ลำปาง-“ค่ายวิชาการเหมืองแร่” ครั้งที่ 17 นำนักศึกษา 4 สถาบัน เรียนรู้เชิงปฏิบัติการทำงาน กฟผ. แม่มาะ

ลำปาง-“ค่ายวิชาการเหมืองแร่” ครั้งที่ 17 นำนักศึกษา 4 สถาบัน เรียนรู้เชิงปฏิบัติการทำงาน กฟผ. แม่มาะ

ภาพ-ข่าว:พรปวีณ์ สุรินทร์มงคล

4 สถาบันการศึกษา ร่วมกิจกรรม “ค่ายวิชาการเหมืองแร่” สัมผัสกระบวนการทำงาน กฟผ. แม่เมาะ พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ ต่อยอดเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายด้านเหมืองแรในอนาคต

           นักศึกษาจาก 4 สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านเหมืองแร่ ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเทศโนโลยีราชมงคลล้านนา สถาบันการศึกษาละ 6 คน เข้าร่วมกิจกรรมค่ายวิชาการเหมืองแร่ ครั้งที่ 17 (Mining Camp) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-26 มกราคม 2567 ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่มาะ
           โดยมี นายเกษม มงคลเกียรดิชัย ผู้อำนวยการฝ้ายวางแผนและบริหารเหมืองแม่มาะ (อบม.) ทำการแทน ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่มาะ (ขชม) เป็นประธานเปิดกิจกรรม โดยตลอดทั้ง 5 วัน นิสิตและนักศึกษาจะได้เรียนรู้เชิงปฏิบัติการงานปฏิบัติการการทำงานของเหมืองแม่มาะและโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทั้งการขุดขน ระบบการลำเลียงถ่านและการจัดการถ่านในลานกอง งานระเบิดและเหมืองหินปูน การวางแผนการทำเหมือง งนธรณีวิทยา งานวิศวกรรมธรณี โครงการแม่มาะเมืองน่อยู่ (Mae Moh Smart City) รวมถึงการทำงานของโรงไฟฟ้พลังความร้อนเครื่องที่ 14 (MM-T14)
            นายเกษม มงคลเกียรติชัย ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและบริหารเหมืองแม่เมาะ (อบม.) ทำการแทน ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ (ซชม.) เปิดเผยว่า ค่ายวิชาการเหมืองแร่ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2549 จากการศึกษาดูงานของคณะอาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนเกิดแนวคิดเห็นควรร่วมกันจัดกิจกรรมในรูปแบบค่ายวิซาการขึ้นและได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
             จนกระทั่งปี 2552 นำมาสู่การลงนามบันทึกความเข้าใจด้านวิชาการเหมืองแร่ร่วมกันเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ระหว่าง กฟผ แม่เมาะ กับ 3 สถาบันการศึกษา ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระยะความร่วมมือ 5 ปี และได้ขยายความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ บันทึกความร่วมมือฉบับลำสุดได้ลงนามไปเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 โดยมี มหาวิทยาลัย ราชมงคลล้านนา เข้าร่วมด้วย นับเป็น 4 มหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่มีการเรียนการสอนด้านเหมืองแร่
              โดยค่ายวิชาการเหมืองแร่ เป็นหนึ่งในกิจกรรมตามบันทีกความเข้าใจดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเสริมทักษะประสบการณ์จากการได้สัมผัสกระบวนการทำเหมืองและแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติซึ่งเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ของนักศึกษาระหว่างสถาบันการศึกษาให้แน่นแฟันยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ยังเป็นการกระชับความสัมพันรุ่นพี่และวุ่นน้องระหว่างผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ.กับคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ฝ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันเป็นโครงข่ายงานด้านเหมืองแร่ในอนาคตอีกด้วย

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!