บุรีรัมย์-มรภ. เดินหน้าโครงการวิจัย นวัตกรรมการยกระดับกลไกลความร่วมมือเพื่อขจัดความยากจน

บุรีรัมย์-มรภ. เดินหน้าโครงการวิจัย นวัตกรรมการยกระดับกลไกลความร่วมมือเพื่อขจัดความยากจน

ภาพ/ข่าว:คมกฤช พวงศรีเคน

          เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 1 ธันวาคม 2566 ดร.พิสมัย ประชานันท์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่น เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนโครงการวิจัยนวัตกรรมการยกระดับกลไกลความร่วมมือเพื่อขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วย นางชไมพร แหวนเพ็ชร รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดบุรีรัมย์และคณะทำงาน (Core Team) เข้าร่วมประชุม
          ทั้งนี้ โครงการวิจัยแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด (Provincial Poverty Alleviation Platform : PPAP) มีองค์ประกอบใน 5 ประเด็น/แนวคิดหลัก คือ การสร้างกลไกความร่วมมือ การพัฒนาระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนแบบชี้เป้า การพัฒนาระบบส่งต่อความช่วยเหลือ สร้างโมเดลแก้จนในมิติเรื่องคุณภาพชีวิต มิติอาชีพและเศรษฐกิจ มิติเศรษฐกิจชุมชน และการเชื่อมโยงงานวิจัยเข้าสู่แผนพัฒนาระดับจังหวัดและท้องถิ่น สำหรับจังหวัดบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้รับการพิจารณาอนุมัติทุนสนับสนุนงานวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ให้ดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง นวัตกรรมการยกระดับกลไกลร่วมมือเพื่อขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยในระยะที่ 3 จะต้องขยายพื้นที่เป้าหมายการดำเนินโครงการที่คลอบคลุมทั้ง 20 อำเภอ (ยกเว้นอำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอสตึก และอำเภอนางรอง โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างแพลตฟอร์มการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ นั้น กระประชุมครั้งนี้เพื่อร่วมรับทราบความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ วางแผนระบบการส่งต่อความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือนยากจนกลุ่มเป้าหมาย

          โดยผลงานแพลทฟอร์มโครงการ ได้แก่ การบูรณาการความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจนด้วย “โมเดลรถพุ่มพวง” จังหวัดบุรีรัมย์ เกิดจากการนำเอาสินค้าในชุมชนขึ้นรถแล้วเร่ขายไปตามชุมชนต่าง ๆ เกิดปรากฏการณ์รถพุ่มพวงในชุมชน และมีการทำธุรกิจรถพุ่มพวงเป็นธุรกิจในครัวเรือน โดยผลลัพธ์ที่ได้คือรถพุ่มพวง สามารถยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจนและต่อเนื่องเฉลี่ย 13,000 บาทต่อเดือน (ในปี พ.ศ. 2566) เป็นต้น ผู้รับผิดชอบโครงการฯประกอบด้วย ฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่น มหาวิทยาลันราชภัฎบุรีรัมย์ เหล่ากาชาดจังหวัดบุรีรัมย์ สถาบันวิจัยและพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ และเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการฯ

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!