ประจวบคีรีขันธ์-“บิ๊กแดง”เผยไม้จันทนาเป็นไม้สมุนไพรแต่หวงห้ามพิเศษโทษสูงสุดคุก 20 ปี ปรับ 2 ล้านบาท

ประจวบคีรีขันธ์-“บิ๊กแดง”เผยไม้จันทนาเป็นไม้สมุนไพรแต่หวงห้ามพิเศษโทษสูงสุดคุก 20 ปี ปรับ 2 ล้านบาท

ภาพ/ข่าว:เอกภพ วงษ์ประเสริฐ

              วันที่ 19 มกราคม 67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ปราณบุรี ร่วมกับทหารจากศูนย์การทหารราบค่ายธนะรัชต์ปราณบุรี ทหารหน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก กองกำลังสุรสีห์ เจ้าหน้าที่ กอ.รมน. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และตำรวจ ตชด.145 ร่วมกันจับกุมขบวนการลักลอบตัดแปรรูปไม้หวงห้ามในพื้นที่ หมู่ 5 บ้านกระทุ่น ตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 67 ที่ผ่านมานั้น โดยในสำนวนมีการระบุชื่อประเภทไม้ว่าเป็นไม้จันทนาตามที่ผู้สื่อข่าวได้เคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น
              คืบหน้าล่าสุดจากกรณีนี้ ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเข้าพบกับนายนิทัศน์ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด หรือบิ๊กแดง เพื่อขอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลักษณะและประเภทของไม้จันทนากับไม้จันทร์หอม มีความแตกต่างอย่างไร รวมถึงวิเคราะห์เปรียบเทียบกับภาพไม้ของกลางที่ตำรวจ สภ.ปราณบุรี ยึดมาได้ โดย ผอ.แดง ระบุว่า ไม้จันทน์ มีหลายประเภท หลายชื่อ เช่น จันทร์ชะมด จันทน์ป่า จันทร์หอม จันทนาหรือจันทน์ขาว ไม้จำพวกนี้เป็นไม้หวงห้ามพิเศษประเภท ข. ซึ่งเป็นไม้สำคัญหายากที่ต้องสงวนไว้ ซึ่งมีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้ปี พ.ศ.2530 ห้ามไม่ให้ตัดหรือทำลาย ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1-20 ปี ปรับ 5 หมื่น ถึง 2 ล้านบาท
             ซึ่งดูจากตามข่าวที่มีการระบุว่าไม้ของกลางเป็นไม้จันทนา ซึ่งไม้จันทนาจะมีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 4 เมตร จะไม่ใช่ไม้ใหญ่ เป็นพืชไม้ใช้ประโยชน์ไปทางด้านสมุนไพร มีสรรพคุณหลายอย่าง เช่น บำรุงเลือดลม บำรุงหัวใจ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ และลักษณะไม้จันทนาจะต่างกับไม้จันทน์หอมตรงที่แก่นของไม้จันทนาจะไม่แข็งไม่หอมเหมือนไม้จันทร์หอม และลำต้นจะไม่ใหญ่ พบได้โดยทั่วไปตามป่าดงดิบแรง จัดเป็นไม้หวงห้ามพิเศษ ประเภท ข. อยู่ในลำดับที่ 6 ซึ่งถ้าดูจากภาพไม้ของกลางที่ปรากฏตามในภาพข่าวทั้งไม้ท่อน และ ไม้แผ่น ลักษณะเหมือนจะเป็นไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งจะไม่เหมือนกับไม้จันทนาที่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก และไม้จันทน์หอมส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่ในป่ากุยบุรี ซึ่งจะใช้เฉพาะในงานพระราชพิธีสำคัญ และต้องยืนต้นตายจึงจะมีกลิ่นหอม โดยไม้หวงห้ามถ้าชาวบ้านปลูกเองในที่ดินกรรมสิทธิ์ถูกต้องของตนเอง เช่นโฉนด หรือ น.ส.3 ก็จะไม่ใช่ไม้หวงห้าม และไม่มีความผิดตามกฎหมาย พรบ.ป่าไม้ พ.ศ.2530 เนื่องจากได้มีการปลดล็อคออกจาก พรบ.ป่าไม้ ตามมาตรา 7 แล้ว ซึ่งชาวบ้านสามารถปลูกเอง และสามารถตัดขายได้ จากกรณีนี้เจ้าหน้าที่อุทยานและป่าไม้ ควรจะต้องไปพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นไม้อะไร และต้นตอมาจากไหน จึงจะสามารถเอาผิดตาม พรบ.ป่าไม้ได้ นายนิทัศน์ กล่าว..
             จากนั้นผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปดูลักษณะของต้นไม้จันทร์หอมต้นจริงที่ปลูกไว้ภายในวนอุทยานสวนป่า โดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ระบุว่า ไม้จันทร์หอม จะเป็นไม้ขนาดใหญ่ประเภทโตช้าลำต้นสูง แก่นของเนื้อไม้จะมีลักษณะแข็งและเป็นสีแดง วงรอบของเนื้อไม้จะถี่ แต่ละวงจะบ่งบอกถึงอายุของต้นไม้นั้นๆว่ามีอายุกี่ปี และลักษณะของใบไม้จะเป็นรูปทรงรี ปลายใบเรียว ขอบใบจะมีหยักแฉกแบบฟันเลื่อย ซึ่งประเภทไม้พันธุ์นี้จะใช้เฉพาะในงานพระราชพิธีของในหลวง ร.9 ถ้าดูจากภาพข่าวหากเป็นไม้จันทร์หอมจริง ก็น่าจะมีอายุเกินกว่า 100 ปี ซึ่งการดูจากภาพไม่สามารถระบุได้ นอกจากจะได้เห็นของจริง โดยส่วนใหญ่ไม้จันทร์หอมจะขึ้นเป็นกลุ่มในป่าอุทยานกุยบุรี ซึ่งต้นไม้จันทร์หอมที่ให้ผู้สื่อข่าวดูต้นนี้มีอายุหลาย 10 ปี ซึ่งทางอุทยานได้ปลูกไว้นานแล้ว

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!