อุบลราชธานี-ปิดตำนานนักชกดังเมืองอุบลฯขวัญใจคนจน “อรชุนน้อย ฮ.มหาชัย ”แชมป์รุ่นฟลายเวทลุมพินี 2 สมัย
ภาพ-ข่าว:ทีมข่าวจังหวัดอุบลราชธานี
ภาพ : Rungtiwa Netmanee , นิตยสารบ๊อกซิ่ง
ประวัติ : นิตยสาร 123 ยอดมวยเมืองสยาม
วันนี้ ( 30 เม.ย.67 ) ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจาก นางรุ่งทิวา เนตรมณี บุตรสาวของ อรชุนน้อย ฮ.มหาชัย อดีตนักมวยชื่อดังแห่งเมืองอุบลราชธานี ว่า อรชุนน้อย ฮ.มหาชัย หรือ นายไมตรี เนตรมณี ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ ในวัย 73 ปี ด้วยโรคประจำตัว เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 เวลา 13.30 น. ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจของครอบครัวและญาติมิตรตลอดจนเพื่อนพ้องน้องพี่ที่เคารพรักนับถือกัน ซึ่งขณะนี้ครอบครัวและญาติได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาสามัคยานุสรณ์ วัดกลาง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 27 เม.ย.67 ถึงวันที่ 1 พ.ค.67 และจะมีพิธีฌาปนกิจศพ ในวันที่ 2 พ.ค.67 ณ เมรุวัดเลียบ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ประชุมเพลิงเวลา 16.00 น. จึงขอเรียนเชิญญาติ มิตร ผู้คุ้นเคยทุกท่าน ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรม และร่วมพิธีฌาปนกิจศพคุณพ่อไมตรี เนตรมณี หรือ อรชุนน้อย ฮ.มหาชัย ตามกำหดการและตามความสะดวก
นางรุ่งทิวา เนตรมณี ได้มอบประวัติของคุณพ่อ อรชุนน้อย ฮ.มหาชัย หรือ นายไมตรี เนตรมณี ให้กับผู้สื่อข่าว โดยบอกว่า ประวัติทั้งหมดนี้ นิตยสาร 123 ยอดมวยเมืองสยาม ได้บันทึกเอาไว้ เมื่อคุณพ่อเสียชีวิตลง ตนจึงเตรียมเอาไว้แจกจ่ายสื่อมวลชน และ ท่านผู้สนใจอยากทราบประวัติ ของคุณพ่อ โดยประวัติในหนังสือหรือนิตยสารดังกล่าวได้ระบุ ดังนี้ อรชุนน้อย ฮ.มหาชัย มี ชื่อเล่นว่า เมี่ยง เกิดเมื่อ 11 พฤจิกายน พ.ศ. 2493 ที่ทำแขก สปป.ลาว เพราะพ่อกับแม่ข้ามไปทำงานอยู่ที่นั่น แล้วย้ายกลับมาอยู่ที่ อ. เมือง จ. อุบลราชธานี ในภายหลัง โดยมีบ้านซึ่งเป็นที่อยู่ปัจจุบัน คือบ้านเลขที่ 13 ถ.พรหมราช3 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี อรชุนน้อย ฮ.