ประจวบคีรีขันธ์-ห้างมาร์เก็ต หัวหิน เอาใจคอทุเรียน จัด “เทศกาลทุเรียนป่าละอู” จากสวนโดยตรงสู่ผู้บริโภค

ประจวบคีรีขันธ์-ห้างมาร์เก็ต หัวหิน เอาใจคอทุเรียน จัด “เทศกาลทุเรียนป่าละอู” จากสวนโดยตรงสู่ผู้บริโภค

ภาพ-ข่าว:กูลเสวก เสวกวรรณกร

                 เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.66 นายอมรเทพ อ่วมมีเพียร ผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ทางศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ หัวหิน ร่วมกับ เกษตรอำเภอหัวหิน จัดงาน “เทศกาลทุเรียนป่าละอู ครั้งที่ 8 ” ขึ้น ระหว่างวันที่ 30 มิ.ย. – 4 ก.ค.66 ที่บริเวณลานด้านหน้าศูนย์การค้าฯ เพื่อส่งเสริมกลุ่มเกษตรชาวสวนทุเรียนป่าละอู และเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและสร้างรายได้จากผลผลิตที่มีคุณภาพ นอกจากนี้แล้วในการจัดงานยังเป็นช่องทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อ.หัวหิน อีกทางหนึ่งด้วย
                ภายในงานมีเกษตรกรชาวสวนจำนวน 10 สวน ได้แก่ 1.วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกทุเรียนป่าละอู 2.วิสาหกิจชุมชนรักษ์ทุเรียนป่าละอู (สวนศรีป่าละอู) 3.วิสาหกิจชุมชนรักษ์ทุเรียนป่าละอู (สวนวาสนา) 4.หนึ่ง ป่าละอู 5.สวนอลิศ ป่าละอู 6.สหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่จำกัด 7.สวนลุงเบิ้ม สมาชิกสหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่จำกัด 8.สวนป้า เทืองลุงพรม สมาชิกสหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด 9.สวนลุงลอย สมาชิกสหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด 10.บ้านไร่ฉวีวัน สมาชิกสหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด นำผลผลิตทุเรียนป่าละอูที่ผ่านการคัดสรรมาแล้วมาออกบูธจำหน่ายสู่ผู้บริโภคโดยตรงได้เลือกซื้อภายในงานราคาเดียวกันทุกร้านกิโลกรัมละ 270 บาท นอกจากนี้ภายในงานยังมีทุเรียนพันธุ์อื่นๆ อาทิ หมอนทอง ชะนี พวงมณี และผลไม้ตามฤดูกาลพื้นเมืองอื่นๆ ตามฤดูกาลอีกมากมาย อาทิ เงาะ มังคุด กล้วย ให้เลือกซื้ออีกมากมาย
                ญ่ อ.หัวหิน ครั้ง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ร.ร.อานันท์ ที่บ้านป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2509 จนกลายเป็นผลไม้ที่นิยมปลูกกันในพื้นที่ เมื่อนำมาปลูกในพื้นที่ป่าละอูที่มีความพิเศษบนพื้นที่สูง สภาพอากาศและความอุดมสมบูรณ์ของดิน อีกทั้งเป็นการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์จึงทำให้ได้ผลผลิตทุเรียนมีคุณภาพ มีรสหวาน เนื้อหนา เหนียว เนียนละเอียด สีเหลืองอ่อน เนื้อแห้งมีความมันมากกว่าความหวาน เม็ดลีบเล็ก กลิ่นไม่รุนแรง ได้รับการยอมรับจากผู้โปรดปรานทุเรียนว่ามีความพิเศษเป็นเอกลักษณ์ จนได้รับเครื่องหมายสินค้า GI (Geographical Indication) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 3 ก.ค.2557 แสดงถึงแหล่งเพาะปลูกที่เจาะจงแค่ที่ใดที่หนึ่ง เป็นสินค้าเด่นของชุมชนซึ่งได้ร่วมกันรักษาคุณภาพมาตรฐานชื่อเสียงและอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นนี้เอาไว้

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!