ร้อยเอ็ด-สมาคมครูยื่นรายชื่อเพื่อขอให้รัฐบาลถอนร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
ภาพ-ข่าว:คมกฤช พวงศรีเคน
ชมรมสมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ดพร้อมด้วยองค์กรเครือข่าย แต่งชุดดำแสดงสัญลักษณ์ ร่วมกันแถลงข่าว และยื่นรายชื่อเพื่อขอให้รัฐบาลถอนร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับผ่านครม. ออกจากสภาฯ
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 21 มิถุนายน 2564 นายประจวบ นาก้อนทอง นายกสมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วย นายสิงขร ริโยธา ประธานชมรมครูจังหวัดร้อยเอ็ด นายชัยณรงค์ มนตรีโพธิ์ ที่ปรึกษาชมรมครูจังหวัดร้อยเอ็ด นายประภาส บุญมาก เลขานุการสมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ด นายสฤษดิ์ วิเชียรศรี นายกสมาคมครูอำเภอเมือง นายจีระ อินทรกลาง ที่ปรึกษาสมาคม และนายฉัตรชัย จัตุโพธิ์ รองประธานสมาคมครูร้อยเอ็ด ร่วมแถลงข่าวเพื่อแสดงสัญลักษณ์การไม่รับและขอให้รัฐบาลถอนร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับผ่านครม. ออกจากสภาฯ ที่ หน้าศูนย์ดำรงธรรม ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด ชั้น 1 อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
นายประจวบ นาก้อนทอง นายกสมาคมครูร้อยเอ็ด กล่าวว่า เหตุผลและข้อเรียกร้องและให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ…..(ฉบับรัฐบาล ตามหนังสือ สคก. 660/2564) ออกจากรัฐสภา ด้วย ด้วยสมาพันธ์องค์กรวิชาชีพครูไทย (ส.อ.ท.) เป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวของ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ในราช การปัจจุบัน ร่วมกับ องค์กรวิชาชีพทางการศึกษา ทั้งประเทศ ได้ประชุมร่วมกันโดยได้นำร่าง ร่าง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.ค.ร.มได้เห็นชอบ เมื่อวันที่ 1 มิถุนา ยน 2564 และจะนำเข้าบรรจุเพื่อรับคำแนะนำและยินยอมจากรัฐสภา เพื่อประกาศและให้มีผลบังคับใช้ต่อไป มาศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ พบว่า ยังมีส่วนที่เป็นข้อกังวลใจของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ในราชการปัจจุบัน และในหลายประเด็น ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และขวัญกำลังใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในอนาคต สมาพันธ์องค์กรวิชาชีพครูไทย (ส.อ.ท.) จึงมีมติร่วมกัน ให้คัดค้าน ไม่เห็นด้วย และขอเรียกร้องให้รัฐบาลถอนร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
ออกจากการประกอบการพิจารณาในรัฐสภา เพื่อให้มีการแก้ไขปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ…..ตดามรายละเอียดข้อเรียกร้องคัดค้าน เพื่อให้ได้กฎหมายที่ดีที่สุด ใช้เป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของชาติอย่างแท้จริง ดังนี้
ประเด็นข้อเรียกร้อง มี 8 ประเด็น คือ 1. ไม่มีบทบัญญัติ ที่บ่งบอกถึงครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และผู้บริหาร หรือ “พนักงานราชการ” 2. ไม่มีการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานสึกษา และ อปท. 3.ไม่มีบทบัญญัติให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการทุกระดับ 4. ไม่มีองค์กรวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาที่บริหารโดยสภาวิชาชีพ 5. ไม่มีการจัดระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีองค์คณะบุคคลในรูปคณะกรรมการบริหารในแต่ละระดับการศึกษา 6. บทบัญญัติการกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา คนไทยเป็นมนุษย์สมบูรณ์เทียบเท่าสากลไม่ชัดเจน 7. ไม่มีบทบัญญัติให้ตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ชัดเจนและครอบคลุมทุกระดับทุกประเภทการศึกษา 8. เอื้อประโยชน์หรือโอนสถานศึกษาของรัฐให้กับเอกชน
นายประจวบ นาก้อนทอง นายกสมาคมครูร้อยเอ็ด กล่าวอีกว่า พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับผ่าน ครม.อาจส่งผลเสียต่อคุณภาพการศึกษาในอนาคต และไม่มีหลักประกันให้กับผู้รับบริการที่เป็นลูกหลาน และจะเติบโตเป็นอนาคตของซาติ การศึกษาเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ความเข้าใจและประสบการณ์ที่รู้และเข้าใจผู้เรียน แล้วทำโดยไม่ได้หวังผลกำไร จากเหตุผลดังกล่าสมาพันธ์องค์กรวิชาชีพครูไทย (ส.อ.ท.) และองค์กรวิซาชีพทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์และบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ จึงคัดค้าน ไม่เห็น ด้วยกับ ร่าง พ ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ……(ฉบับรัฐบาล ตามหนังสือ สคก.ที่ 660/2564) และเรียกร้องให้รัฐบาล ได้มีคำสั่งนำร่างกฎหมายนี้ ออกจาการพิจารณาของรัฐสภา เพื่อที่จะนำมาแก้ไขปรับปรุงตามประเด็นข้อเรียกร้องคัดค้านทุกประเด็นแล้วนำเข้าพิจารณาในรัฐสภาอีกครั้ง เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายการศึกษาแห่งชาติในวาระต่อไป