อุตรดิตถ์-อ.พิชัย บำเพ็ญกุศลอุทิศ แด่ดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก

อุตรดิตถ์-อ.พิชัย บำเพ็ญกุศลอุทิศ แด่ดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก

ภาพ-ข่าว:พูลชัย ราชประสิทธิ์

                เมื่อเวลา 08.09 น. ของวันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566 ที่อนุสรณ์สถานบ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก หมู่ที่ 9 บ้านห้วยคา ต.ในเมือง อ. พิชัย จ.อุตรดิตถ์ นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผวจ.อุตรดิตถ์ เดินทางมาเป็นประธาน ในพิธี บำเพ็ญกุศลอุทิศ แด่ดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก วาระครบรอบ 4 ปี แห่งการอัญเชิญเข้าอัฐิพระยาพิชัยดาบหัก ประดิษฐ์ฐานในปรางค์
โดยมี นาย สุรศักดิ์วงศ์ตั้ง นายอำเภอพิชัย นายพยงค์ ยาเภา อดีต รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ นางมัฌชิมา วงศ์ตั้ง ที่ปรึกษา กิ่งกาชาดอำเภอพิชัย นายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์พ.ต.อ.โยธิน ยากองโค ผกก.สภ.พิชัยตลอดจนคณะผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านและข้าราชการคอยให้การต้อนรับ
                 ซึ่ง นายสมหวัง ผวจ.ได้กล่าวสดุดีเกียรติคุณพระยาพิชัยดาบหัก(จ้อย หรือ นายทองดี)ข้าพเจ้า พร้อมด้วย ข้าราชการประชาชน กลุ่มพลังมวลชนต่างๆ ตลอดจนผู้มาร่วมชุมนุมกันอยู่ ณ มงคลสถานแห่งนี้เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที และน้อมรำลึกถึงความดีความกล้าหาญ ของพระยาพิชัยดาบหัก ผู้ร่วมกอบกู้ชาติในฐานะทหารเอกราชองครักษ์คู่พระทัย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระยาพิชัยดาบหัก (จ้อย หรือ ทองดีฟันขาว) จากลูกชาวนาแห่งบ้านห้วยคา เมืองพิชัย สู่ความเป็นทหารเอกคู่พระทัย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชผู้ทรงกอบกู้เอกราชให้ชาติไทยคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ปีพุทธศักราช 2310 คุณความดีของพระยาพิชัยดาบหักนับเป็นเกียรติประวัติที่ลูกหลานชาวพิชัยและชาวอุตรดิตถ์ ล้วนภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งนอกจากความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแล้ว คุณลักษณะ อันโดดเด่นที่อนุชนรุ่นหลังควรน้อมรำลึกและถือเป็นแบบอย่าง ในการนำมาปฏิบัติคือ ความกตัญญูกตเวที ความวิริยะอุตสาหะและความกล้าหาญ
                 ด้วยคุณลักษณะดังกล่าวจากเด็กชายจ้อยผู้ชื่นชอบในการชกมวยจึงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ที่หลวงพิชัยอาสา เจ้าหมื่นไวยวรนาถและพระยาสีหราชเดโชตามลำดับ ตำแหน่งท้ายที่กลับมาเป็นใหญ่ในแผ่นดินเกิดในฐานะเจ้าเมืองพิชัย ดังความบางตอนที่ปรากฏในราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาสมัยกรุงธนบุรีพุทธศักราช 2310 ถึง 2324 ว่า “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปราบปรามเจ้าฝางยึดได้เมืองพิษณุโลก สวางคบุรี จัดการบ้านเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว เสด็จกลับมายังเมืองพิษณุโลกกระทำการสมโภชพระมหาธาตุ พระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์สามวัน แล้วปูนบำเหน็จผู้กระทำความชอบ โดยพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตั้งพระยาสีหราชเโช (จ้อยหรือนายทองดี)พระยาพิชัยตำแหน่งผู้สำเร็จราชการครองเมืองพิชัย ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ 9,000 คน มีอำนาจประหารชีวิตผู้มีความผิด พระราชทานเครื่องยศเสมอด้วยเจ้าพระยาสุรสีห์
                  ต่อมาพุทธศักราช 2315 สู้รบกับพม่าที่ยกมาแต่เมืองลับแล หวังจะตีหักเอาเมืองพิชัยให้ได้พระยาพิชัยป้องกันเมืองจนพม่าแตกพ่ายกลับไป พุทธศักราช 2316 โปสุพลาแม่ทัพพม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัยอีกครั้ง ด้วยความแค้นที่แตกพ่ายไปอย่างยับเยินเมื่อปีกลายพระยาพิชัยยกไพร่พลออกไปต่อรบ แต่กลางทางสองมือถือดาบมั่นสู้รบกับพม่าแบบตะลุมบอน
จนดาบหักไปข้างหนึ่ง ณ บริเวณทุ่งวัดเอกา เมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรมเจ็ดค่ำ ปีมะเส็ง เบญจศก กองทัพพม่าแตกพ่ายหนีไปอีกครั้งหนึ่ง จึงลือชื่อปรากฎเรียกนามว่า “พระยาพิชัยดาบหัก”วีรกรรมความดีของพระยาพิชัยดาบหักมากมาย อเนกอนันต์ยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือนพระยาพิชัยดาบหักจึงเป็นวีรบุรุษของชาติที่จารึกอยู่ในความทรงจำของคนพิชัยและคนไทย
ชั่วกัลปาวสาน
                  วาระอันเป็นมงคลครบรอบ 4 ปี ในพิธีอัญเชิญเถ้าอัฐิพระยาพิชัยดาบหักจากวัดราชคฤหัวรวิหาร แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรีกรุงเทพมหานคร ขึ้นประดิษฐาน ณ ปรางค์ย่อมุมไม้ยี่สิบ บ้านห้วยคา บ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหักตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ตลอดจนถึงพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศแต่ดวงวิญญาณพระยาพิชัยตาบหักและเหล่าทหารกล้าทุกนาย ตลอดจนถึงบรรพชนผู้ล่วงลับในที่นี่ทุกท่าน

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!