ลพบุรี-เทศกาลตรุษจีน..หัวไชเท้าผักมงคลขายดี..เกษตรกรร่ำรวย
ภาพ-ข่าว:กฤษณ์ สนใจ
เทศกาลตรุษจีน เกษตรกรลพบุรี รวมกลุ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตหัวไชเท้า ส่งสู่ตลาด เฉลี่ย วันละ 50-70 ตัน ต่อวัน ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด สร้างรายได้เป็นอย่างดี ทำให้ต้องเพิ่มแรงงานเร่งเก็บผลผลิตให้ทันต่อความต้องการของตลาด
สำหรับเทศกาลตรุษจีน นอกจากเนื้อสัตว์แล้วชาวจีน ยังมีพิธีกินผักมงคลในช่วง เทศกาลตรุษจีนวันตรุษจีนอีกด้วย ซึ่งพิธีนี้จะเรียกว่า “ฉิกเอี๊ยไฉ่” หรือ เทศกาลกินผักมงคลทั้ง 7 อย่าง เพื่อเสริมความเฮงเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้ตัวเอง ซึ่ง หัวไชเท้า ชาวจีน ถือว่าเป็น อีกหนึ่งผักมงคล ต้อนรับวันตรุษจีน เพราะ “ไชเท้า” ซึ่งในภาษาจีน “ไฉ่” หมายถึง โชคลาภ และเท้าหมายถึง หัวหน้า, เจ้านาย ส่วนสีขาวของไชเท้า บ่งบอกได้ถึงความดีความบริสุทธ์นั่นเอง เพราะฉะนั้น ไชเท้า เป็นผักมงคลที่ย้ำเตือนถึงความดี ความเป็นใหญ่ เมื่อได้ดีแล้วก็อย่าลืมตน ส่วนประโยชน์ของไชเท้าก็มีมากในด้านโภชนาการ อีกด้วย
โดย กลุ่มเกษตรกรแปลใหญ่ ผู้ปลูก “หัวไชเท้า” รวม 18 ราย จากกว่า 10 หมู่บ้าน ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ใช้เวลาว่างจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชไร่ และว่างเว้นจากการทำไร่ข้าวโพด มาปลูก “หัวไชเท้า” หรือ หัวผักกาด ซึ่งเป็นพืชระยะสั้น ใช้ระยะเวลาการเพาะปลูก เพียง 48-50 วัน ก็สามารถจะเก็บผลผลิตสู่ตลาดได้แล้ว ซึ่งเกษตรกรจะรวมตัวกัน และวางแผนในการเพาะปลูก เพื่อให้ผลผลิต ออกทันจำหน่ายก่อนถึงเทศกาลตรุษจีน ในแต่ละปี ซึ่งพื้นที่แห่งนี้ ผลผลิตจะถูกส่งไปยัง ตลาด 4 มุมเมือง และ ตลาดไทย เนื่องจากพื้นที่ตำบลโคกตูมถือเป็นแหล่งเพาะปลูกหัวไชเท้าแหล่งใหญ่ ในลำดับต้นๆ ของประเทศ ทำให้ทุกแปลงปลูกต้องเพิ่มคนงาน เร่งเก็บผลผลิตส่งสู่ตลาด ส่งผลให้เกิดการจ้างงานสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เนื่องจากขณะนี้ หัวไชเท้ากำลังเป็นที่ต้องการของตลาด โดยแต่ละวันจะมีหัวไชเท้าออกสู่ตลาด เฉลี่ย วันละ 50 – 70 ตันต่อวัน ซึ่งต่างจากช่วงเวลาปกติ ที่ไม่ตรงกับเทศกาลตรุษจีน ซึ่งจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด เพียงวันละ 20-30 ตันต่อวันเท่านั้น
นายมานัส สุขเจริญ ประธานกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ ผู้ปลูกหัวไชเท้าในจังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นหนึ่ง ในเกษตรกรผู้ปลูกหัวไชเท้า ในพื้นที่ หมู่ 7 ตำบลโคกตูม อ.เมือง จ.ลพบุรี บอกว่า เกษตรกรผู้ปลูกหัวไชเท้า ของจังหวัดลพบุรี มีการรวมตัวกัน 18 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ หลังจากที่เกษตรกรได้เก็บเกี่ยวผลผลิต ข้าวโพด ไปแล้ว หรือ ว่างเว้นจากการทำนา ในช่วงปลายฝนต้นหนาว เกษตรกรส่วนใหญ่ก็จะหันมาปลูกหัวไชเท้า เพื่อไม่ให้พื้นที่ว่างเปล่า
