สระบุรี-“สปสช.เขต 4-สสจ.” ห่วงใยประชาชนเดินทางปีใหม่ เจ็บป่วยฉุกเฉิน “บัตรทอง” รักษาได้ทุกที่ไม่ต้องสำรองจ่าย

สระบุรี-“สปสช.เขต 4-สสจ.” ห่วงใยประชาชนเดินทางปีใหม่ เจ็บป่วยฉุกเฉิน “บัตรทอง” รักษาได้ทุกที่ไม่ต้องสำรองจ่าย

ภาพ/ข่าว:สมภพ พิมมะศร

          วันที่ 27 ธันวาคม 2566 ที่ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 4 สระบุรี ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี โดย นพ.สาธิต ทิมขำ ผู้อำนวยการ สปสซ. เขต 4 สระบุรี นพ.กฤษณ์ สกุลแพทย์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระบ พญ.จิรวรรณ อารยะพงษ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาล ร่วมกันแถลงข่าวเพื่อสร้างความเข้าใจกับสื่อมวลชน ถึงนโยบายเจ็บป่วย “ฉุกเฉินวิกฤต” รักษาทุกที่ “โดยไม่ต้องสำรองจ่าย” (UCEP)เพื่อให้สื่อมวลชนและเครือข่ายด้านประชาสัมพันธ์ได้เผยแพร่นโยบายต่อสาธารณะ สื่อมวลชนท้องถิ่น และประชาสัมพันธ์จังหวัเข้าร่วมรับฟังกว่า 20 องค์กร นพ.สาธิต ทิมขำ ผู้อำนวยการ สปสช. เขต 4 สระบุรี กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 นี้ที่มีวันหยุดยาวระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2566 ถึง 1 มกราคม 2567 ประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางต่างจังหวัดเพื่อกลับบ้านหรือเยี่ยมเยียนครอบครัว นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะบอร์ด สปสข. ได้สั่งการให้ สปสข.ดูแลพร้อมแจ้งผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สิทธิบัตรทอง 30 บาท หากเจ็บป่วยต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล สามารถการเข้ารับบริการได้ 2 กรณี ดังนี้
          1.กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินระดับวิกฤติถึงแก่ชีวิต หากไม่รักษาทันทีมีโอกาสเสียชีวิตสูง สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่งที่อยู่ใกล้สุดโดยเร็ว เป็นไปตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิ์ทุกที่(Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) ของรัฐบาล โดยยื่นเพียงบัตรประชาชนใบเดียวและแจ้งใช้สิทธิ UCEP ซึ่งจะเข้ารับการรักษาได้ในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุด ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สำหรับสิทธิ UCEP ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาจนพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย โดยเมื่อพ้น 72 ชั่วโมง จะส่งรักษาต่อที่หน่วยบริการประจำ โดยให้สถานพยาบาลที่ให้การรักษาเบิกค่าใช้จ่ายค่ารักษาจาก สปสช. ตามอัตราที่กำหนด กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร. สายด่วน 1669 ได้ทั่วประเทศ ทั้งนี้ 6 อาการที่เข้าข่ายภาวะฉุกเฉินวิกฤต ประกอบด้วย 1.หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ 2.หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง 3.เจ็บหน้าอกเฉียบพลันรุนแรง 4.ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการซักร่วม 5.แขนขาอ่อนแรงครึ่งชีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุดและ6มีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมอง ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากป่วยฉุกเฉินแต่ ‘ไม่วิกฤตถึงแก่ชีวิต’ สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลรัฐที่ใกล้ที่สุด โดยยื่นเพียงบัตรประชาชนใบเดียวและแจ้งใช้สิทธิบัตรทองหรือสิทธิ 30 บาท
          2.กรณีเจ็บป่วยที่ไม่ไช่ฉุกเฉินระดับวิกฤติหรือผู้มีสิทธิบัตรทองที่เดินทางไปต่างถิ่นแล้วมีความจำเป็นต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล เช่น มีความดันโลหิตขึ้นสูง ปวดศีรษะมาก เกิดภาวะท้องเสียรุนแรง ไข้หวัด ปวดท้อง เคืองตา ทำแผลต่อเนื่อง ตัดไหม หรือยาหมด (ต้องกินยาต่อเนื่องแต่ยาหมดระหว่างเดินทางไปต่างพื้นที่มาขอรับยาได้) ฯลฯ สามารถเข้ารักษาได้ที่หน่วยบริการปฐมภูมิทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็น รพ.สต, สถานีอนามัย, ศูนย์สุขภาพชุมชน, โรงพยาบาลประจำอำเภอ, หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลประจำจังหวัด รวมถึงศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และคลินิกชุมชนอบอุ่น โดยยื่นบัตรประชาชนและแจ้งใช้สิทธิบัตรทอง
          3.กรณีเจ็บป่วยเล็กน้อย Op AnyWrere สปสช.ได้ร่วมกับสภาวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข เพิ่มบริการให้ประชาชนมีความสะดวกมากขึ้นดังนี้ร้านยามoนอบอุ่พ/ค3สิกพราบาอปเงิาสำวมกับ UCเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ ยื่นบัตรประชาชนใบเดียว ปรึกษาเภสัชกรและรับยาได้ที่ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการได้ทั่วประเทศ ไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยสังเกตสติกเกอร์ “ร้านยาคุณภาพของฉัน ให้บริการเจ็บป่วยเล็กน้อย” หรือดูรายชื่อร้านยาที่เข้าร่วมได้ที่ https://www.nhso.go.th/downloads/204

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!