สระบุรี-ชาวไทยพวนสืบสานประเพณีงานกำฟ้า ทำบุญตักบาตรข้าวจี่ พิธีบวงสรวงเทพยดา

สระบุรี-ชาวไทยพวนสืบสานประเพณีงานกำฟ้า ทำบุญตักบาตรข้าวจี่ พิธีบวงสรวงเทพยดา

ภาพ-ข่าว:สมภพ พิมมะศร 

             วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี มอบหมายให้นายวิชัย บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานประเพณีกำฟ้า ประจำปี 2567 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลับ อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี โดยมีนายอำเภอหนองโดน ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหนองโดน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลับ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านกลับ หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ ข้าราชการ คณะครู นักเรียน ประชาชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธีฯ
               งานประเพณีกำฟ้า ประจำปี 2567 จัดขึ้นในวันที่ 12 ก.พ.67 (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3)ภาคเช้า เวลา 06.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน เวลา 07.00 น. พิธีสงฆ์ ทำบุญตักบาตร (ข้าวจี่)เวลา 09.09 น. พิธีเปิดงานประเพณีกำฟ้า และบวงสรวงเทพยดา เวลา 10.30 น.ชมการสาธิตทำอาหารพื้นบ้านชาวไทยพวน ทำข้าวจี่ ข้าวปุ้น ขนมกระยาสารท หนาบสาลี โอ่หม่าเผ็ด ขนมลอดช่อง และปลาดุกแดดเดียว
               ประเพณีกำฟ้าไทยพวน ตำบลบ้านกลับ อำเภอหนองโดน เป็นงานบุญพื้นบ้านของชาวไทยพวน ตำบลบ้านกลับ อำเภอหนองโดน ที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นการบูชาหรือเคารพเทวดาฟ้าดิน เชื่อกันว่าเมื่อได้ทำบุญประกอบพิธีกรรมตั้งบายศรีบูชาขอพรจากเทพยดา ผู้รักษาฟ้าแล้วจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เชื่อกันว่าเสียงฟ้าร้องคือ “สัญญาฟ้าเปิดประตูนํ้า” เพื่อให้ชาวนา ชาวไร่ มีนํ้าประกอบอาชีพเกษตร กรรม การพยากรณ์เสียงฟ้าร้องของลาวพวน มีดังนี้ เสียงฟ้าร้องดังมาจากทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พยากรณ์ว่าฝนจะดีมีนํ้าเพียงพอ พืชพันธุ์ธัญญาหารสมบูรณ์ ประชาชนจะมั่งมีศรีสุข ถ้าฟ้าร้องดังมาจากทิศใต้ ฝนจะมีน้อยเกิดความแห้งแล้งพืชผลได้รับความเสียหาย ถ้าฟ้าร้องเสียงมาจากทิศตะวันออก ฝนจะตกปานกลาง พืชในที่ลุ่มได้ผลดี พืชในที่ดอนจะเสียหาย ถ้าเสียงฟ้าร้องมาจากทิศตะวันตกจะเกิดความแห้งแล้งข้าวยากหมากแพงจะรบพุ่งฆ่าฟันกัน
               “กำฟ้า” เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยพวนได้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล “กำฟ้า” หมายถึง การนับถือ สักการะ บูชาฟ้า ไทยพวนมีอาชีพทำนาเป็นหลัก ซึ่งต้องพึ่งพาธรรมชาติ ชาวนาจึงมีความเกรงกลัวต่อฟ้ามาก ไม่กล้าทำให้ผีฟ้าพิโรธ ถ้าผีฟ้าพิโรธ หมายถึง ฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือไม่ฟ้าก็จะผ่าคนตาย ความแห้งแล้งจะมาเยือนเกษตรกร หรืออีกนัยหนึ่งชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รู้สึกสำนึกในบุญคุณของฟ้าที่ให้นํ้าฝน อันหมายถึง ความชุ่มชื้น ความอุดมสมบูรณ์ ความมีชีวิตของคน สัตว์ หรือ พืชพรรณต่าง ๆ จึงได้เกิดประเพณีกำฟ้าขึ้น ประชาชนในตำบลบ้านกลับ ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยพวน และประ กอบอาชีพทำนา และอาชีพเกษตรกรรมด้วย ชาวบ้านจึงได้จัดประเพณีกำฟ้าขึ้น กล่าวคือ ตอนเช้าวันขึ้น 3 คํ่า เดือน 3 ทุกครัวเรือนจะจัดอาหารคาวหวานไปถวายพระ ซึ่งในปีนี้ได้จัดทำบุญที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลับ มีการใส่บาตรพระด้วยข้าวหลาม ข้าวจี่ หลังจากถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์แล้ว มีการรับประทานอาหารร่วมกัน

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!