“ประจวบ เจี้ยงยี้”คั่วตำแหน่งรองอธิบดีกรมประมงกับผลงานเป็นที่ประจักษ์

“ประจวบ เจี้ยงยี้”คั่วตำแหน่งรองอธิบดีกรมประมงกับผลงานเป็นที่ประจักษ์

ภาพ-ข่าว:นายหัวไทร

            ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมมานั่งในตำแหน่งบริหารระดับต้น (รองอธิบดีกรมประมง) ซึ่งมีตำแหน่งว่างอยู่ 2 ตำแหน่ง จากการตรวจสอบข้อมูลล่าสุดมีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกแล้วประมาณ 12 คน ซึ่งส่วนใหญ่ดำรงตำแหน่งประมงจังหวัด และมีรายงานว่า “วิ่ง”กันมาก

           ตำแหน่งรองอธิบดีกรมประมงว่างสองตำแหน่ง อันเนื่องมาจากคณะรัฐมนตรีมีมติโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 4 ตำแหน่ง ประกอบด้วย นางสาวนฤมล สงวนวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเป็นผู้ตรวจราชการ นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง ไปเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวอัญชลี สุวจิตตานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้ตรวจกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้ตรวจกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตำแหน่งรองอธิบดีกรมประมงว่างลงถึงสองตำแหน่ง คือ ตำแหน่งที่นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดี ขยับขึ้นไปเป็นอธิบดี และครม.ย้ายนายถาวร ทันใจ รองอธิบดี ไปเป็นผู้ตรวจฯอีกคน

            ขบวนการคัดเลือกเริ่มต้นจากการเปิดรับสมัครจากบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ซึ่งในขณะนี้เปิดรับสมัครเรียบร้อยแล้ว ตามไทม์ไลน์ คัดเลือก รองอธิบดีกรมประมง 1.สัปดาห์แรก ของเดือนพฤษภคม ส่งชื่อผู้สมัครไปสอบสถานะ ที่สำนักงานข้าราชการพลเรือน (กพ)(สำหรับคนที่ตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่ผ่าน) 2.สัปดาห์ที่2 ของเดือนพฤษภาคม กรรมการคัดเลือกให้เหลือ3คนต่อ1ตำแหน่ง ถ้าสมัครไม่เกิน 3 คน ให้คงไว้ทั้งหมด 3.สัป ดาห์ที่ 3 ประกาศรายชื่อ บุคคลที่ผ่านเข้ารอบไปสอบสัมภาณษ์ จากคนที่ผ่านเข้ามา จากสัปดาห์ที่ 2 4.ประกาศผลการคัดเลือก และส่งรายชื่อแต่งตั้ง ซึ่งอำนาจในการแต่งตั้งเป็นของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์        สอดส่ายสายตาอ่านรายชื่อผู้สมัคร พบชื่อบุคคลที่คุ้นเคย และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์

