สตูล-ราคายางตก เกษตรกร..โค่นยาง7 ไร่ ปลูกส้มโชกุนและฝรั่งหงเป่าสือ
ภาพ-ข่าว:ชิดชนก พุดทอง
จากกรณีราคายางตกต่ำอย่างต่อเนื่อง บวกกับทุกปีในพื้นที่จ.สตูลจะมีฝนตกหนักตลอดปี ทำให้เกษตรกรที่มีอาชีพสวนอย่างพาราได้รับความเดือดร้อน จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอาชีพ
นางสาวพรพรรณ รอดอุบล และสามี เกษตรกรในพื้นที่หมู่ที่7ต.นิคมพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล เป็นอีกหนึ่งครอบครัวที่ได้รีบผลกระทบดังกล่าว จึงตัดสินใจโค่นยางพาราในเนื้อที่7ไร่เพื่อปลูกพืชชนิดอื่น โดยเลือกที่จะปลูกส้มโชกุน เนื่องจากในพื้นที่ยังไม่มีคนปลูก จึงตัดสินใจปลูกส้มโชกุน200ต้นในเนื้อที่7ไร่ คาดว่าน่าจะสร้างรายได้ให้ครอบครัวได้ดีกว่าการทำสวนยาง แต่เนื่องจากส้มโชกุนระยะการปลูกกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ต้องใช้เวลาอย่างน้อยสองปีครึ่ง และเนื่องจากเห็นว่าระยะห่างของต้นส้มโชกุนในแต่ละต้นมีระยะห่างพอ จึงตัดสินใจปลูกฝรั่งสายพันธุ์หงเป่าสื่อและฝรั่งกิมจูเสริมในระหว่างแถวส้มโชกุน โดยใช้ระยะเวลาแค่6เดือนก็สามรารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
นางสาวพรพรรณ กล่าวว่าสาเหตุที่ตนเองต้องโค่นยางพาราเนื่องจากราคาตกต่ำและฝนตกชุก ทำให้ในแต่ละปีกรีดยางได้แค่ไม่กี่วัน ตนเองจึงคิดว่าจะปลูกพืชอะไรดีที่สามารถรับผลได้เร็วขึ้น จึงเลือกปลูกส้มโช กุนแต่เนื่องจากกว่าจะเก็บผลผลิตได้ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี จึงเลือกปลูกฝรั่งหงเปาสือและฝรั่งกิมจูเสริมระหว่างส้ม เนื่องจากฝรั่งสามารถเก็บผลผลิตได้เร็วแค่ระยะเวลา 6 เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตได้ และเนื่องจากในพื้นที่ยังไม่มีคนปลูกโดยปลูกฝรั่งทั้ง 2 สายพันธุ์ลงแซมสวนส้มเป็นจำนวน 200 ต้น ตอนนี้มีอายุ1ปี 6 เดือนสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างต่อเนื่องประมาณสัปดาห์ละประมาณ 100 กิโลกรัม โดยจะมีแม่ค้ามารับและจะขายเองทางออนไลน์ ราคาฝรั่งหงเป่าสือจะอยู่ที่กิโลกรัมละ70บาท ส่วนกิมจูกิโลกรัมละ 40 บาทเฉลี่ยรายได้จากการขายฝรั่งอยู่ที่เดือนละประมาณ 20,000 บาท
นอกจากฝรั่งและส้มโชกุนแล้ว ในพื้นที่7ไร่ยังมีจำปาดะ ส้มโอ และพริกที่สร้างรายได้ให้ตน โดยจำปาดะก็ให้ผลิตเก็บขายได้แล้ว เช่นเดียวกับพริกที่ปลูกไว้1000ต้นก็เริ่มให้ผลผลิตเก็บขายได้เช่นเดียวกัน โดยหากคิดรายได้รวมจากการปลูกพืชผสมผสานในที่ดิน7ไร่ถือว่ารายได้ดีกว่าการปลูกยางหลายเท่าตัว
นางสาวพรพรรณ กล่าวต่อว่า การทำเกษตรอย่าทำแค่พืชเชิงเดียว เพราะการปลูกพืชเชิงเดี่ยวจะให้ผลผลิตแค่อย่างเดียว แต่หากเราปลูกพืชผสมผสานจะสามารถสร้างรายได้หลายทางและได้รายได้ตลอดทั้งปี
ด้านนายภิภพ สิทธิยาสกุล เกษตรอำเภอมะนังกล่าวว่า ในเรื่องของการปรับเปลี่ยนชนิดพืชเพื่อความอยู่รอดของเกษตรกร การปลูกพืชผสมผสานสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรดีขึ้น เมื่อมีรายได้ดีความมั่นคงและความเป็นอยู่ก็จะดีขึ้นตามมา เกษตรอำเภอมะนังพร้อมดูแลและสนับสนุนเกษตรกรทุกคนที่จะปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อรายได้ที่ยังยืนของเกษตรกรต่อไป