ชุมพร-ปาล์มล้นโรงงานผลิตไม่ทัน..!!หลายฝ่ายเข้ารับฟังปัญหา..เหตุจากปัญหาภัยแล้งที่ยาวนาน..!!!

ชุมพร-ปาล์มล้นโรงงานผลิตไม่ทัน..!!หลายฝ่ายเข้ารับฟังปัญหา..เหตุจากปัญหาภัยแล้งที่ยาวนาน..!!!

ภาพ-ข่าว:ทีมข่าวจังหวัดชุมพร

            วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 นายธีระศักดิ์ ยมสวัสดิ์ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า ได้รับร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกรชาวสวนปาล์มจากปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ ในวันนี้ จึงได้มอบหมายให้นายจักษณ์ขจร มณฑิราช ผู้ทรงคุณวุฒิสภาเกษตรกร นายอำนาจ อมรสิริประกิต สมาชิกสภาเกตษรกรอำเภอประทิว เขต 2 นายเจริญ อาจประดิษฐ์ สมาชิกสภาเกษตรกรอำเภอท่าแซะ เขต 3 เข้าร่วมกับผู้แทนสำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร ผู้แทนสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร ผู้แทนที่ทำการปกครองจังหวัดชุมพร ผู้แทนสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร ผู้แทน กอ.รมน.จังหวัด และ คณะทำงานตรวจสอบต๊อกน้ำมันปาล์มคงเหลือทั้งระบบ ตรวจสอบบัญชีและปริมาณน้ำมันปาล์มคงเหลือ ณ โรงสกัดน้ำมันปาล์ม โรงกลั่นโรงงานผลิตไบโอดีเซล ในพื้นที่อำเภอท่าแซะจำนวน 11 โรงงาน และรับฟังปัญหาสาเหตุราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำและวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อที่จะให้เกษตรกรสามารถอยู่ร่วมกับโรงงานผู้ผลิตขับเคลื่อนเศรษฐกิจร่วมกันต่อไปได้
               นายชุมพล ไทยนุกุล ผู้อำนวยการสายงานการผลิต บริษัทชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มจำกัด (มหาชน) หรือ บ.CPI เปิดเผยว่า โรงงานได้รับผลปาล์มเข้าขบวนการผลิตวันล่ะ 1,400 ตัน แต่ในขณะนี้เกิดปัญหาภัยแล้ง อากาศร้อน ทำให้ผลปาล์มสุกก่อนกำหนด มองดูเหมือนสุกเม็ดแดง แต่ภายนอกไม่เกินสองชั้นขาวเป็นปาล์มอ่อนทั้งหมดไม่มีน้ำมัน ทำให้เปอร์เซ็นต์ YIGLD=12-14 % เท่านั้น ในขณะที่โรงงานสกัด ต้องได้น้ำมันสกัดวันละ 4,000 ตัน แต่เปอร์เซ็นต์น้ำมันต่ำทำให้ได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด จึงเป็นสาเหตุทำให้ราคาลดลงมาในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีขณะนี้ผลปาล์มแต่ละวันได้ออกมาพร้อมกันกองอยู่บนลานแต่ละวันมากกว่า 20,000 ตัน จึงต้องกำหนดเวลาส่งเข้าโรงงานเนื่องจากไม่มีลานกอง
               นอกจากนี้ บริษัท CPI ได้นำคณะหน่วยงานเข้าดูลานกองผลผลิตปาล์มที่ล้นออกมากลายเป็น 3 ลาน และ ได้ให้เลือกผลปาล์มออกมาผ่าให้ดูหลายทะลาย พบผลปาล์มสุกแต่ภายนอกแค่ 1-2 ชั้น ด้านในเม็ดขาวทั้งหมด พร้อมอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เปอร์เซ็นต์นำมันปาล์มต่ำ ราคาที่ผูกไว้กับ 18% ราคาจึงลงมาตามเปอร์เซ็นต์น้ำมันในปัจจุบัน แต่คาดการณ์ว่าอีกไม่เกิน 2 เดือน สถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติ อย่างไรก็ดีสมาชิกสภาเกษตรกร จะนำปัญหาที่พบเข้าหารือในคณะกรรมการพืชสภาเกษตรกร เพื่อประสานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประสานรัฐบาลให้การช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งในด้านช่วยเหลือต้นทุนการผลิต การส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันปาล์มให้มากขึ้นในระบบอุสาหกรรมไฟฟ้าและพลังงาน

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!