           “ประจวบ เจี้ยงยี่” ประมงจังหวัดลำปาง สนใจเรียนทางด้านการประมง จึงไปเรียน ระดับ ปวช.ถึง ปวส.ที่วิทยาลัยการประมงสงขลาติณสูลานนท์ สอบเข้ารับราชการในกรมประมงตั้งแต่เรียน ปวส.1 บรรจุเข้ารับราชการที่กรมประมง ตั้งแต่ปี2534 เป็นต้นมา กล่าวได้ว่าประจวบมีประสพการณ์ทำงานโชกโชน ตระเวนไปทำงานมาแล้วทั่วประเทศ บรรจุเข้ารับราชการครั้งแรกเมื่อ 18 มิถุนายน 2534 ที่งานอนุรักษ์ทรัพยากรประมงทะเลภาคใต้ตอนบน จ.ชุมพร รับผิดชอบ จ.ชุมพร ประจวบ และสุราษฎร์ธานี จากนั้นถูกย้ายไปตามความเหมาะสม และจังหวะก้าว สุดท้ายเข้ามารับตำแหน่งที่ส่วนกลางในตำแหน่งผู้อำนวยการเรือตรวจการ ระหว่างนั้นก็ถูกนายกลั่นแกล้งโยกไปเป็นประมงจังหวัดลำปาง เอาง่ายๆว่าเป็นคนที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมาย เช่น โครงการฟอกทรายคืนทะเล โครงการบริหารจัดการแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ และอีกมากมาย เหมาะแก่การเอาลูกหม้อผู้รับงานประมงมานั่งเป็นรองอธิบดีกรมประมง
             ล่าสุดจัดกิจกรรม “ลำพันคืนถิ่น ป่าพรุควนเคร็ง” ครั้งที่ 9 จำนวน 2000 ตัว พร้อมปล่อยพันธุ์ปลาน้ำจืดชนิดกินพืช และกุ้งก้ามกรามอีก 700,000 ตัว ภายใต้การสนับสนุนของภาคีเครือข่าย และกรมประมง รวมถึงในวันเดียวกัน (14 เมษายน) ได้มีการปลูกต้นจากจำนวน 2567 ต้น (ตามปี พ.ศ.) เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่ถูกทำลายไปก่อนหน้านี้ ก่อนหน้านั้น เมื่อต้นปี 2567 ได้ร่วมกิจกรรมกับ #นายหัวไทร กับโครงการ ”ลำพันคืนถิ่น ป่าพรุควนเคร็ง“ ด้วยการนำปลาดุกลำพันจากป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส มาปล่อยคืนธรรมชาติป่าพรุควนเคร็ง ที่ปลาดุกลำพันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว พร้อมกับการจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์ปลาดุกลำพันขึ้นที่บ้านเนินธัมมัง อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีฯ ถ้าพิจารณากันโดยใจไม่ลำเอียง ด้วยจิตใจที่เป็นธรรม ”ประจวบ เจี้ยงยี่“ เหมาะที่จะขยับขึ้นเป็นรองอธิบดีกรมประมง สำหรับผลงานที่น่าสนใจนำไปประกอบการพิจารณหรืองานสําคัญด้านบริหารจัดการ

           ในปี.พ.ศ. 2551 ขณะดํารงตําแหน่งหัวหน้าหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี.ปฏิบัติงานด้านการควบคุมพื้นที่อนุรักษ์หอยแครงในเขตทะเลอ่าวบ้านแหลมจนเป็นรที่ประจักษ์ และได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน จนได้รับโล่รางวัลบุคคลที่ทำงานด้วยความเสียสละด้านการปราบปรามผู้กระทำความผิดและดูแลทรัพยากรธรรมชาติจากสมาคมผู้สื่อข่าวแห่งประเทศไทย,(สมาคมผู้สื่อข่าวเพชรบุรี) -ขณะดำรงตำแหน่งประมงอำเภอสวี จ.ชุมพร ได้เป็นผู้ริเริ่มโครงการกำจัดปลาหมอคางดำ ในลุ่มน้ําสวี โดยชุมชนมีส่วนร่วม (จิตอาสา)โดยร่วมกับชุมชนประมงท้องถิ่นใน อ.สวี ในขณะดํารงตําแหน่งหัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ดําเนินการออกหนังสือคนประจําเรือสําหรับคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประมง โดยใช้ทักษะความรู้ ทางด้านกฎหมายและระเบียนเกี่ยวกับการบริหาราชการตามพระราชกําหนดการประมง สามารถบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในเรือประมงให้เป็นไปตามกฎหมายประมง และที่เกี่ยวข้อง
            ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการด้านการประมงจังหวัดประจวนคีรีขันธ์มีหน้าที่ในการออกใบอนุญาตทําการประมงพาณิชย์สามารถควบคุมการทําประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (U.Fishing).โดยใช้ความรู้ ทางด้านกฎหมายและระเบียบเดี่ยวกับการบริหารราชการตามพระราชกําหนด การประมงพ.ศ.2558 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและกฎกระทรวงการขอนุญาต และการอนุญาตให้ทําการประมงพาณิชย์พ. ศ.2561 ขณะดํารงตําแหน่งหัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการด้านการประมงจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ได้ริเริ่มดําเนินการโครงการสร้างบ้านให้ปลาในแหล่งน้ําจืดโดยชุมชนมีส่วนร่วม(ซั้งกอ) โดยกระบวนการชุมชน”ร่วมคิดร่วมทําร่วมตัดสินใจและประเมินผล หลังดําเนินการ”ตลอดสายธารดําเนินการ ขณะดำรงตำแหน่งประมงจังหวัดบึงกาฬ) ได้ร่วมกับชุมชนประมงท้องถิ่น อําเภอโช่พิสัยจังหวัดบึงกาฬสร้างซอฟต์พาวเวอร์(soft,power) ด้านอาหารพื้นถิ่นในพื้นที่พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต โดยใข้ปลาใช้ปลาจากแม่น้ำโมงมาขับเคลื่อนโครงการ จนอาหารพื้นถิ่นอิสานระดับโลกในการประกวดอาหารที่ ประเทศฝรั่งเศส

