ระยอง-ภัยแล้งภาคอุตสาหกรรมลดการใช้น้ำเพื่อดึงน้ำทะเลมาใช้

ระยอง-ภัยแล้งภาคอุตสาหกรรมลดการใช้น้ำเพื่อดึงน้ำทะเลมาใช้

ภาพ/ข่าว:อัจฉรา วิเศษศรี

       สถานการณ์ ภัยแล้งในจังหวัดระยอง ที่พบว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหลักอาจไม่เพียงพอหล่อเลี้ยงทุกภาคส่วน ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องช่วยเหลือตัวเอง ด้วยการลดการใช้น้าและลงทุนใช้ระบบROด้วยการดึงน้ำทะเลมาใช้แม้ว่าต้นทุนจะสูงขึ้นก็ตาม
       วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 สภาพของความเหือดแห้ง ในอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ที่อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปัจจุบันลดต่ำลง จนสามารถขับรถลงไปถึงจุดศูนย์กลาง หรือสะดืออ่างทำให้ ซากหมู่บ้าน ซากวัด ที่เคยถูกน้ำท่วม โผล่ให้เห็นแล้วอย่างชัดเจน จึงน่าจะเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ได้แล้วว่า ปัญหาภัยแล้งได้เกิดขึ้นซ้ำรอยอีกครั้ง
     นายสุรพล สุทธจินดา ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ยอมรับว่า   ปัญหาภัยแล้ง ปีนี้ คาดว่า ในเดือนเมษายน คงจะเกิดขึ้น ดังนั้น ในภาคอุตสาหกรรมในนิคมฯต่างๆ ก็ไม่นิ่งนอนใจ ได้เตรียมพร้อมกันในระดับหนึ่ง  เช่นเริ่มมีการประชุมวอลลูม ทำวอลลูมกันว่าน้ำ น่าจะอยู่ได้ถึงประมาณไหนอย่างชัดเจน แล้วก็ส่วนหนึ่งที่สามารถทำได้ คือการเริ่มใช้ระบบ RO เข้ามา ระบบ RO ก็คือการที่จะดึงน้ำทะเลเข้ามาแล้วทำให้เป็นน้ำจืดเพื่อมาใช้ในระบบการผลิต ซึ่งจะต้อง ยอมรับในการเพิ่มค่าใช้จ่ายที่สูงอย่างมาก แต่ก็เป็นหนทางที่จะรอดจากปัญหาภัยแล้งไปให้ได้ และในส่วนของอ่างเก็บน้ำนั้น ในวันนี้ แม้ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะแก้ไขปัญหาด้วยการ ผันน้ำจาก วังโตนดเข้ามาบ้าง ก็มองว่า น้ำที่ได้อยู่นี้ ต้องนำไปช่วยภาคเกษตรก่อนเพราะเป็นประชนหมู่มาก เมื่อเดือดร้อน ต้องเร่งช่วยเหลือ  ส่วนภาคอุตสาหกรรม ในภาวะนี้ ต้องเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการแล้วที่จะต้องหาวิธีการช่วยเหลือตัวเอง ซึ่งบางแห่งก็ใช้วิธีที่จะ Shut down หรือ Turn around ตัวเอง ก็คือการเลื่อนการซ่อมประจำปีเข้ามาอยู่ในช่วงนี้ ทำให้โรงงานไม่ต้องใช้น้ำ อีกข้อหนึ่ง ก็คือลดกำลังผลิตลง อาจจะด้วยภาวะเศรษฐกิจก็ตาม หรือด้วยปัญหาที่จะเกิดในเรื่องของต้นทุนก็ตาม ก็ทำให้โรงงานบางแห่งลดกำลังการผลิต
      อย่างไรก็ตาม ปัญหาภัยแล้ง ปีนี้ จึงมองว่า ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะมองข้างหน้ายาวๆ ว่าอ่างเก็บน้ำทั้ง 4-5 บ่อนี้ เราสามารถสูบน้ำได้จริงๆ เท่าไหร่ ถ้าดูจากสภาพ จะเห็นว่า บางอ่างมันตื้นเขินหมดแล้ว น่าจะมีการลอกหรือเก็บให้ได้มากขึ้น ลอกอ่างน่าจะเป็นพื้นที่สีเขียวให้เกิดความชุ่มชื้น เพื่อที่จะอุ้มน้ำทัน แล้วก็เพื่อให้เกิดการอุ้มน้ำที่ดี น้ำก็จะระเหยน้อย อีกข้อหนึ่ง ก็คือการที่มีบ่อเติมน้ำ ซึ่งอาจจะใช้บนที่สูง ที่จะทำเป็นบ่อ เป็นน้ำอุ้มแบบธรรมชาติ ที่จะทำให้เกิดบ่อน้ำบนภูเขาต่างๆหรือที่สูงต่างๆเก็บเอาไว้ เหมือนในอดีตที่ยังมีป่าอุดมสมบูรณ์ น้ำก็จะเก็บอยู่ข้างบนแล้วถึงเวลาก็จะมีน้ำไหลลงมาตามฝายไล่มาเป็นชั้นๆ เพื่อให้เกษตรกรใช้น้ำกันได้ ถ้าเรามีอ่างหรือมีบ่อเล็กบ่อน้อย ตามเขา เวลาที่เราเปิดให้น้ำลงมาเพื่อเติมก็ทำได้ง่ายใช้แรงโน้มถ่วงอย่างเดียว น้ำก็จะเข้ามาเสริมได้ เป็นการรับรู้ ว่า น้ำต้นทุนที่ยังเก็บอยู่ยังมีที่จะเติมได้อีกได้เท่าไหร่ แต่ถ้าวันนี้เราไม่เห็นอะไรจะเติมลงอ่างเลย ก็เป็นเรื่องที่เราคาดยากว่าจะยุติการใช้น้ำกันแค่ไหนอย่างไร ประเด็นอยู่ที่ว่าในภาคประชาชน สาธารณูปโภคต่างๆเพียงพอกับชุมชนหรือไม่ ประธานสภาอุตฯ กล่าวทิ้งท้าย

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!