เชียงใหม่-จัดงาน“นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แนวทางทวิ/พหุภาษา
ภาพ-ข่าว:วสันต์ มีจินดา
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่จัดงาน “นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แนวทางทวิ/พหุภาษา (โดยใช้ภาษแม่เป็นฐาน) และข้อเสนอการปรับปรุงแก้ไขระเบียบ หลักเกณฑ์และแนวการปฏิบัติเกี่ยวกับงานบริหารบุคคล (ปลดล็อค) เพื่อให้เอื้อต่อการใช้นวัตกรรม”
ที่โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ นายวีระพันธ์ ดีอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเกิดงาน “นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แนวทางทวิ/พหุภาษา (โดยใช้ภาษแม่เป็นฐาน) และข้อเสนอการปรับปรุงแก้ไขระเบียบ หลักเกณฑ์และแนวการปฏิบัติเกี่ยวกับงานบริหารบุคคล (ปลดล็อค) เพื่อให้เอื้อต่อการใช้นวัตกรรม” ที่จัดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการรายงานผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาและแนวทางแก้ไข ในพัฒนาคุณภาพการศึกษา คุณภาพเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทุรกันดารขาดแคลน โดยใช้ระบบทวิ/พหุภาษา (โดยใช้ภาษแม่เป็นฐาน)
โดยที่ผ่านมา หน่วยงานด้านการศึกษาโดยเฉพาะในพื้นที่ทุรกันดารขาดแคลน รวมทั้งมีหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่รวมกัน จะมีปัญหาในด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนในพื้นที่จากการใช้ภาษาที่ใช้สื่อสาร ทำให้เด็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และไม่อยากเรียน เกิดปัญหาตามมาอีกหลายประการ ดังนั้น หน่วยงานด้านการศึกษาของจังหวัดเชียงใหม่ อาทิ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 3-6 ฯลฯ จึงร่วมมือกันในการนำนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สองภาษาหรือหลายภาษาควบคู่กัน หรือที่เรียกว่า ทวิ/พหุภาษา (โดยใช้ภาษแม่เป็นฐาน) ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดยในปีการศึกษา 2562 มีโรงเรียนนำร่องจำนวน 16 โรงเรียน และจากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่า การพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ผลเป็นอย่างดี เด็กมีความกล้าที่จะสื่อสารกับครู กล้าแสดงออก ไม่ขาดเรียน อ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาไทยและภาษาถิ่น มีทักษะการคิดสูงขึ้น รักการอ่าน และให้ความร่วมมือในการเรียน ทำให้โรงเรียนที่ใช้ระบบนี้หลายโรงเรียนสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด หรือยกระดับผลการประเมินการอ่าน (RT) จากระดับต่ำมากขึ้นไปอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของระดับประเทศได้ ซึ่งจากผลสัฤทธิ์ดังกล่าว จึงได้มีการขยายผลการใช้นวัตกรรมดังกล่าวใน ปีการศึกษา 2563 รวมเป็น 27 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนทวิ/พหุภาษาเต็มรูปแบบ 15 โรงเรียน โรงเรียนที่สอนภาษไทยสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ 5 โรงเรียน โรงเรียนทวิ/พหุภาษากึ่งรูป (ไม่มีตัวเขียน) 3 โรงเรียน และโรงเรียนทวิ/พหุภาษากึ่งรูป (มีตัวเขียน) 1 โรงเรียน โดยมีการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้หลากหลายมากขึ้น เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่
ในการจัดงานครั้งนี้ ได้มีการนำเสนอผลสัมฤทธิ์ของการการดำเนินการดังกล่าว และได้มีการเสนอแนวทางแก้ไข ปรับปรุงระเบียบ หลักเกณฑ์และแนวการปฏิบัติเกี่ยวกับงานบริหารบุคคล (ปลดล็อค) เพื่อให้เอื้อต่อการใช้นวัตกรรม เพื่อให้โรงเรียนที่อยู่ในโครงการดังกล่าวใช้ครูท้องถิ่นผสมผสานกับครูที่ใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอน รวมทั้งการพัฒนาครูท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เอื้อต่อการใช้นวัตกรรมตามแนวทางที่วางไว้ สอดคล้องกับพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” อย่างแท้จริง
****************