มหาชัย หัดมวยตั้งแต่อายุ 10 ขวบ จากการเทรนของลุงแท้ๆ ระยะแรกๆ ใช้ชื่อชกว่า หาญณรงค์ กันพจญ ชกชนะติดต่อกันหลายครั้ง แล้วตามเพื่อนรุ่นพี่มาอยู่ค่าย “ศิลารักษ์” ของครูเหมือน ศิลารักษ์ โดยใช้ชื่อว่า เวียงเหนือ ศิลารักษ์ โชว์ฟอร์มชนะติดต่อกันมาโดยตลอด จนกลายเป็นยอดมวยรุ่นเล็กของเมืองอุบลฯ ต่อมา นักมวยรุ่นพี่ที่ชื่อ อรชุน (ใหญ่) ฮ.มหาชัย เกิดชอบใจลีลาการชกที่สู้ยิบตาของมวยรุ่นน้องเด็กบ้านเดียวกัน จึงชักชวนให้ลงมาอยู่ที่ค่าย “ฮ.มหาชัย” ของ โกเฮง อ่าวถาวร f เซนต์หลุยส์ซอย 2 ย่านสาธร กรุงเทพฯ ซึ่งตอนมาอยู่ใหม่ๆ นั้น โกเฮงไม่ยอมให้ใช้ค่าย ฮ.มหาชัย เพราะหาว่าตัวเล็กไม่เข้าทำ จึงต้องใช้ชื่อชกว่า อรชุนน้อย ชัยสิทธิ์ ไปก่อน จนกระทั่งชนะน็อค ติดต่อกันถึง 6 ครั้งซ้อน จึงได้ชกในชื่อ อรชุนน้อย ฮ.มหาชัย ตั้งแต่นั้นมา
ประเดิมเวทีลุมพินีครั้งแรก ชนะคะแนน ฤทธิเดช (สิงห์มรกต) ศรีไทย น้องชายเดชฤทธิ์, ชนะน็อค ศรน้อย สุระกานต์ ยก 2, ชนะคะแนน คชสารน้อย ผลเจริญ, ชกกับ”กระทิงทุ่งรังสิต” พฤหัส โล่ห์เงิน 3 ครั้ง ชนะ 2 แพ้ 1 ชกกับ สิงห์หนุ่ม เพชรธานินทร์ 3 ครั้ง ชนะ 2 แพ้ 1, แพ้คะแนน “มนุษย์หิน” เริงศักดิ์ พรกวี, ชนะคะแนน “ขุนเข่าขมังเวทย์เรือนแพ ศิษย์วัดหนัง 2 ครั้งรวด, หาญทาบกับเท่งใหญ่ “ยักษ์แคระ” ใกล้รุ่ง ลูกเจ้าแม่โทรทอง โดนกลุงจอดป้ายแค่ ยก 2 อรชุนน้อย มีสถิติการชกโชกโซนกว่า 200 ครั้ง ครั้งสำคัญก็มีชนะน็อค แสงดาว ศักดิ์ประเสริฐ ยก 3. น็อค วินัยน้อย ณ บ้านโขด (กิ่งทอง สาครพิทักษ์). น้องรัก สิงห์กรุงธน และ หนุ่มทนง สวนมิสกวัน ยก 4. น็อค ปัญจเดช ว. ชาตินิรันคร์ และ ขาวกระจ่าง ทุกษ์ชัย ยก 5. ศอกกลับชนะทีเคโอ ศรัทธา ร.ส.พ. ยก 4_ แพ้ ยอดฉัตร ส จิตรพัฒนา กับ โรจนเดช โรจน์สงคราม 3 ครั้ง ทั้ง 2 ราย, ชนะคะแนน เพชรพเยาว์ ศิษย์ครูทัศน์ หรือ พเยาว์ พูนธรัตน์ นักชกเหรียญทองแดงโอลิมปิกคนแรกของไทย, ชกกัดาวรง ศิษย์ยอดรง 7 ครั้ง ชนะ 5 แพ้ 2, ชกกับ ยอดเด็ด สิงห์ศรทอง 3 ครั้ง ครั้งแรกเสมอ ครั้งที่ 2 แพ้ และครั้ง 3 ชนะคะแนนขาดลอย, ชกกับ ทอง พรทวี (เพชรยินดี)ครั้ง ชนะ 1 แพ้ 2, ชนะคะแนน มันส์ ส.จิตรพัฒนา และผลัดกันแพ้ชนะกับ ศรนารายณ์ ศักดิ์วิทยา เป็นต้น
