ประจวบคีรีขันธ์-“โคก หนอง นา โมเดล”สู้ภัยโควิด-19

ประจวบคีรีขันธ์-“โคก หนอง นา โมเดล”สู้ภัยโควิด-19

ภาพ/ข่าว:เอกภพ วงษ์ประเสริฐ

       พช.เร่งพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ในรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล สู้ภัยโควิด-19
        วันที่ 11 ก.พ.64 ที่ห้องประชุมสิงขร ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดประชุมเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล โดยมี ดร.พัลลภ สิงหเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธาน มีนาย กิตติพงศ์ สุขภาคกุล ปลัดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วย หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องประมาณ 25 องค์กร เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการหารือ
        ทั้งนี้สืบเนื่องจากกรมการพัฒนาชุมชน และร่วมกับมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่างๆทั้ง 7 ภาคี ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน ตามกลไกการขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชา เพื่อการปฏิรูปประเทศกับแนวคิดการพัฒนาพื้นที่และการออกแบบเชิงภูมิสังคมไทย เพื่อการพึ่งพาตนเอง และรองรับภัยพิบัติในรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนผ่านการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกร แรงงาน บัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงานที่อพยพกับท้องถิ่น และชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 18,995,200 บาท
          ซึ่งจะได้ดำเนินการใน 3 กิจกรรมประกอบด้วย 1.พัฒนาพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับครัวเรือน กลุ่มเป้าหมายจำนวน 127 ครัวเรือน งบประมาณ 9,327,200 บาท โดยจ้างเหมาปรับปรุงแบบที่ดินขนาด 1 ไร่ ปริมาตรดินขุด 1,500 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 66 แปลง แปลงละ 45,200 บาท รวมเป็นเงิน 2983200 บาท จ้างเหมาปรับรูปแบบที่ดินขนาด 3 ไร่ ปริมาณดินขุด 4,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 61 แปลง แปลงละ 104,000 บาท รวมเป็นเงิน 6,344,000 บาท
          กิจกรรมที่ 2 สร้างงานสร้างรายได้รายเดือน ให้แก่เกษตรกร บัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงานที่อพยพกับท้องถิ่นและชุมชนงบประมาณ 7,128,000 บาท โดยดำเนินการจ้าง จำนวน 33 ตำบล ตำบลละ 2 คนรวม 66 คน เงินเดือนเดือนละ 9,000 บาท กิจกรรมที่ 3 กระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและเอกชน ผ่านกิจกรรมการพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่ต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับครัวเรือนจำนวน 127 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 20,000 บาท งบประมาณ 2,540,000 บาท โดยการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ใช่คุรุภัณฑ์สำหรับฝึกปฏิบัติแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในแปลงของครัวเรือน เช่น ปุ๋ย ฟางข้าว จอบ เสียม กล้าไม้ พันธุ์ไม้ เป็นต้น และจะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการกิจกรรมที่ 1 จนเสร็จเรียบร้อยแล้ว

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!