ลำปาง-จัดการเสวนาวิชาการระดับนานาชาติ ” PM 2.5 โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “

ลำปาง-จัดการเสวนาวิชาการระดับนานาชาติ ” PM 2.5 โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “

ภาพ-ข่าว:พรปวีณ์ สุรินทร์มงคล

วช. โดย ศูนย์ HTAPC ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ลำปาง จัดการเสวนาวิชาการระดับนานาชาติ ” PM 2.5 โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ”
             วันที่ 4 เมษายน 67 เวลา 9.30 น. ณ ห้อง 7508 ชั้น 5 อาคารบุญชูปณิธานมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านพิษอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollutin and Climate – HTAPC) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง จัดการเสวนาวิชาการระดับนานาชาติ “PM 2.5 โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิด และรองศาสตราจารย์ ดร .สสิธร เทพตระการพร คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ดร. สุพัฒน์ หวังวงค์วัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวขาญ ร่วมประชุมเสวนา
               ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งขาติ กล่าวว่า วช.ในฐานะหน่วยงานบริหารจัดการโครงการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทย มุ่งเนันในด้านทรัพพยากรธรรมชาติและสิ่งแวคล้อม โดยเฉาะอย่างยิ่งในหัวข้อ “ประเทศไทยปลอดหมอกควัน” และปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อการจัดการและบรรเทาปัญหามลพิษ PM 2.5 เช่น ระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่ทันสมัย เครื่องมือตรวจวัด การบำบัด และการวิเคราะห์องค์ประกอบเพื่อระบุแหล่งกำเนิด รวมถึงการประเมินประสิทธิผลของนโยบายและมาตรการบรรเทาผลกระทบของฝุ่น PM.2.5 พื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ซึ่งผลงานวิจัยเหล่านี้ สมารถนำไปใช้เป็นแหล่งสนับสนุนทางวิชาการที่สำคัญให้แก่ กรมควบคุมมลพิษ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งความรู้ที่ได้จะสามารถวางแผนและพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการบรรเทาปัญหามลพิษ PM.25 ได้
               ในปี 2566 วช. จึงริเริ่มพัฒนาเป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ มี ดร.สุพัฒน์ หวังวงค์วัฒนาเป็นผู้ อำนวยการศูนย์ฯ โดยศูนย์มีบทบาทหน้าที่ในการเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์และวิทยาการสาขาต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ โดยไม่ได้อยู่ภายใต้สังกัดของสถาบันการศึกษาใดสถาบันหนึ่ง เพื่อให้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ ได้รับความร่วมมือจากหลากหลายสถาบันอย่างแท้จริง
                ดร.สุพัฒน์ หวังงค์วัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ วช. กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของการเสวนาวิชาการระดับนานาชาติ “PM 2.5 โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จัดขึ้นเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา PM 2.5 แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 อย่างยั่งยืน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ทั้งในและต่างประเทศ
จากการเสวนาในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการนำสิ่งที่ไม่เข้าใจในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับฝุ่นละออง PM2.5 ก็จะนำไปสู่การแนวทางการเตรียมรับมือด้านสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 ด้วยวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเป็นข้อมูลแก่ประชาชนในการเฝ้าระวัง การเผชิญเหตุเมื่อปริมาณฝุ่น PM2.5 สูงขึ้น เพื่อลดผลกระทบทางด้านสุขภาพ ข้อควรปฏิบัติ เพื่อรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ในช่วงเวลาวิกฤตของพื้นที่ การจัดการพื้นที่ SAFE ZONE หรือพื้นที่ปลอดฝุ่น รวมถึงร่วมกันเสนอมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการฝุ่น PM2.5 ที่เหมาะสมกับรายบุคคล ทั้งนี้ วช. และศูนย์รวมผู้เชี่ยวขาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ จะนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนทุนจาก วช. ที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชน เฝ้าระวัง ป้องกันฝุ่น PM2.5 สร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก อันจะนำไปสู่ สุขภาพ คุณภาพ ชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคต

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!