สมุทรปราการ-ธรรมศาสตร์จับมือจังหวัดสมุทรปราการ เปิดเวทีถกปัญหาข้อพิพาทที่ดินตกทะเล

สมุทรปราการ-ธรรมศาสตร์จับมือจังหวัดสมุทรปราการ เปิดเวทีถกปัญหาข้อพิพาทที่ดินตกทะเล

ภาพ/ข่าว:สุรศักดิ์ / อัญมณี คงสินธ์

          วันที่ 23 มีนาคม 2567 ที่ห้องประชุมของเทศบางบางปู ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธาน จัดเวทีเสวนาวิชาการเรื่อง ข้อพิพาทและแนวทางการแก้ปัญหาที่ดินตกทะเล โดยมี นายสมศักดิ์ แก้วเสนา ปลัดจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วยตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ตัวแทนจากกรมที่ดิน ตัวแทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตัวแทนกรมเจ้าท่า และตัวแทนชุมชน เข้าร่วมเวทีเสวนาในครั้งนี้
          อาจารย์ ปริญญา กล่าวว่า เรื่องปัญหาโฉนดตกทะเลเป็นปัญหามาหลายสิบปีถามว่าย้อนไปอ่าวไทยโดนกัดเซาะเมื่อไหร่ ก็คงย้อนไป 40 ปี โดยประมาณ และกัดเซาะลึกเข้ามาเรื่อย ๆ คาดคะเน คือ ตลอดแนวอ่าวไทยทั้งหมดตั้งแต่อ่าวไทยตอนบนลงไปถึงสงขลาคาดคะเนเป็นล้านไร่ ประการแรก ประชาชนเจ้าของโฉนดอยู่จริงไม่ได้ เหลือแค่เอกสารสิทธิ์เท่านั้น / ประการที่ 2 เมื่อกรมทรัพยากรทะเลชายฝั่ง ต้องการแก้ปัญหาโดยการปลูกป่าชายเลนเพราะดีที่สุดในการป้องกันการกัดเซาและให้อ่าวไทยฟื้นกลับขึ้นมาเพราะเป็นป่าวชายเลนเป็นต้นกำเนิดลูกไม้ใบอ่อน และดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้ดีกว่าป่าบานบกสองเท่าตัว เพราะงั้นเลยเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดต่ออ่าวไทย ที่เป็นอาหารทะเลยของคนไทยทั้งประเทศ การแก้ไขนี้ กรมทรัพยากรชายฝั่งก็ร่วมมือกับชาวบ้าน ปัญหาคือเมื่อป่าชายเลกลับคืนมา เช่นที่คลองด่านสมุทรปราการที่ป่ากลับมาเท่าเดิม หรือที่ จังหวัด ฉะเชิงเฉาที่ทำสำเร็จ แต่เมื่อที่ดินกลับมา ปัญหาคือเจ้าของโฉนดก็กลับมาด้วย เลยเกิดข้อพิพาทระหว่างเจ้าของโฉนดกับชาวบ้านที่ร่วมมือปลูกป่า บ่อยครั้งที่เจ้าของโฉนดซื้อต่อมาอีกที ที่ไปซื้อต่อมาถูก ๆ เลยเกิดข้อพิพาท ของเจ้าของโฉนด ตามกระดาษตามกฎหมายกับชายบ้านอนุรักษ์พื้นที่แต่เมื่อเรื่องไปถึงศาลแนวทางค่อนข้างชัดเจนว่า ถ้าที่ดินเป็นน้ำแล้ว เจ้าของไม่ได้หวงกัน กลายเป็นสาธารณประโยชน์และศาลก็ตัดสินว่ากลายเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน แต่ไม่ได้มีการดำเนินการทางโฉนดอย่างเป็นระบบ มีเพียงแค่ตัดสินคดี ปัญหา คือ เมื่อกลับมาเป็นแผ่นดินใหม่ก็เกิดเป็นข้อพิพาทแล้ว เมื่อไปถึงศาลฎีกาเจ้าของที่ดินก็จะแพ้ไปทุกรายถ้าครบองค์ประกอบ 3 อย่าง การสัมมนาเลยจะร่วมกันหาทางออกว่าโฉนดที่ตกอยู่ใต้ทะเลจะมีทางออกระยะยาวอย่างไร ถ้าแนวทางศาลก็ต้องไปดำเนินการเพิกถอนโฉนดทั้งหมด ซึ่งยังไม่เคยมีการดำเนินการ ตามกฎหมายประมวลที่ดิน ม. 6 บอกว่าที่ดินที่มีโฉนดทิ้งร้างไปเกิน 2 ปี ให้เพิกถอนถ้าที่ดินสิทธิอื่น ๆ เช่น นส. 3 ก็แค่ 5 ปี ดังนั้น แนวทาง 1 เพิกถอน ก็กระทบกับประชาชนที่สูญเสียทีดินไป แนวทาง 2 เวนคืนที่ดิน ปัญหาที่เกิดขึ้น ผมได้ประสานกับรองอธิบดีกรมที่ดิน ซึ่งมีความเห็นว่าเมื่อศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินเป็นทางน้ำไปแล้วกลายเป็นสาธารณะสมบัติแล้ว ที่ดินแบบนี้จะเวนคืน หากทำได้ประเทศไทยจะได้ที่ดินชายทะเลกลับมาเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งจะสามารถปลูกป่าชายเลน สร้างแหล่งธรรมชาติและป้องกันการกกัดเซาะชายฝั่งได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังป้องกันนายทุนและผู้มีอิทธิพลต่างๆที่อาจจะเข้ามาใช้สิทธิ์ครอบครองที่ดินชายฝั่ง