             ปี 2564ขณะตำแหน่งประมงจังหวัดบึงกาฬ เมืองแห่งพญานาต ยังดำเนินการจัดตั้งกลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำภายใต้หลักคิด “ทำสิ่งที่มีอยู่ ให้ดีที่สุด” เพราะการแปรรูปเป็นอาชีพที่มีมาแต่ดั้งเดิมของชาวอีสาน โดยร่วมมือกับ อาจารย์”สุทธิพงษ์ สุริยา ขับเคลื่อนชุมชนมีชีวิต โซ่พิสัย ของจังหวีดบึงกาฬ จนอบรมการแปรรูปสัตว์น้ำ และให้ชื่อปลาตากแห้งเรียงเป็นตับตับว่า “ปลาเข้าแถว”จนติดตลาด ส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในแม่น้ำโขง เพื่มมูลค่า และผลักดันไปให้ถึง จีไอ เพราะการเลี้ยงในแหล่งน้ำไหล ทำให้ปลาแข็งแรง เนื้อแน่น และไม่มีกลิ่นคาว

             ปี 2565 ไปรับตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองตรวจการประมง ดำเนินกิจกรรมต่างๆมากมาย ทั้งด้านงานปราบปราม งานมวลชน และงาน csr ต่างๆ ภายใต้หลักคิด “งานเป็นผล คนเป็นสุข” ภายใต้คุณธรรม 4 ประการ คือ พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา เป็นตัวขับเคลื่อนการทำงาน ได้ริเริ่ม โครงการ ฟอกทรายคืนสู่ทะล สร้างจิตสำนึกแก่เยาวชน และภาคประชาชน ให้รักษ์และหวงแหนท้องทะเลซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัสัตว์น้ำ อันเป็นอาหารหลักประเภทโปรตีนของมนุษย์ โครงการบริหารจัดการแหล่งอาศัยสัตว์น้ำเพิ่มรายได้สร้างอาชีพแก่ชุมชนโดยใช้แพไม้ไผ่ส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยให้สมาชิกชุมชนประมงท้องถิ่นดำเนินการ ในกิจกรรม จะกำหนดพื้นที่อนุรักษ์แหล่งพ่อแม่พันธุ์และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน โดยรับให้บริการนักท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชม ธรรมชาติ เป็นการควบคุมพื้นที่อนุรักษ์ควบคู่กับการสร้างรายได้ของชุมชนจากนักท่องเที่ยว นำระบบดัชนีมวลกายเข้ามาขับเคลื่อนบุคลากร สร้างสมรรถณะทางกาย และสร้างวินัย แก่บุคคลากร สร้างภาพลักษณ์แก่องค์กรให้เป็นที่ยอมรับจากประชาชน

             เหล่านี้คือผลงานที่ประจักษ์ของ “ประจวบ เจี่ยงยี่” ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นรองอธิบดีกรมประมงคนใหม่ที่ว่างอยู่ถึง 2 ตำแหน่ง ที่คณะกรรมการคัดเลือกควรรับไว้พิจารณา และไต่ครองด้วยความรอบคอบ เพื่ออนาคตความมั่นคงด้านอาหารของคนไทย

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!