อุตรดิตถ์-เปลี่ยนผ้าห่มพระเจดีย์ศรีพุทธโคดม
ภาพ/ข่าว:พูลชัย ราชประสิทธิ์
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 10 ธันวามคม 2566 ที่วัดศรีพุทธโคดม หมู่ที่ 10 บ้านเนินสวรรค์ ต.น้ำอ่าง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ จากการนำของนายดำเนิน นันเขียว นายก อบต.น้ำอ่าง พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและคุณกัลยา ทองศรีจันทร์ พ.ต.อ.เด่น ทองศรีจันทร์ อดีต ผกก.พิชัย ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องคอยให้การต้อนรับ นายพยงค์ กองแสน ปลัดอาวุโสอำเภอตรอน รักษาราชการแทน นายอำเภอตรอน ประธานในพิธีและคณะพร้อมกับตัวแทนจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดได้เดินทางมาถึงบริเวณงานและได้ร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วโดยปะธานสงฆ์พระมหามงคล กตปุญฺโญ เจ้าอาวาส วัดธรรมมาธิปไตย (ร.จจ.อุตรดิตถ์)พระครูอดุลจารุวรรณ เจ้าอาวาส วัดไชยมงคล (จต.น้ำอ่าง)และพระครูวินิตกมลธรรมหรือ(พระปลัดกมลมาศเลขธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดศรีพุทธโคดม ตลอดจนพระเถระผู้ใหญ่อีกหลายรูป
โดยนายพยงค์ กองแสน ปลัดอาวุโสอำเภอตรอนประธานในพิธีได้จุดธุปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยมีพระสงฆ์สวดทักษิณานุปาทาน,และบังสุกุล และร่วมถวายภัตราหารแด่พระสงฆ์ช่วงที่พระสงฆ์ฉันท์ภัตราหารเพลมีการแสดง นาฏดนตรี และขบวนฟ้อนรำ ชมรมแม่บ้านหัวฝาย จ.แพร่ ต่อจากนั้นทำพิธีถวายผ้าป่าโลงเย็น 3 โลงโดยมอบให้กับวัดบ้านไร่ห้วยพี้ ต.ป่าคาย อ.ทองแสนขัน กับวัดศรัทธาพรหรือวัดท่าอวน อ.ตรอน และ วัดราชคีรีวิเศษ ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์โดยมีปลัดอาวุโส ประธานในพิธีเป็นตัวแทน จากนั้นคุณสมศรี เพียรสุภาพ เป็นตัวแทน คุณเด่นพงษ์ รังสิมาวิศรุต รพ.เปาโล มอบเครื่องถ่ายเอกสาร 2 เครื่องโดยมีรศ.ดร.รวิโรจน์ ศรีคำภา ผู้รับมอบ นอกจากนี้ยังได้มีการมอบคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียน 3 โรงเรียน โรงเรียนละ 10 เครื่อง มีโรงเรียนบ้านทุ่งงิ้ว ต.สถาน อ.เชียงของ จ.เชียงราย กับโรงเรียนบ้านเหล่า (รัฐราษฎร์บำรุง) ต.เวียงต้า อ.ลอง จ.แพร่และโรงเรียนบ้านแป้น(รัฐราษฎร์วิทยา) ต.เวียงต้า อ.ลอง จ.แพร่โดยมีคุณกัลยา ทองศรีจันทร์ เป็นตัวแทน รพ.เปาโลรังสิต เป็นตัวแทนมอบ และสุดท้าย พ.ต.อ. เด่น ทองศรีจันทร์ อดีต ผกก.สภ.พิชัย เป็นตัวแทนมอบทุนของคณะศรัทธา จ.อุดรธานี – หนองบัวลำภู 10,000 บาทให้กับสมาคมกู้ภัยหมอนไม้ จุดน้ำอ่าง อีกทั้งมอบทุนให้กับสมาคมกู้ภัยหมอนไม้ จุดตรอน อีก 10,000 บาท หลังจากเสร็จพิธีมอบสิ่งของได้ตั้งขบวน อัญเชิญพระบรมธาตุและแห่ผ้าพระบฎพร้อมทั้งเครื่องสักการะบูชาโดยมี พ.ต.สงัด สิริมา อดีตนายทหารพิธีกรและเป็นตัวแทนกล่าวคำถวายผ้าพระบฎ เคลื่อนขบวนผ้าพระบฎเดินเวียนทักษิณาวัตรรอบองค์พระเจดีย์ 3 รอบก่อนนำผ้าพระบฎและผ้าห่มองค์พระประธานพุทธรูป ขึ้นห่ม และอัญเชิญพระบรมธาตุเข้าบรรจุด้านในของพระเจดีย์
ความเป็นมาของการห่มผ้าพระบฎพระเจดีย์ พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ต้นกำเนิดของพระบฏยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่อาจมีที่มาจากตำนานพระพุทธฉาย กล่าวถึงพระเจ้าอชาตศัตรูทูลขอพระพุทธฉายจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงโปรดให้พระพุทธฉายประทับบนผืนผ้าผืนหนึ่ง ในประเทศอินเดีย มีการประดับอาคารศาสนสถานด้วยพระบฏซึ่งเป็นคตินิยมเนื่องในพุทธศาสนามหายานและได้ส่งอิทธิพลไปยังดินแดนต่าง ๆ ที่พุทธศาสนามหายานไปถึง เช่น จีน ญี่ปุ่นดังพบหลักฐานการเขียนภาพบนผืนผ้าและนำไปประดับตามศาสนสถานตั้งแต่ราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง (ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12) ยังพบหลักฐานอ้างอิงถึงจิตรกรรมบนผืนผ้าปรากฏในพระสุตตันตปิฎกแปลจากภาษาบาลี ส่วนการทำผ้าพระบฏขนาดใหญ่มาก ๆ ในทิเบต เรียกกันว่า ผ้าทังกา ซึ่งเป็นพุทธศิลป์ชั้นสูงของพุทธศาสนิกชนสายวัชรยาน ชาวสยามนิยมทำพระบฏถวายเป็นพุทธบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ปรากฏในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย หลักที่ 106 หรือ จารึกวัดช้างล้อม ระบุปีพุทธศักราช 1927 กล่าวถึง นักบวชรูปหนึ่งชื่อว่า พนมไสดำ ได้สร้างพระบฏขนาดใหญ่สูงถึง 7 เมตร เพื่อเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้แก่พระมหาธรรมราชา จารึกนี้ยังกล่าวถึงพระบฏจีน ที่มีขนาดเล็กกว่าและใช้ในการประดับตกแต่งภายในอาคาร พระบฏที่เก่าแก่ที่สุดที่พบ คือพระบฏที่พบได้จากกรุพระเจดีย์วัดดอกเงิน อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ขนาดสูง 3.4 เมตร และกว้าง 1.8 เมตร เป็นฝีมือสกุลช่างล้านนา อายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ตำนานของนครศรีธรรมราช มีตำนานเล่าว่า มีผู้พบผ้าแถบบาว วาดภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ ได้ลอยมาทางทะเลและขึ้นฝังที่ชายหาดปากพนัง สมัยที่ยังมีอาณาจักรตามพรลิงก์ ชาวบ้านที่เก็บได้ถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์รับสั่งให้ซักผ้านั้นจนสะอาดเห็นภาพวาดพุทธประวัติ เรียกว่า “ผ้าพระบฏ”