          ขณะที่ นาย บรรเจิด อุดมสุมทรหิรัญ ผู้แทนชุมชนและเป็นตัวแทนของเครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบน 7 จังหวัด ออกมาให้ข้อมูลที่หน้าสนใจกับทีมข่าวพร้อมเปิดหน้าชนฝากถึงนักการเมืองอดีตรัฐมนตรีท่านหนึ่งที่พยายามออกโฉนดสิทธิ์ครอบครองที่ดินกลางทะเลในพื้นที่ของอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งคุณบรรเจิดบอกว่าหากยังไม่หยุดที่จะพยามออกโฉนดที่ดินกลางทะเล ตามที่คนในชุมชนรวมถึงเครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบนออกมาคัดค้านกันอยู่นั้น นอกตากตนเองแล้วยังจะได้เห็นเครือข่ายภาคประชาชนอีก 7 จังหวัดที่จะพร้อมใจกันออกมาปกป้องที่ดินชายทะเลเพื่อลูกหลานในอนาคต ในส่วนของตนเองที่เคยร่วมกับชุมชนและเครือข่ายออกมาใช้ประโยชน์สาธารณะสมบัติทางทะเลชายฝั่งย่านบางปู หลังจากที่ดินแปลงหนึ่งตกทะเลจนมีการปลูกป่าชายเลนจนเกิดตะกอนชายฝั่งแล้วมีการผลักดันสร้างโรงเรียนนอกกะลาเพื่อหวังสอนเยาวชนและคนในชุมชนเรียนรู้ประโยชน์ของทะเลและร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมทางทะเลไว้ ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยมีปรากฏเจ้าของทีดินที่ตกทะเลมาก่อนแต่พอที่ดินดังกล่าวกลับมาทำประโยชน์สาธารณะกลับพบว่ามีนายทุนเข้ามาฟ้องร้องตนเองในข้อหาบุกรุกจนถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาลและศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องตนเอง มาแล้ว ในส่วนของตนเองที่ร่วมเวทีเสวนาในครั้งนี้เพราะอยากให้เกิดการผลักดันแก้ปัญหาเรื่องข้อพิพาทที่ดินตกทะเล ซึ่งมีข้อพิพาทมาอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายสิบปี เนื่องจากก่อนหน้านี้เจ้าของโฉนดหรือเจ้าของทีดินเดิมที่มีเอกสารสิทธิ์ไม่เคยออกมาแสดงสิทธิ์หรือปกป้องทรัพย์สินของตนเองปล่อยล้างจนเกิดการกัดเซาะและตกเป็นที่ดินทางทะเลตามธรรมชาติ แต่พอถึงวันหนึ่งที่ที่ดินแปลงนั้นกลับมาทำประโยชน์สาธารณะกลับมาจะเรียกร้องสิทธิ์ที่มี ในส่วนของพื้นที่บางปูการกัดเซาะชายฝั่งนั้นขนาดนี้สามารถที่จะหยุดการกัดเซาะได้ทั้งหมดแล้วจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน แต่มีจุดใหม่ที่เพิ่งเกิดและกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของจังหวัดสมุทรปราการอีกครั้ง ในเรื่องที่ดินตกทะเล หลังจากที่มีกลุ่มทุนพร้อมนักการเมืองรายใหญ่ซึ่งเคยเป็นถึงขั้นรัฐมนตรีคนหนึ่ง พยามจะไปออกโฉนดสิทธิ์ในที่ดินกลางทะเล พร้อมกับออกมาขู่อีกว่าภายในสองเดือนจะต้องออกโฉนดที่ดินแปลงนี้ให้ได้ ซึ่งหากเขาทำได้จริง ถือว่าประเทศไทยล้มพับในเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้องทางทะเล มีการเรียกนายอำเภอไปคุย เพื่อให้นายอำเภอบีบผู้ใหญ่บ้านให้ยอมเซ็นเพื่อหวังออกโฉนด ซึ่งผู้ใหญ่บ้านยังไม่ยอมเซ็นเพราะหวังปกป้องสิทธิ์ให้กับลูกบ้านและลูกหลานในอนาคต ซึ่งเรื่องกลุ่มทุนนี้ตนเองอยากฝากสื่อและผู้เกี่ยวข้องไปตรวจสอบและช่วยกันหยุดยับยั้งกลุ่มนายทุนกลุ่มนี้ ซึ่งตนเองในฐานะเครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบนจะออกมารวมตัวกันทั้ง7 จังหวัดเพื่ออกมาคัดค้านในเรื่องนี้รวมถึงการเคลื่อนไหวหากพบว่ากลุ่มนายทุนและนักการเมืองใหญ่รายนี้พยามออกโฉนดพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่าร้อยไร่

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!