ปราจีนบุรี-สัมภาษณ์พิเศษ..! รองศาสตราจารย์ ดร.ธิติพัฒน์ หรือ “อ.อิฐ” เอี่ยมนิรันดร์
"ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชานิเทศศาสตร์บัณฑิต(มสธ.)"
ภาพ-ข่าว:มานิตย์ สนับบุญ/ณัฐนันท์(ดาว)
“มสธ.หลอมรวมผลิตนักสื่อสารแนวใหม่ นิเทศศาสตรบัณฑิต (การสื่อสารดิจิทัล)” … หลัง โลกเปลี่ยน – การสื่อสารเปลี่ยน เริ่มเรียนเทอมใหม่ เปิด 15 มี.ค. 66 นี้
กลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจ อีกมุมหนึ่งของ สำหรับ นักสื่อสารมวลชน หรือ ผู้สนใจการศึกษา-รักงานด้าน การสื่อสารยุคใหม่ ทั้ง เว็ปไซต์ ติ๊กต๊อก เฟสบุ๊ เพจ ทวตเตอร์ อินสตาแกรม หรือ สื่อหลักดั้งเดิม ทั้งวิทยุ วิทยุโทรทัสน์ สื่อสิ่งพิมพ์ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ เมื่อ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หรือ มสธ. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ที่ทุกคน ไม่ว่าอยู่ที่ไหน มีอาชีพอะไร ทุกเพศ-วัย ก็เล่าเรียนกันได้ ได้ทำการเปิดเรียน นิเทศศาสตรบัณฑิต (การสื่อสารดิจิทัล) ขึ้น เพื่อติดปีก ยุคการสื่อสารดิจิทัล นี้
รองศาสตราจารย์ ดร.ธิติพัฒน์ หรือ “อ.อิฐ” เอี่ยมนิรันดร์. ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชานิเทศศาสตร์บัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า นิเทศศาสตรบัณฑิต (การสื่อสารดิจิทัล) นี้ เป็นแนวคิดใหม่ทางการศึกษาสาขา นิเทศศาสตรบัณฑิต ที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม หลังจากที่โลกเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ซึ่งหลังลาภิวัฒน์เชื่อมเป็นหนึ่งเดียวทั่วโลก โลกของเราเปลี่ยนเป็นเทคโยโลยี โลกของสื่อได้เปลี่ยนสู่เป็น การหลอมรวมสื่อ ที่เมื่อก่อนเรามองว่าคนจบนิเทศศาสตร์นั้นจะแบบกว้าง แยกกันตามแต่ละสาขา อาทิ สื่อสิ่ง พิมพ์ วิยุกระจายเสียง วิทยุทีทัศน์ ประชาสัมพันธ์ โฆษณา แต่ตอนหลังมีการหลอมรวมสื่อ เพราะ ฉะนั้นผู้ที่จะศึกษา นิเทศศาสตร์บัณฑิตจึงต้องปรับตัว – มสธ. ได้ ปรับหลักสูตรเป็น นิเทศศาสตรบัณฑิต (การสื่อสารดิจิทัล) โดยมีคุณลักษณะสำคัญ ที่ผู้เรียนต้องสามารถทำได้คือ ข้อแรก คือ การคิดสร้างสรรค์ และ การบริหารสื่อเป็น ข้อสอง ที่ผู้ศึกษา (ผู้เรียน) ต้องรู้หมด คือ การสร้างนวัตกรรมการสื่อสาร เป็น และ ข้อสาม การประกอบกิจการ การสื่อสารเป็น
ปัจจุบัน ผู้เรียนต้องรู้หมด!ทำได้ ในการนำไปใช้สื่อสารต่าง ๆ ทั้ง การสื่อสารเพื่อสังคม ในแง่การสื่อสารเพื่อสุขภาพ การสื่อสารทางการศึกษา ,การสื่อสารเมือง , การกีฬา และ การสื่อสารเพื่อธุรกิจ คือการตลาด การค้า-ขาย คนรุ่นใหม่ คือ คนที่ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบผ่าน Social Network ตั้งแต่การค้นหาข้อ การดูหนัง ฟังเพลง ซื้อขายสินค้า หรือทำธุรกิจอื่นๆ เพื่อสื่อสารเรียนรู้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดเป็นช่องทางที่ตราสินค้าหันมาทำการตลาด และ ต้องการแรงงานจำนวนมหาศาลสำหรับคนที่พร้อมในธุรกิจดิจิทัล สามารถทำงานด้านการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารการตลาด ทั้งบริษัทในประเทศและต่างประเทศ กับตำแหน่งต่างๆ อาทิ Content Editor, Senior Creative Designer, Creative, Online Marketing Manager, Digital Online Communication, Digital Strategic Planner, Online Marketing Planner, Online Media Planner, Art Director, Account ExecutivelManager, Senior/Junior Infographic, Digital Sales Lead, Digital Marketing Executive/Manager หรือ เป็นเจ้าของธุรกิจตนเอง