อรชุนน้อย ฮ.มหาชัย เป็นนักมวยที่มีอายุมวยบนสังเวียนยาวนานถึง 20 ปี และเลิกชกเอาเมื่ออายุ 32 ปีพอดี เกียรติประวัติที่น่ายกย่อง คือ ได้เป็นแชมป์ฟลายเวท (112 ปอนด์ของเวทีลุมพินี 2 สมัยๆ แรกชิงได้จาก ดาวรง ศิษย์ยอดรง แล้วเสียให้ ศรพิมาต สิทราชเดโช สมัยที่สองชิงได้จาก ยอดเด็ด สิงห์ศรทอง แล้วมาเสียให้ ศรนารายณ์ ศักดิ์วิทย ลิลาการชกของอรชุนน้อย มีทั้งหมัดที่หนักหน่วงและพีมือคล่องแคล่ว สามารถใช้ศอกกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพเฉียบขาดเกินคำบรรยาย อรชุนน้อย มีสมญาว่า “ทำนั้นทอง” แลเคยชนะคู่ต่อสู้แบบพลิกลือควินาสสันตะโรเสมอ จนได้รับฉายาจากแฟนมวยประเภทท่านรองอีกอย่างหนึ่งว่า “ขวัญใจคนจน” ระยะหลัง อรชุนน้อย ยังยืนระยะชกกับนักมวยรุ่นน้องและรุ่นหลานเป็นว่าเล่น โดยมีทั้งแพ้และชนะสลับกันไป อากิเช่น ชนะ สิงห์ปฐม พงษ์สุรการ, ธนูพิษ ศิษย์ ส.ว. ชัณรงค์ ศิษย์พบูลย์, ศอกกลับน็อค วิหค ส.จิตรพัฒนา ยก 2. ต่อยหมัดน็อค ฝนหลวง ลูกเสด็จแม่พวงทอง ยก 2, น็อค ไจดี ลูกบางปลาสร้อย ยก 3. น๊อค ฉัตรชัย ปัญญาวุชาญชัย ณ แปดริ้ว และ ชาตรี ลูกไม่เหลือง ยก 4 ทั้งสามราย, น๊อค จอม คาลเก็กซ์สว่าง ยก 5 ฯลฯ ที่เข้าเพลสก็มีแพ้ สมิงหนุ่ม สิทธิบุญธรรม, ผล ศิษย์พ่อแดง, แป้นน้อสาครพิทักษ์. เพด็จศึก พิษณุราชันย์, ประวิทย์ ศรีธรรม และ จอมโว ศักดิ์นิรันดร์ (เชิญยิ้ม) ระยะหลังเปลี่ยนไปสังกัดค่าย “สิงห์ชัชวาล” ชกชนะ ฉลามสิงห์ ศิกดิวิเชียร, เสม รุ่งรัตน์ ชูตินาวี, แพ้ อนันต์เล็ก ลูกมีนบุรี และครั้งสุดท้ายในกรุงแพ้ ยุทรการ เพชรยินดี ที่ลุมพินี เลยเปิดกลับไปบ้านที่อุบลฯ จัดคนอื่นซก์บ้าง ขึ้นชกเองบ้าง โดยชกชนะ เศษเหลีศิษย์สิงห์เกตุ, แพ้ กังสดาร ส.ประทีป และไฟท์หลังสุดแพ้น็อค เด็ดดวง ป.พงษ์สว่าง ยก 2 ที่ จ. หนองคาย เมื่อ 22 ต.ค. 2526 จึงตัดสินใจเลิก
การชกไฟท์สุดยอดของอรชุนน้อย คือการเอาชนะคะแนน เริงศักดิ์ พรทวี และชนะ เพชรพเยาว์ ศิษย์ครูทัศน์ นักชกเหรียญทองแดงโอสิมปิกคนแรกของไทย ส่วนนักชกคสำคัญที่พลาดไม่ได้ชกกันคือ ชาญเดช วีระพล หลังจากแขวนนวม อรชุมน้อย เคยเป็นเทรนเนอร์ให้กับค่าย พ.ธวัชชัย อยู่นานหลายปี ตอนหลังย้ายมาเทรนให้กับค่าย ป.เปาอินทร์ อยู่พักใหญ่ แต่ปัจจุบันกลับไปอาศัยอยู่กับครอบครัว กรรยา 1 ลูก 3 ที่บ้านเกิด โดยเปิดร้านขายกาแฟโบราณอยู่ที่โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ์ จ. อุบลราชธานี