ตาก-“พระสงฆ์”ร่วมทำเตาเผาชีวมวล กำจัดขยะ ส่งเสริมคัดแยกขยะ

ตาก-“พระสงฆ์”ร่วมทำเตาเผาชีวมวล กำจัดขยะ ส่งเสริมคัดแยกขยะ

ภาพ-ข่าว:ชวลิต วิกุลชัยกิจ

             นายธันย์ปวัฒน์ ภูริวัฒนเมธา นายอำเภออุ้มผางกล่าวว่าวันนี้มาร่วม ทำเตาเผาขยะ วัดป่าพุทธรัตนอุทยาน บ้านเดลอ ต.หนองหลวง อ.อุ้มผาง จ.ตากเตาแห่งนี้เป็นเตาที่ 9 ที่เริ่มทำเตาเผาขยะในพื้นที่อำเภออุ้มผาง เตาเผาขยะ เพื่อแก้ไขปัญหา ขยะในครัวเรือน โดยนำขยะมาคัดแยกก่อน ขยะที่ใช้ได้ก็ไปจำหน่าย ส่วนขยะที่ใช้ไม่ได้ก็นำมาเผาสำหรับการคัดแยกขยะ อำเภออุ้มผางสร้างการมีส่วนร่วมกับพี่น้องประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ คัดแยกขยะขยะที่รีไซเคิล ใช้ได้ เราก็นำมาใช้ประโยชน์และสิ่งไหนที่ใช้ไม่ได้ เราก็มาเผาในเตาเผาขยะ แนวคิดต่อยอด ให้ทุกหมู่บ้านมีเตาเผาขยะในหมู่บ้านอย่างน้อย หมู่บ้านละ 1 เตา โดยได้ประชุมปรึกษาหารือ แจ้งแนวคิด แนว ปฏิบัติ ให้กับ องค์กรปกครอง ท้องถิ่น ให้รับทราบเพื่อลดปัญหาเรื่อง ขยะ ให้น้อยลง
               นายธีระพันธ์ ยางดี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หนองหลวงอยู่บ้านเลขที่ 212 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองหลวง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก กล่าวว่า บ้านหนองหลวง 186 ครัวเรือน เดิมที่ ขยะ ที่ใช้ไม่ได้ ก็ใส่ถังขยะโดยเทศบาลตำบลหนองหลวงนำไปทิ้ง ขยะที่ใช้ประโยชน์และมีประโยชน์ จะนำมามอบให้กับวัดหนองหลวง เป็นกองทุนขยะเพชรพลอย โดยมีคณะกรรมการกองทุนมีพระครูอาทรกิจวิธานเจ้าอาวาสวัดหนองหลวงเป็นผู้ริเริ่มกองทุนขยะเพชรพลอย ของหมู่ของหมู่บ้านโดยรวบรวมทุกวันที่ 28 ของเดือนรายได้ขยะที่มีประโยชน์และใช้ได้ขายให้กับพ่อค้า
และนำเงินเข้ากองทุน เพื่อใช้ประโยชน์ ไว้ใจช่วยเหลือชาวบ้านเช่น เยี่ยมคนแก่ คนป่วย ติดเตียง หรือมีคนตาย นำเงินดังกล่าวไปช่วยในงาน
               พระณัฐพงษ์ ถาวโร เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธรัตนอุทยาน กล่าว่า สร้างเตาชีวมวลมา 8 เตาแล้ว ร่วมสร้าง 7 เตา บ้านกุยเลอตออนามัยบ้านนุโพอนุรักษ์เดลอคี ปากทางทีลอซูที่ชาย แดน น้ำตกปิตุโกร2แห่ง วัดหนองหลวง บ้านเซปะหละและที่วัดป่าพุทธรัตนอุทยานเตาเผาชีวมวลเตาดังกล่าวได้ความรู้มาจาก อจ.อาจารย์เป้ อ.พาน จ.เชียงราย โดยต้นแบบของเตา ได้มาจากคุณโกศล แสงทอง ประธานเครือข่ายรวมใจตามรอยพ่อบ้านป่าเด็ง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรีต้นทุน ซื้อวัสดุอุปกรณ์ประมาณ 10,000 บาทส่วนค่าแรงร่วมด้วยช่วยกันมีพระ และ ชาวบ้านช่วยกันสร้าง เพื่อไว้ใช้ในวัด แก้ไขปัญหาขยะล้นสามารถกำจัดขยะตั้งแต่ต้นทางไม่ให้สารพิษที่มีในขยะลงสู่พื้นดินที่ทำการเกษตร ลงสู่แหล่งน้ำ
               พระครูอาทรกิจวิธาน เจ้าอาวาสวัดหนองหลวง เล่าว่า เดิมทีชาวบ้านและวัดหนองหลวงได้ร่วมกันตั้งกองทุนขยะเพชรพลอย ของหมู่ของหมู่บ้านโดยรวบรวมทุกวันที่ 28 ของเดือนรายได้ขยะที่มีประโยชน์ การเริ่มต้นของชาวอำเภออุ้มผาง ทั้ง ภาครัฐภาคเอกชน ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน พี่น้องประชาชน และพระ ที่มีแนวคิดร่วมกัน แก้ไขปัญหาขยะล้น
ตามแนวคิดการจัดขยะต้องไปให้สุดทาง ไม่ใช่แค่เพียง รณรงค์ ไม่ใช่แค่เพียงมาสอนให้คัดแยก ต้องมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน มาช่วยกันสร้างความตระหนักรู้ไม่แค่เพียงกำจัดขยะ ต้องสามารถนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อม การบริหารจัดการคัดแยก ควรเริ่มตั้งแต่ต้นทาง แล้วนำเทคโนโลยี มาทำให้ขยะเป็นประโยชน์ หากเราสามารถคัดแยกอย่างถูกต้อง ที่สำคัญเริ่มที่ตัวเราในการพึ่งตนเอง พร้อมกับรับความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาคการศึกษา ภาครัฐ และเอกชน

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!