ผู้เรียน ในที่นี้คือ นักสร้างสรรค์ทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์โฆษณา ประชาสัมพันธ์ สื่อชุมชน นวัตกรรมการสื่อสาร นักผลิตสื่อทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ สื่อชุมชน นวัตกรรมการสื่อสาร นักวางกลยุทธ์การสื่อสารทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ สื่อชุมชน นวัตกรรมการสื่อสาร นักนวัตกรรมการสื่อสารทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ สื่อชุมชน นวัตกรรมการสื่อสาร ผู้สื่อข่าวในสื่อต่าง ๆ ผู้จัดและผู้ผลิตรายการวิทยุ/โทรทัศน์ ผู้ประกาศ พิธีกร ผู้ดำเนินรายการ ผู้เขียนบท ผู้จัด ผู้สร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ นักสื่อสารมวลชน นักหนังสือพิมพ์ นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ นักการสื่อสาร ในภาครัฐ เอกชน และองค์กรไม่แสวงหากำไร ผู้ประกอบการธุรกิจสื่อดิจิทัล ผู้ผลิตงานวิดีโอ งานโฆษณา อิเวนต์ นักสร้างสรรค์เนื้อหาดิจิทัล นักวางแผนการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ นักออกแบบและจัดการข้อมูล นักสื่อสารองค์กร ผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมการสื่อสาร นักสื่อสารการตลาดดิจิทัล นักสื่อสารชุมชน ฯลฯ เพื่อ ผลิตบัณฑิตนิเทศศาสตร์ ในระบบการศึกษาทางไกล ให้มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์คอนเทนต์ และสตรีมมิ่งในยุคดิจิทัล , มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการวางกลยุทธ์และประกอบกิจการสื่อสารในยุคดิจิทัล , มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ ในการสร้างนวัตกรรมการสื่อสารในยุคดิจิทัล , มีจรรยาบรรณวิชาชีพและความรับผิดชอบต่อสังคมในยุคดิจิทัล
โดย หลักสูตรวิทยาการสารสนเทศบัณฑิต (นิเทศศาสตร์ดิจิทัล) มุ่งผลิตบัณฑิต ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ผสานความรู้ทางด้านนิเทศศาสตร์ดิจิทัล เพื่อคิดสร้างสรรค์ วางแผน เตรียมการผลิต ผลิต เผยแพร่ ประเมินผล และวิเคราะห์วิพากษ์ผลงานสื่อดิจิทัลทุกประเภทอย่างครบวงจร เป็นบัณฑิตที่พร้อมประกอบวิชาชีพนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีคุณธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ การเรียนที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ต้องมีการฝึก ระหว่างเรียน ประกอบด้วย ฝึกด้านที่ 1 คิดสร้างสรรค์ การผลิตสื่อ , ฝึกด้านที่ 2 การทำนวัตกรรมได้ , และ ฝึกด้านที่ 3 การนำไปใช้จำหน่าย – เผยแพร่ หรือ ประกอบกิจการการสื่อสาร และ ก่อนจบการศึกษา หรือ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ บูรณาการหลอมรวม คือ ประกอบกิจการการสื่อสารได้ การประกอบการสื่อสารนั้น ใช้คนเพียง 1 คน ไม่ต้องไปคิดเป็นรูปบริษัทอะไร – ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) อะไร แต่ ปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร โซเชี่ยลมีเดีย ประกอบกิจการ ระยะรับสมัคร เปิดรับสมัครเรียนกันทั้งปี โดยช่วงเทอมใหม่เปิด 15 มี.ค. 66 นี้ เทอมต่อไป ต้นปี” รองศาสตราจารย์ ดร.ธิติพัฒน์ หรือ “อ.อิฐ” กล่าว
