สุพรรณบุรี-วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ส่งเสริมกิจกรรมนักท่องเที่ยวสายเชิงประวัติศาสตร์

สุพรรณบุรี-วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ส่งเสริมกิจกรรมนักท่องเที่ยวสายเชิงประวัติศาสตร์

ภาพ/ข่าว:มงคล / รัตนา สว่างศรี / ธนกฤต แตงโสภา / นพดล แก้วเรือง

          ไปกันที่วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จ.สุพรรณบุรี นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิปดีกรมศิลปากร เป็นประธานเปิดงานการบรรยายและเสวนาวิชาการ เรื่อง จดหมายเหตุพระปาเลไลย โดยมีนางทัศนีย์ เทพไชย อดีตผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ในนามตัวแทนผู้จัดโครงการการศึกษาเอกสารโบราณ สมัยรัชกาลที่ 4 ที่เกี่ยวข้องกับการบูรณะวัดป่าเลไลยก์ และคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันการศึกษา เยาวชนและนักท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ต่างเข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างคึกคัก
           ในส่วนการบรรยายและเสวนาวิชาการ เรื่อง จดหมายเหตุพระปาเลไลย วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีวรรณกรรม และวิถีชีวิตของชุมขน โดยมีหลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวสุพรรณบุรีจังหวัดอื่น ๆ ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก มีหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการบูรณะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งมีตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ประดิษฐานที่หน้าบันพระวิหารหลวงพ่อโตในด้านประวัติความเป็นมาของวัดป่าเลไลยก์วรวิหารมีการกล่าวถึงมากมายหลายสำนวน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจน จึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน โครงการศึกษาเอกสารโบราณสมัยรัชกาลที่ 4 ที่เกี่ยวข้องกับการบูรณะวัดป่าเลไลยก์ โดยได้รับความเมตตาจากพระศรีธวัชเมธีรองเจ้าอาวาส วัดป่าเลไลยวรวิหาร เป็นประธานโครงการ พระครูโสภณวีรานุวัตรู ผศ.ดร.ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ให้การสนับสนุนหลักร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ์นักวิชาการจากหลายภาคส่วน ได้แก่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และภาคประชาชนจากชมรมนักโบราณคดี (สมัครเล่น) เมืองสุพรรณบุรี ร่วมกันทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารชั้นปฐมภูมิอาทิ หนังสือสมุดไทย สำเนาภาพถ่ายเก่าและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในใบบอกจากร่างตราสารถึงเมืองสุพรรณ และหมายรับสั่งรัชกาล ผลการศึกษาวิเคราะห์ ทำให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวัดป่าเลไลยก์ได้ชัดเจนู,จึงมีจุดมุ่งหมายนำมาเผยแพร่สู่สาธารณะให้กับนักเรียนและนักท่องเที่ยวสายเชิงประวัติศาสตร์ได้ศึกษาเรียนรู้อัฟเดทข้อมูลในยุคปัจจุปัน โดยมีผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการ ร่วมปาฐกถา โดย พระศรีธวัชเมธี รองเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ความเป็นมาของโครงการ ขอบเขต และวิธีศึกษา โดยพระครูโสภณวีรานุวัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร . ดร.นายชวพัฒน์ พรมขุนทต วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิภาษาศาสตร์ อักขรวิธี คำศัพท์ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 โดยนางสาวเอมอร เซาวน์สวน ผู้เชี่ยวชาญภาษาโบราณสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากรลำดับเหตุการณ์การบูรณะวัดป่าเลไลยก์ จากจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4
          โดย นายปัญชลิต โซติกเสถียร ชมรมนักโบราณคดี(สมัครเล่น) เมืองสุพรรณ-โหราศาสตร์ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 โดย ดร.ถนัด ยันต์ทอง วิทยาลัยทองสุข กรุงเทพมหานคร สารสนเทศด้านโบราณคดีจากจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 โดยนายปรัชญา รุ่งแสงทอง นักโบราณคดีชำนาญการสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรีนิทรรศการ “วัดป่าเลไลยก์ในหนังสือสมุดไทยโบราณ” โดยหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติชมรมนักโบราณคดี (สมัครเล่น) เมืองสุพรรณบริการสแกนภาพถ่ายเอกาสารเก่ามีอายุไม่ต่ำว่า 30 ปี โดยจดมายเหตุแห่งชาติจังวัดสุพรรณบุรีบริการผูกดวง ลัคนาราศีเกิด โดย ชมรมโหรขรัวตาจู การแสดงรำพื้นบ้านโดย ชุมชนวัดป่าเลไลยก์พร้อมแจกฟรีวัตถุมงคลจากพระธรรมพุทธิมงคล เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จัดพิมพ์หนังสือ “จดหมายเหตุพระปาเลไลย” จำนวน 2,000 เล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ห้องสมุด และหน่วยงานอื่นๆ

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!