ปราจีนบุรี-จัดประเพณีสู่ขวัญลานข้าว อบต.นนทรี และกิจกรรมสร้างฟางเรือนข้าวยิ่งใหญ่! พร้อมวันวาเลนไทน์จรดดึก
ภาพ/ข่าว:มานิตย์ สนับบุญ / ณัฐนันท์(ดาว) / กิตติพล ช่างกล
เมื่อเวลา 21.00 น. วันที่ 14 ก.พ.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ลานสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนตำบลนนทรี (อบต.) อ.กบินทร์บุรีบุรี จ.ปราจีนบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลนนทรี (อบต.) ร่วมกับ จังหวัดปราจีนบุรี ,การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท .) สำนักงานนครนายก สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปราจีนบุรี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี สมาคมท่องเที่ยวปราจีนบุรี,สภาวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี โรงเรียนนนทรีวิทยาคม กลุ่มสตรีพัฒนาตำบลนนทรี และหน่วยงานภาคต่างๆ ผู้นำชุมชนท้องถิ่น ได้จัดงานประเพณีจัดงานประเพณีสู่ขวัญข้าว ต.นนทรี ครั้งที่ 18 และ กิจกรรมเสริมคือประกวดประดิษฐ์เรือนนอนจากฟางข้าว ระหว่างวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2567 นำโดย นายเถี้ยว พันชำนาญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนนทรี (อบต.) พร้อมคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนนทรี (ส.อบต.), นายธนกร สุริยธนธร กำนันตำบลนนทรี ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ตำบลนนทรี โดยมีนายรณรงค์ นครจินดา ผวจ.ปราจีนบุรีเป็นประธานเปิดงาน นายสุนทร หรือ โกทร วิลาวัลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี ( อบจ.) , นางกนกวรรณ หรือโอ๊ะ วิลาวัลย์อดีต รมช.ศึกษาธิการ ,นางบังอร วิลาวัลย์ อดีตประธานสภาวัฒนธรรม จ.ปราจีนบุรี และ นางวัชราภรณ์ แตงหมี นายอำเภอกบินทร์บุรี ร่วมเป็นเกียรติท่ามกลางชาวอำเภอกบินทร์บุรีและชาวบ้าน ตำบลนนทรี รวม 16 หมู่บ้านกว่า 1,000 คนร่วมงาน
ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้จัดสืบสานงานบุญประเพณีสู่ขวัญข้าว ครั้งที่ 18 ประจำปี 2567 เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ โดยการขอขมา ที่ได้เหยียบย่ำ ทุบ ตี ข้าว ระหว่าง การนวดข้าว และเพื่อเป็นสิริมงคล สร้างขวัญกำลังใจ ในการทำนาของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และถือว่า เมื่อทำแล้วจะทำให้มีความโชคดีในการทำนา ไม่มีอุปสรรคใดๆ มีผลผลิตงอกงาม อันจะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ มีข้าวเหลือกินเหลือใช้ไม่หมดไปจากยุ้งฉาง และเพื่อให้ประชาชนทั่วไป เด็กและเยาวชน ได้มีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้อยู่กับชุมชน เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม ความเสียสละ ความสามัคคีในชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน และสร่างเศรษฐกิจชุมชน กิจกรรม ในช่วงเย็นเป็น ขบวนแห่เทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 10 ,แห่ธิดาแม่โพสพจากชุมชนต่างๆ ของชาวบ้าน 16 หมู่บ้านเข้าสู่ลานพิธี พร้อมการจำหน่ายสินค้าจากชุมชน การสาธิตเครื่องมือ-อุปกรณ์ทำนา มีบริการอาหาร – เครื่องดื่มฟรี ภายในในงานประกอบด้วย พิธีบายศรีสู่ขวัญข้าวโดยมี พระอาจารย์บุญมี ฐานวุฑโต เจ้าอาวาสวัดทุ่งตะลุมพุก จังหวัดปราจีนบุรี ประธานพิธีสู่ขวัญข้าว และมีคณะ นางรำ จาก ตำบลนนทรี ตำบลบ่อทอง ตำบลกบินทร์ และ จากอำเภอประจันตคาม รวมกว่า 200 นาง ร่วมรำถวายพระแม่โพสพหน้าพระธาตุวัดแจ้ง อ.เมืองปราจีนบุรีที่ทำจำลองแบบมาจากของจริงตกแต่งด้วยรวงข้าว พร้อมเครื่องบูชาพระแม่โพสพเพื่อเป็นสิริมงคล โดยการทำขวัญลานข้าวดังกล่าวใช้สำเนียงอิสานในการสู่ขวัญ เป็นภาษาชาวบ้านพื้นถิ่น อ.กบินทร์บุรีที่เสนาไพเราะหาฟังได้ยากในปัจจุบัน ประเพณีการสู่ขวัญลานข้าวนี้ นิยมทำกันตอนที่เกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ขนข้าวมากองล้อมไว้ที่ลาน แล้วเจ้าของข้าว จะใช้พานใสดอกไม้ไม้ธูปเทียน เดินไปกู่ร้องเรียกขวัญข้าวให้ทั่วนาดัง ๆ เชิญขวัญเอาไปกับฟ่อนข้าวให้มีน้ำหนัก ให้ข้าวไม่มีลีบ ให้ได้เมล็ดมาก ๆ การกู่เรียกขวัญ ก็พูดแต่ในทางที่ดีดี เสร็จแล้วก็จะนำขวัญข้าวนั้นมาที่ลานข้าว ที่ลอมข้าว จะทำธงสีต่าง ๆ ปักให้สวยงาม มีขนมต้มแดง ต้มขาว ขนมปลากริมไข่เต่า เอาไปสังเวย ส่วนการเรียกขวัญข้าว พิธีจะทำตอนที่ต้อนข้าวเริ่มตั้งท้อง คือระยะหลังสารทไทย และ จะต้องทำในวันศุกร์ จะเป็นตอนไหนก็ได้ แต่ส่วนมากผู้ที่จะไปเรียกขวัญข้าว ก็มีกระยาสารท น้ำอบ น้ำหอม โดยเฉพาะพวกส้ม ให้ใช้หลาย ๆ อย่าง เพราะว่า แม่โพสพกำลังตั้งท้อง ต้องรับประทานส้ม พวกเครื่องแต่งตัวใส่ถาด พวกส้ม ผลไม้ต่าง ๆ ขนมใส่ชะลอม นำไปให้ถึงบริเวณนาข้าว แล้วเอาชะลอมผูกติดไม้ปักไว้ พวกเครื่องแต่งตัววางไว้ใกล้ ๆ และกล่าวพรรณนาแต่ในทางที่ดีดี ที่จะทำให้ต้นข้าวงอกงาม ได้รวงดี ได้ข้าวดี ตอนสุดท้ายก็ให้กล่าวดังนี้ “แม่พระโพสี แม่พระโพสพ แม่นบดารา แม่จันเทวี แม่ศรีสุดา ขอเชิญแม่มารับเครื่องสังเวย” ใช้เวลาพอสมควรแล้วก็กลับ โดยเอาชะลอมปักไว้ที่นานั้นและกล่าวอำลา โดยบอกว่า..เมื่อแม่พระโพสพ รับประทานและแต่งตัวแล้ว ก็จะขอลากลับ..เป็นอันเสร็จพิธี