตนบอกว่าจะปลูกไม้ประดับไม้ตัดใบ มีบางคนบอกว่า (ไม้แดกไม่ปลูก ดันปลูกไม้ประดับ คำพูดชาวบ้าน) ไม้กินได้ไม่ปลูก ปลูกไม้ประดับไม้ตัดใบเดี๋ยวก็เจ๊ง ไปไม่รอดทำให้ตนเกิดความท้อแท้ขึ้นมาอีก แต่ตนไม่ยอมแพ้เพราะตั้งใจทำแล้ว ตนไม่สนใจเพราะตั้งใจทำแล้วลุยอย่างเดียว โดยการซื้อพันธุ์มาขยาย เริ่มจากฟิโร หมากเหลือง เตยด่าง และยางอินเดีย โดยเริ่มทำตั้งแต่ปี 2547 ปี 2548 ก็เริ่มขยายเต็มพื้นที่ 3 ไร่เพราะพ่อแม่เห็นดีด้วยแล้ว และปี2548 ตลาดมีความต้องการสูง ผลผลิตเราไม่เพียงพอ เราก็ขยายพื้นที่อีกคราวนี้พ่อแม่เห็นดีด้วย ก็ขยายพื้นที่เพิ่มอีก 17 ไร่และวันที่ 28 ตุลาคมปี2549 เกิดอุทกภัยน้ำท่วมหมดเลยเราไม่เคยเจอน้ำท่วมแบบนี้มาก่อน ก็เก็บรวบรวมต้นไม้พันธุ์ไม้มาไว้ในพื้นที่ 1 ไร่เพื่อเก็บพันธุ์ ไว้ตอนนั้นท้อแท้จึงปรึกษาพ่อแม่ครอบครัวว่าจะเอายังไงกันดีจะสู้ต่อหรือพอแค่นี้ ทุกคนในครอบครัวบอกว่าเราทำมาแล้วต้องสู้เมื่อครอบครัวสนับสนุน พอน้ำลดก็เริ่มปรับปรุงสภาพพื้นที่สวนใหม่ ด้วยการขุดคันให้ใหญ่และสูงขึ้น และปลูกต้นไม้ใหม่ในปี 2550 และปี 51-52 ก็เริ่มตัด ถึงปี 54 เกิดน้ำท่วมใหญ่ แต่เรามีประสบการณ์จากปี 49 แล้วเราก็สามารถป้องกันได้

          กระทั่งปัจจุบันตนทำทั้งหมด 30 ไร่แบ่งออกเป็นไม้ประดับ 3 ไร่ไม้ตัดใบในร่ม 10 ไร่ไม้ตัดใบกลางแจ้งอีก17 ไร่ที่เหลือทีแรกเราไม่รู้ว่าตลาดต้องการต้นไม้ใบไม้อะไรบ้าง สำหรับตลาดครั้งแรกตนเปิดตลาดกลุ่มคนจัดดอกไม้ก่อนช่วงนั้นไม่มีสื่อประชาสัมพันธ์ เราต้องใช้วิธีเอาของไปให้เขาดูแนะนำว่าเรามีเราทำตรงนี้บางร้านยังไม่รู้ว่าใบอะไรเราก็แนะนำ จากนั้นได้ขยายมาตลาดไท ปากคลองตลาด ตลาดสี่มุมเมือง สำหรับสุพรรณบุรี ที่สวนของตนเชื่อว่าเป็นรายใหญ่สุดของสุพรรณบุรี เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์รุ่นแรก ที่ผ่านมาช่วงโควิด เกษตรกรแถวบ้านและชาวบ้านทั่วไปไม่มีรายได้ แต่ต้นไม้ขายดีเราก็ให้เขาเอาต้นไม้เราไปขายออนไลน์ และก็ขายได้ทำให้มีรายได้มาเลี้ยงครอบครัว ที่ผ่านมาการทำเกษตรส่วนมากจะปลูกพืชเชิงเดี่ยวคือข้าวบางปีก็ได้บางปีก็ไม่ได้ ส่วนตนอยากให้ปลูกแบบผสมผสานเกษตรกรส่วนมากไม่ได้ศึกษาว่าจะผสมผสานยังไง ถ้าศึกษาอย่างแท้จริงจะรู้ว่าผลประโยชน์มากสามารถเลี้ยงครอบครัวได้อยากบอกว่าพื้นที่ที่ทุกคนมีแบ่งมาเพียงส่วนหนึ่งบางครั้งรายได้อาจจะมากกว่าการทำนาก็ได้ สำหรับคนที่สนใจซื้อพันธุ์ไม้ต่างๆสามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่หมายเลข 087-0822765 เกษตรกรที่สนใจดูงานศึกษาเรียนรู้ วิธีการทำสวนการทำปุ๋ยอินทรีย์ หรือติดต่อมาได้ฟรียินดีให้ความรู้ให้คำปรึกษาฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น คนที่สนใจต้องเริ่มจากใจรักแล้วเรียนรู้แล้วนำไปปฏิบัติแล้วจะเกิดผล แล้วจะมีรายได้ตามมามีรายได้แบบยั่งยืนเลี้ยงครอบครัวได้ อาจจะมีเงินก้อนเข้ามา และอยากฝากถึง เพลี้ยกระสอบ หรือโจรที่ขโมยผลผลิตของชาวบ้าน และของตนให้กลับใจเปลี่ยนแนวคิด แบบโจรเปลี่ยนมาเรียนรู้ จะได้เข้าใจว่ากว่าเขาจะได้ต้นไม้แต่ละต้นลำบากขนาดไหนคุณมาขโมยไปขายก็จะได้แค่ 500 แต่ถ้ามาเรียนรู้การทำต้นไม้ มาพัฒนาคุณอาจเป็นเศรษฐีก็ได้มีเงินล้านก็ได้ ส่วนรายได้จากการขายไม้ใบไม้ประดับ ไม้กระถาง รวมทั้งต้นพันธุ์ ที่นำไปจัดดอกไม้ จัดงานพิธีต่างๆ ที่สวนเรามีมากกว่า 40 ชนิดสามารถสร้างรายได้ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปีเฉลี่ยวันละ 5,000 -8,000 บาท

          นายวันชัย นิลวงศ์ เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรีกล่าวว่าที่สวนแห่งนี้เป็นสวนไม้ประดับไม้ตัดใบ ไม้กระถางซึ่งตัวตอยโจทย์เรื่องตลาดเรื่องความต้องการ เป็นสวนผสมผสาน ใช้หลักการตลาดนำการผลิตเจ้าของสวนก็เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ของกรมส่งเสริมการเกษตร เคยรับรางวัลเกษตรกรดีเด่น ปี 65 ด้วย ทำมาแล้วประมาณ 19 ปีเป็นคนสู้ชีวิต ไม้ตัดใบหรือไม้กระถาง ตอบโจทย์เรื่องเอลนีโญ น้ำจะน้อย ไม้ตัดใบไม้กระถางนั้นใช้น้ำซึ่งเป็นตัวอย่างให้พี่น้องเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เกษตรกรที่สนใจต้องมาศึกษาหาองค์ความรู้ก่อน

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!