สุพรรณบุรี-งานมหกรรมสีสันพันธุ์กล้วย บานาน่าแฟร์ครั้งที่ 1
ภาพ/ข่าว:มงคล / รัตนา / พงศกร สว่างศรี / ธนกฤต แตงโสภา / นพดล แก้วเรือง / นิกร สิงห์พิมาตร์
ดร.อุดม โปร่งฟ้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นพิธีเปิดงานมหกรรมสีสันพันธุ์กล้วย สุพรรณบุรี บานาน่าแฟร์ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2566 – วันที่ 2 มกราคม 2567 รวม 8 วัน 8 คืน ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยพระธรรมพุทธิมงคล เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร / พระครูโสภณวีรานุวัตร,ผศ.ดร. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ด้วยวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จัดงานมหกรรมสีสันพันธุ์กล้วย สุพรรณบุรี ครั้งที่ 1 โดยมีนายหิรัญ สะอิ้งทอง ประธานศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี กล่าวรายงานว่าศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี ร่วมกับหน่วยงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิตวิทยาเขตสุพรรณบุรี พัฒนาการจังหวัดสุพรรณบุรี วัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี ประมงจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่ออนุรักษ์พันธุ์กล้วย และให้ประชาชนได้ตระหนักถึงคุณประโยชน์ของกล้วย ตลอดจน เชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กลัวยสุพรรณบุรี
ซึ่งกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การประกวดเครือกล้วยงาม/เครือกล้วยยักษ์, การประกวดอาหารคาวหวาน จากกล้วย, การประกวดเครื่องจักสาน/ผ้าทอพื้นถิ่น, การเสวนากล้วยไทยกับวิถีชุมชน, การแสดงสัตว์น้ำสวยงาม/สัตว์น้ำพื้นถิ่น, การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากชุมชนต่าง ๆ, การแสดงดนตรีจากศิลปินชื่อดัง, การจำหน่ายสินค้า OTOP, สินค้า Fisherman Shop เป็นต้น เปิดศูนย์การเรียนรู้พันธุ์กล้วย 220 ชนิดและแจกพันธุ์กล้วยฟรี เที่ยว ชิม ช็อป สินค้ามากมาย มอบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ชนะการประกวดทุกประเภท ประกอบด้วย 1.ประเภท เครือกล้วยงาม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางศิริวรณ์ แก้ทิพย์ ต.ตลิ่งชัน อ.เมืองสุพรณบุรี 2.ประเภท เครือกล้วยยักษ์ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายฉันท์ การะเกตุ ต.บางงาม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรณบุรี 3.ประเภท เครื่องจักสาน รางวัล ชนะเลิศ ได้แก่ นายจำนงค์ โพธิ์พันธุ์ จาก เรือนจำจังหวัดสุพรณบุรี และ 4.ประเภท ผ้าทอพื้นถิ่น รางวัล ชนะเลิศ ได้แก่ นางสายชล เชาวรัตน์ จากกลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองลายโบราณ กลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองลายโบราณ บ้านสระบัวก่ำ ต.สระบัวก่ำ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี มีการรวบรวมพันธุ์กล้วยโบราณ กล้วยแปลก กล้วยหายาก กล้วยต่างประเทศ จากแหล่งต่าง ๆ ปัจจุบันมีพันธุ์กล้วยมากกว่า 222 ชนิด เปิดบริการให้ความรู้แก่คณะผู้มาเยือน ศึกษาดูงานการแปรรูปจากกล้วย เช่นปุ๋ยน้ำชีวภาพจากหน่อกล้วย, จาน-ชาม จากกาบกล้วย, ผงกล้วยดิบรักษาโรค, ฝึกการทำสบู่ใยกล้วย, น้ำชาปลีกล้วย สามารถฝึกภาคปฏิบัติจริงเรื่องการขยายสายพันธุ์กล้วยได้ด้วย และยังได้รับตราสัญลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของกรมส่งเสริมการเกษตร อีกด้วย
ต่อมาช่วงค่ำ นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานเปิดเวทีรำวงย้อนยุค ภายในงานมหกรรมสีสันพันธุ์กล้วย สุพรรณบุรี บานาน่าแฟร์ครั้งที่ 1 เพื่อส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่และสวดมนต์ข้ามปี จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2566 – วันที่ 2 มกราคม 2567 รวม 8 วัน 8 คืน บนเวทีจะได้ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง และชมศิลปินชื่อดังมากมาทุกค่ำคืน ภายในงานมีการ การออกร้านสินค้า OTOP
หลังพิธีเปิดเวทีรำวงย้อยยุคนายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ขับร้องเพลงรำวงสุพรรณบุรี และเพลงคิดถึงบ้านเกิด ซึ่งมีนางนภัสสร สุวรรณประทีป นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ประชาชนและนักท่องเที่ยว ร่วมสนุกรำวงย้อนยุคกันอย่างสนุกสนาน เพื่อฉลองที่ จ.สุพรรณบุรี เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี ขององค์การยูเนสโก ประจำปี 2566 และเป็นการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่