นครปฐม-จัดโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5”
ภาพ-ข่าว:อริย์ธัช พรอัศวโยธิน
วันอังคาร ที่ 5 กันยายน 2566 ที่ วัดบางช้างใต้ ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พระพรหมเสนาบดี กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค 7 เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา รองประธานกรรมการอำนวยการ เป็นองค์ประธานตรวจเยี่ยมและผลการดำเนินงานโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พร้อมด้วย พระธรรมวชิรานุวัตร เจ้าคณะภาค 14 เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง พระอารามหลวง ประธานคณะกรรมการบริหารกลาง โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” พระเถรานุเถระและคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หมู่บ้านรักษาศีล 5 เข้าตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงาน โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 บ้านหัวอ่าว ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
โดยมี นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม กล่าวถวายความต้อนรับ ร่วมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ กอ.รมน.จังหวัดนครปฐม นายอำเภอสามพราน ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เข้าร่วมพิธี จังหวัดนครปฐม ส่วนราชการทุกส่วนราชการ ได้ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีความตระหนักและปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี น้อมนำหลักศีล 5มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิต การบูรณาการกิจการคณะสงฆ์ และการพัฒนาหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการดำรงชีวิต โดยมีชุมชน คือ หมู่บ้าน วัด และราชการ ร่วมกันขับเคลื่อนไปด้วยกัน โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เป็นโครงการที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิด ความปรองดองสมานฉันท์ขึ้นในสังคม ศีล 5 เป็นหลักธรรมข้อปฏิบัติพื้นฐานของการดำรงชีวิต ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความสามัคคีเกิดขึ้นในชุมชน การส่งเสริมให้ผู้คนรักษาศีล 5 นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความสมานฉันท์แล้ว ยังจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนสืบไป
มีนายนฤนาถ น้อยพิทักษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง กล่าวถวายรายงาน ซึ่งหมู่บ้าน “หัวอ่าว” หมู่ที่ 5 เดิมหมู่บ้านนี้เป็นคลองมีน้ำไหลผ่าน และมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มาก โดยเฉพาะช้างป่โขลงใหญ่จะเดินลุยป่า เพื่อมาหาอาหารกินในพื้นที่ จากการที่โขลงช้างได้เหยบย่ำดินเป็นเวลานาน จึงทำให้พื้นที่บริเวณนี้เป็นเริ้งกว้างใหญ่ ชาวบ้านจึงเรียกจนติด ปากว่า “บ้านหัวอ่าว”ตำบลบางช้าง มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ดินเป็นดินดำลุ่มแม่น้ำมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูก มีลำคลอง 4สาย คือ คลองจินดา คลองบางช้าง คลองตาเพ็ญและคลองยายเหรียญ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่รับน้ำจากแม่น้ำท่าจีน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ เกษตรกรรม ประชากร ในหมู่บ้านหัวอ่าว ส่วนใหญ่ประมาณ 150 ครัวเรือน ทำการเกษตรสวนผลไม้ เช่น สวนฝรั่ง ชมพู่ มะพร้าวน้ำหอม มะม่วง และทำนา อาชีพรอง รับจ้างทั่วไป ค้าขายรับราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หมู่บ้านหัวอ่าวมีพื้นที่ 975 ไร่ ส่วนมากเป็นพื้นที่สวน มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และร้านค้า 3 แห่ง ผลผลิตของชุมชน ได้แก่ สินค้าเกษตรอินทรืย์ ฝรั่ง มะม่วง กลัวย มะพร้าวน้ำหอม ฟักข้าว มะนาว ข้าวไรซ์เบอร์รี่ สบู่สมุนไพรจากฟักข้าว ขนม ไทยโบราณ ไม้กวาดก้านมะพร้าว กิ่งพันธุ์ต้นไม้ และปุยอินทรีย์
ด้านการศาสนา มีพระครูวินัยธรสรรค์ กิตติวัตโต เจ้าอาวาสวัดบางช้างใต้ และประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลบางช้าง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ชุมชนบ้านหัวอ่าวและพื้นที่ใกล้เคียง ได้มาปฏิบัติธรรม ถือศีลภาวนา เนื่องในวันธรรมสวนะ วันสำคัญทางพุทธศาสนา วันสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ และวันสำคัญอื่น ๆ เช่น
กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี เป็นต้น