สตูล-กลุ่มรักษ์บ้านพรุ จัดกิจกรรม คืนหอยโหละให้คลองลำโลนครั้งที่3
ภาพ-ข่าว:ชิดชนก พุดทอง
วันที่ 15 ตุลาคม ที่ลานภูผาสวรรค์ หมู่ที่ 5 ต.ควนกาหลง อ.ควนกาหลง จ.สตูล(บ้านพรุ) นายยงยุทธ ถนอมศรีมงคล เป็นประธานเปิดงาน คืนหอยโหละให้คลองลำโลนครั้งที่3 ตอน สายสำพันธ์ธาราสวรรค์และลำโลน กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นโดย กลุ่มรักษ์บ้านพรุ ซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านและเยาวชนในพื้นที่ ที่มีความรัก ความผูกพันในธรรมชาติที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ และมีภาคีย์เครือข่ายอนุรักษ์ธรรมชาติในจังหวัดสตูลอีกกว่า 20 กลุ่ม นักเรียน เยาวชน และหน่วยงานต่างๆที่เดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมโดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 200 คน
กิจกรรมดังกล่าวเริ่มตั้งแต่10โมงเช้า ประธานกล่าวเปิดงานเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย จึงออกเดินทางสู่น้ำตกธาราสวรรค์ ระยะทางประมาณ2กิโลเมตรเพื่อทำกิจกรรมปลูกกล้วยไม้ โดยจะให้ผู้เข้าร่วมงาน ได้นำกล้วยไม้ชนิดต่างๆไปผูกติดไว้กับต้นไม้บริเวณทางขึ้นน้ำตกในเขตวนอุทยานน้ำตกธาราสวรรค์ โดยได้รับสนับสนุนพันธ์ุกล้วยไม้จาก ศูนย์เพาะพันธ์ุกล้าไม้จังหวัดสตูลจำนวนกว่า200ต้น ซึ่งวัตถุประสงค์เพื่อขยายพันธ์กล้วยไม้ที่ตอนนี้หาดูได้ยากในพื้นที่ให้มีเพิ่มขึ้นและช่วยสร้างความงดงามให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวน้ำตกได้ชื่นชม เมื่อปลูกกล้วยไม้เสร็จ เดินกลับมายังบริเวณพื้นที่จัดงาน รับทานอาหารร่วมกัน ต่อจากนั้นก็เดินทางต่อสู่คลองลำโลนระยะทางประมาณ3กิโลเมตร นำพันธ์ุปลาไปปล่อยลงสู่คลองธรรมชาติ โดยมีพันธ์ุปลาบ้ากว่าสี่หมื่นตัวที่ได้รับการสนับสนุนมอบให้จากวิทยาลัยเกษตรและเท๕โนโลยีสตูล และศูนย์เพาะเลี้ยงพันธ์ุสัตว์น้ำของประมงจังหวัด เสร็จแล้วจึงเดินทางกลับมายังบริเวณงานเพื่อร่วมกิจกรรมสนุกๆบนเวทีกันต่อ
นายประจญ สมภู สมาชิกกลุ่มรักษ์บ้านพรุกล่าวว่า การจัดงานคืนหอยโหละให้คลองลำโลนในครั้งนี้ จัดขึ้นมาเป็นครั้งที่3แล้ว ทุกปีจะมีการปล่อยหอยโหละซึ่งเป็นหอยพื้นถิ่นที่ไกล้จะสูญพันธ์ุจะนำมาปล่อยด้วย แต่เนื่องจากปีนี้และก่อนจัดงานมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องมาตลอดทั้งเดือน จึงไม่สามารถหาหอยมาปล่อยได้ จึงได้นำพันธ์ุปลามาปล่อยแทนและเสริมด้วยการปลูกกล้วยไม้และต้นไม้อีกด้วย
สำหรับวัตถุประสงค์การจัดงานในครั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวบ้านประชาชนและเยาวชนในพื้นที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของป่าต้นน้ำ และปลูกให้ทุกคนได้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ที่ถือในพื้นที่แห่งนี้ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่อีกมาก เป็นการปลูกฝังเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้รักธรรมชาต เพื่อดำรงไว้ซึ่งความสมบูรณ์ของธรรมชาติสืบต่อไป