บุรีรัมย์-เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงสู้ภัยเอลนีโญ

บุรีรัมย์-เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงสู้ภัยเอลนีโญ

ภาพ/ข่าว:คมกฤช พวงศรีเคน

          เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 6 ธันวาคม 2566 ที่ ห้องประชุมพนมรุ้ง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2567 โดยมีนายสืบพงษ์ นิ่มพูลสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานบุรีรัมย์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดบุรีรัมย์ หัวหน้าส่วนราชการที่ข้อง เข้าร่วมประชุม
          นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า จัดบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2567 ของจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์ขาดแคลนน้ำหรือเสี่ยงภัยแล้ง ส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพ รายได้ และการจ้างแรงงานให้กับประชาชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง รวมทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมแผนงานโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง จัดเตรียมความพร้อมของแผนงานโครงการให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2567 และเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

          ทั้งนี้ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เตรียมการบริหารจัดการน้ำตาม 9 มาตรการ รองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ของรัฐบาล ประกอบด้วย การเฝ้าระวังและการเตรียมจัดหาแหล่งน้ำ การปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การการกำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง การบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ การประหยัดและลดการสูญเสียในทุกภาคส่วน การเฝ้าระวังและแก้ไขคุณภาพน้ำ การสร้างการรับรู้ประชาชนสัมพันธ์ และ ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ขณะที่ โครงการชลประทานบุรีรัมย์ ได้มีการตรวจสอบปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 1 แห่ง ขนาดกลาง จำนวน 15 แห่ง และประตูระบายน้ำ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์น้ำแล้งและรับภาวะเอลนีโญ ในปี 2566/2567 นี้

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!