ตราด-ททท.เที่ยวแบบคาร์บอนด์ต่ำ นั่งรถรางเที่ยวชมเมือง ก่อนแวะนมัสการพระธาตุแช่แห้ง

ตราด-ททท.เที่ยวแบบคาร์บอนด์ต่ำ นั่งรถรางเที่ยวชมเมือง ก่อนแวะนมัสการพระธาตุแช่แห้ง

ภาพ-ข่าว:พูลศักดิ์ บุญลอย/ศิวพงศ์ บุญลอย

              อีกกิจกรรมหนึ่งของ ททท.ตราด ร่วม ททท.น่าน เปิด”Nan’s Goal Low Carbon” ชูน่านเมืองต้นแบบท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ นั่นก็คือการนั่งรถรางเที่ยวชมสถานที่สำคัญต่างๆของจังหวัดน่าน ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางเที่ยวชมภายในตัวเมืองน่านที่มีวัดวาอาราม และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ตอกย้ำการท่องเที่ยวคาร์บอนด์ต่ำ นั่งรถรางลดการใช้พลังงาน ส่วนพระธาตุแช่แห้ง เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองน่าน มาช้านาน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า พญาการเมือง เจ้านครน่าน โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย (กระดูกข้อมือข้างซ้าย) พ.ศ.1896 มาประดิษฐานไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับสรงน้ำที่ริมฝั่ง แม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก ที่บ้านห้วยไค้ และเสวยผลสมอแห้ง ซึ่งพระยามลราชนำมาถวาย แต่ผลสมอนั้นแห้งมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงนำผลสมอนั้นไปแช่น้ำก่อนเสวย และทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปที่นี่จะมีผู้นำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน จึงเรียกพระสถูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ว่า พระธาตุแช่แห้ง
             พระธาตุแช่แห้งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ย ๆ มีความสูง 55.5 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 22.5 เมตร มีสีเหลืองอร่าม เนื่องจากบุด้วย แผ่นทองเหลือง พระธาตุนี้ ลักษณะของเจดีย์ทรงระฆัง ชาวเมืองล้านนามีความเชื่อกัน ว่าการ ได้เดินทางไปสักการบูชากราบไหว้นมัสการองค์พระธาตุแซ่แห้ง หรือที่ชาวล้านนาจะเรียกกันว่า การชูธาตุ แล้วนั้นจะทำได้รับ อานิสงค์อย่างแรงกล้า ทำให้ชีวิตอยู่ดี มีสุข ปราศจากโรคภัยต่างๆ มาเบียดเบียน หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า
            นอกจากนี้ยังสามารถอธิษฐานของสิ่งพึงประสงค์ในชีวิตได้ด้วย นอกจากองค์พระธาตุแช่แห้งแล้ว ภายในวัดยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ควรแก่การไปสักการะและ เดินชมศิลปะอีก เช่น วิหารหลวง อยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุเป็นวิหารขนาดใหญ่ 6 ห้อง ห้องกลางมีขนาด 3 ห้อง และต่อชั้นลดออกไป ทางด้านหน้า 2 ห้องและด้านหลัง 1 ห้อง ภายในวิหารหลวงมีพระเจ้าล้านทองเป็นพระประธาน พุทธลักษณะปาง มารศรีวิชัยศิลปะล้านนา ประทับนั่งบนฐาน เป็นพระพุทธรูปองค์ที่สวยงามในจังหวัดน่านองค์หนึ่งและ เป็นพระพุทธรูป คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน พระพุทธรูปประทับยืน ประดิษฐานใน วิหารหลวงจำนวน 2 องค์ปัจจุบัน องค์จริงมอบให้พิพิธภัณฑ์ จ.น่านอีกองค์ ถูกโจรกรรมและยังไม่ได้กลับคืน องค์ที่เห็นจำลองจาก องค์จริงทำพิธีหล่อเททองเมื่อ ปี 2550หน้าบันประตูของวิหารหลวงเป็นปูนปั้นลายนาคเกี่ยวกระหวัดกัน 8 หัว เอกลักษณ์ของศิลปะ เมืองน่าน
              วิหารพระเจ้าทันใจ สร้างด้วยคอนกรีตหลังคาไม้มุงด้วย กระเบื้องดิน รูปแบบวิหารโถง ทรงจัตุรมุข กว้าง 11 เมตร ยาว 11เมตร และรอยพระพุทธบาท จำลอง ปัจจุบันบูณณะดูใหม่และงดงามยิ่งขึ้นเจดีย์ชเวดากอง จำลอง เจดีย์สีขาวศิลปะพม่าที่จำลองมาให้ชาวพุทธได้บูชาตั้งอยู่ทางซ้ายมือเมื่อเดินขึ้นมาถึงบริเวณลานด้านหน้าวัดพระธาตุวิหาร บันไดนาค บันไดนาค 2 ตัว คู่กันซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าวัดพระธาตุแช่แห้ง ซึ่งสามารถเห็นวิวทิวทัศน์ของเมืองน่านได้ในบริเวณกว้างทุกปีเมื่อถึงวันขึ้น 11-15 ค่ำ เดือน 6 เหนือ (เดือน 4 ใต้) หรือในราวเดือน มี.ค. จะมีประเพณีนมัสการพระธาตุแช่แห้ง ที่ชาวน่านเรียกว่า งานหกเป็งนมัสการพระธาตุแช่แห้ง

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!