นครนายก-ชาวบ้านดงละครจัดพิธีบวงสรวงไหว้พ่อปู่ 4 ประตูเมือง

นครนายก-ชาวบ้านดงละครจัดพิธีบวงสรวงไหว้พ่อปู่ 4 ประตูเมือง

ภาพ-ข่าว:สมบัติ เนินใหม่/รัชชานน์ เนินใหม่

           ชาวบ้านดงละครจัดพิธีบวงสรวงไหว้พ่อปู่ 4 ประตูเมืองเป็นที่เคารพนับถิอกันเป็นเวลานาน เป็นศูนย์รวมจิตใจในการดำรงชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข              เมื่อเวลา 08.30 น. ของวันที่ 8 มิถุนายน 2566 ที่ศาลพ่อปู่ 4 ประตูเมือง ตำบลดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก คุณมาเรียม ปนวัชรพิศาล ผู้นำชุมชน นางวันดี เผื่อนอุดม ผอ.ททท.สำนักงานนครนายกพร้อมคณะ นายราเมศ ลิ่มสกุล วัฒนธรรมจังหวัดนครนายก พร้อมคณะ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น พี่น้องชาวตำบลดงดงละคร และข้างเคียงพร้อมนักท่องเที่ยว ได้ร่วมกันจัดพิธีบวงสรวงไหว้พ่อปู่ 4 ประตูเมือง พร้อมเครื่องสังเวยกราบไหว้ โดยมีคุณธาดา โพธิสวัสดิ์ โหราสมุทรปราการ มาประกอบพิธีฯ โดยมีการแสดงฟ้อนรำต่อหน้าศาลพ่อปู่ 4 ประตู่เมือง
            ทั้งนี้เพื่อร่วมกันทำบุญและเลี้ยงเจ้าที่เจ้าทาง เนื่องจากศาลเจ้าพ่อ 4 ประตูเมืองแห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพี่น้องชาวดงละครที่มีความเชื่อถือ และเคารพกราบไหว้ ได้มีการบูรณะปรับปรุงให้มีสภาพที่แข็งแรง เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนแห่งนี้ ใครมีปัญหาเดือดร้อน ก็จะมากราบไหว้ขอพรแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี และทุกปีก็จะมีการทำบุญเพื่อความป็นสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัวโดยทั่วหน้ากัน บ้านดงละครในอดีตถูกเรียกว่า เมืองลับแล มีการขุดค้นพบซากเมืองเก่า บนพื้นที่ 3,000 ไร่
           ที่มาของคำว่า ดงละคร เชื่อว่าเพี้ยนมาจากคำว่า ดงนคร หมายถึง เมืองซึ่งอยู่กลางป่า แต่ตามตำนานก็เพราะสมัยก่อนชาวบ้านมักได้ยินเสียงเพลงมโหรี คล้ายมีการแสดงละคร นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมเมืองโบราณดงละครได้ ภายในมีคูน้ำ และคันดิน เป็นแนวกำแพงเมือง หรือสันคูเมือง รูปวงรีล้อมรอบ มีด้วยกัน 2 ชั้น ได้แก่ ชั้นนอก และชั้นใน ทางด้านตะวันออก เรียกว่า หนองกระพ้อ มีประตูทางเข้าเมือง และสระน้ำอยู่ทั้งสี่ทิศ นอกจากนั้น พื้นที่บริเวณนี้ ได้ขุดค้นพบโบราณวัตถุ อาทิ เศษภาชนะดินเผา ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน เบี้ยดินเผา และเศียรพระพุทธรูปกะไหล่ทอง จึงเชื่อว่าเป็นเมืองเก่าที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จนต่อมามีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่อาศัยจนถึงปัจจุบัน เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดนครนายก โดยการควบคุมดูแลของกรมศิลปากรและชุมชน เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานได้ร่วมกันสืบทอดต่อไป

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!