โดยเพาะปลูกรอบแรกประมาณ 300 – 400 ไร่ และเป็นรอบ 2 ก็จะเพิ่มขึ้นไปอีก ประมาณ 500 ไร่ โดยจะปลูกกัน 2 รอบ ถึง 3 รอบ ถ้าอากาศอำนวย ส่วนผลผลิตออกทุกวันของสมาชิกแปลงใหญ่ออกสู่ตลาดประมาณวันละ 30 กว่าตัน ต่อวัน แล้วในช่วงเทศกาลกินเจ หรือ ตรุษจีน ก็จะออกเพิ่มประมาณ 60-70 ตัน ตลาดต้องการมาก ราคาจะดีกว่าปกติก็เป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน ถือเป็นการสร้างรายได้หลักอีกทางหนึ่งได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผลผลิตของหัวไชเท้าที่ได้ในแต่ละปี ถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นให้ผลผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเทศกาลตรุษจีน เนื่องจากมีราคาดี และเป็นที่ต้องการของตลาด นอกจากนี้ ชาวบ้านที่ไม่มีพื้นที่เพาะปลูกเป็นของตนเอง ก็จะมารับจ้างถอนหัวไชเท้าแล้วนำมาล้าง ตลอดจนถึงขั้นตอนการแพ็คบรรจุถุงเพื่อนำส่งจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะมีรายได้จากการถูกจ้าง เป็นชั่วโมงละ 35 บาท เฉลี่ยต่อวัน โดยประมาณ 300 – 400 บาทต่อคน
สำหรับขั้นตอนการคัดหัวไชเท้ามีหัวที่ใหญ่และสวยจะถูกแพ็ค บรรจุในถุง ถุงละ 10 กิโลกรัม โดยมีราคาเฉลี่ย 100 – 200 บาท ต่อถุง แล้วแต่ช่วงเวลา โดยเฉพาะช่วงเทศกาลตรุษจีนก็จะมีราคาดีขึ้นมาก แต่ถ้าหัวไชเท้าที่มีขนาดเล็กไม่สวยจะนำส่งเข้าโรงงานแปรรูป เป็นกุยช่ายดอง โดยราคาเข้าโรงงานจะได้กิโลกรัมละ 3-5 บาท ส่วนใบของหัวไชเท้าที่ตัดทิ้ง เกษตรกรก็จะนำไปหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ นำกลับมาใช้ในแปลงปลูกในฤดูกาลต่อไป โดยภายในหนึ่งปีเกษตรกรจะสามารถปลูกหัวไชเท้าได้ 1-2 ครั้ง แล้วแต่จำนวนปริมาณน้ำที่มี และสภาพอากาศ เพราะหัวไชเท้าจะไม่สามารถปลูกได้ในช่วงที่สภาพอากาศร้อนจัด หรือมีฝนตกมากเกินไป
สำหรับคุณประโยชน์ของไชเท้าหัวไชเท้า มีสรรพคุณที่หลากหลายในการบำรุงและป้องกันโรคอาทิเช่น ช่วยฟื้นฟูและบำรุงผิวพรรณ การลดน้ำหนัก ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแมลงสัตว์กัดต่อยสามารถบรรเทาอาการคันลดการเจ็บ ปวดโรคดีซ่าน โรคริดสีดวงทวาร ความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ หัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง แก้ไข้,โรคไตโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น