และ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบัน นักสื่อสารมวลชน เราทำ-ผลิตสื่อเองได้ ไม่ต้องไปพึ่งพาองค์กรสื่อขนาดใหญ่ อาทิ TV.ช่อง 3, 5 ,7, 9 สื่อสิ่งพิมพ์ น.ส.พ.ไทยรัฐ, น.ส.พ. เดลินิวส์ ,น.ส.พ.บ้านเมือง ฯลฯหลายสื่อ ไม่ต้องพึ่งสื่อหลัก-สื่อใหญ่ สามารถออกแบบ – ผลิต –เผยแพร่ ประกอบกิจการสื่อสารเองได้ ทำแล้วสื่อสารได้เลย โดยการหลอมรวมสื่อ เอาสื่อนี้ ผลิตนำเสนอได้ ทั้งคลิป – สื่ออื่น ๆ ที่ผู้เรียนได้ฝึกทั้งหมด ในการสื่อสารดิจิทัลโดย แนวทางการประกอบอาชีพสำหรับผู้จบการศึกษา อาชีพการสื่อสาร ที่สามารถประกอบได้ ได้แก่ อาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับสื่อทุกแขนง ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียง และ สื่อดิจิทัล ทั้งในระดับก่อนการสร้างสรรค์สื่อ การสร้างสรรค์สื่อ และหลังการสร้างสรรค์สื่อ อาทิ ผู้สร้างสรรค์งาน (Creative) ผู้เขียน/สร้างสรรค์คำ (Copy Writer) ผู้วางแผนสื่อ (Media Planner) ผู้ประสานงานการตลาด (Marketing Coordinator) ผู้บริหารงานลูกค้า (Account Executive) นักเขียน (Author) ผู้เขียนบท (Script Writer) ผู้เรียบเรียงข่าว (Rewriter) ผู้สื่อข่าว (News Reporter) ผู้สื่อข่าวครบวงจรในคนเดียว (One man band journalist) ผู้ประกาศข่าว (News Announcer) ผู้ดูแลเว็บ (Web Master) ผู้พัฒนาเว็บ (Web Developer) ผู้ออกแบบกราฟิก (Graphic Designer) ช่างภาพเคลื่อนไหว (Camera Man) ช่างภาพนิ่ง (Photographer) นักประชาสัมพันธ์ (PR Man) เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (PR Officer) ผู้ควบคุมการผลิต (Producer) ผู้กำกับ (Director) พิธีกร (Moderator) ผู้ตัดต่องาน (Editor) ผู้ออกแบบการ์ตูนภาพเคลื่อนไหว (Animator) และผู้พัฒนาเกม (Game Developer)
โดย ระบบการเรียน ใช้ออนไลน์เป็นหลัก ตามระบบของสื่อคือเรียนออนไลน์เป็นหลัก สื่อ มสธ. ในส่วนสื่อสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นเลิศนั้น ยังคงใช้เช่นเดิม แต่ ปรับเป็นระบบ อีบุค หรือ หากผู้เรียนจะเลือกเป็นเอกสารก็ได้ระบบการสอบ ได้ทั้งออนไลน์ หรือ เผชิญหน้าก็ได้ มีแผนการเรียนให้เลือกเรียน ทั้ง เลือกอ่านเอง แล้วสอบครั้งเดียวปลายภาค , อ่านเอง แล้วสอนเสริมแล้วสอบปลายภาค , อ่านเอง สอยเสริม ทำกิจกรรมออนไลน์ การสอบกลางภาคบนออนไลน์ – ปลายภาค มีให้เลือก ค่าใช้จ่ายเหมือนเดิม ประมาณ 3,000 -5,000 บาท เวลาการจบหลักสูตร ระดับ ป.ตรี จริง ๆ ค่าใช้จ่ายถูกมาก เพียง 30,000 กว่าบาท เรียนไปอยู่ที่บ้าน ทำอะไรก็ได้ ทำงานไป หรือจะเรียนอีกที่หนึ่ง ก็ เรียนได้ หรือ อีกโปรแกรมหนึ่งนำ เอา ป.ตรี นำมาเรียนแบบ แบ่งให้เรียนเรียก ประกาศนียบัตร เก็บไว้เทียบสู่ ป.ตรีได้ อาทิ ประกาศนียบัตรกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดในยุคดิจิทัล, ประกาศนียบัตรการประกอบกิจการสื่อสารในยุคดิจิทัล, หลักสูตรประกาศนียบัตรนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ (พลเมืองดิจิทัล) และ ของเดิม ประกาศนียบัตรวิฃาชีพนิเทศศาสตร์ นั้น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อย่างเดียว นั้นก็ ยังไม่ทิ้ง ยังมีอยู่เหมือนเดิม ” รองศาสตราจารย์ ดร.ธิติพัฒน์ หรือ “อ.อิฐ” กล่าว ในที่สุด