สตูล-“สถานีพัฒนาที่ดิน”จัดโครงการส่งเสริมการใช้ผลิตภันฑ์จุรินทรีย์ เน้นเกษตรกรใช้สารชีวะพันธ์แทนสารเคมี
ภาพ-ข่าว:ชิดชนก พุดทอง
ที่ศาลาประชาคมหมู่ที่9 ต.อุใดเจริญ อ.ควนกาหลง จ.สตูล นายอิทธิศักดิ์ ขุนทอง ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินสตูล พร้อมด้วยเจ้าหน้า ได้จัดโครงการส่งเสริมการใช้ผลิตภันฑ์จุรินทรีย์(ไมคอร์ไรซ่า และโตรโคเดอร์ม่า )โดยมีเกษตรกรในพื้นที่กว่า50คนเข้าร่วมรับฟังคำบรรยายให้ความรู้ โดยมีการให้ความรู้ในเรื่องของการใช้พด.14หรือเชื้อราไตรเดอร์มา ซึ่งเป็นเชื้อราสำหรับใช้รักษาโรคในพืชทั่วไป เช่นโรครากเน่าโคนเน่า โรคแอนแตรกโนส โรคใบจุด โรคใบร่วง และอีกหลายโรคซึ่งเกษตรกรในพื้นที่ประสบอยู่ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกทุเรียนหรือชาวสวนยาง โดยมีการให้ความรู้ในเรื่องการใช้ พด.14 เพื่อรักษาโรคในพืชต่างๆ
นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้ในเรื่องการผลิตพด.15 สารเคมีสังเคราะห์แสงที่มีประสิทธิภาพช่วยเร่งการเติบโตและเพิ่มผลผลิตในพืชทุกชนิด และยังให้เกษตรกรที่เข้าร่วมได้ร่วมกันผลิตพด.15เพื่อนำไปต่อยอดเองที่บ้านแทนการใช้สารเคมีในการเร่งและเพิ่มผลผลิต
นายอิทธิศักดิ์ ขุนทอง ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินสตูลกล่าวว่า วัตถุประสงค์ในการจัดโครงการฝึกอบรมในครั้งนี้เพื่อให้ความรู้กับเกษตรกรได้มีความรู้ในด้านการใช้สารชีวะพันธ์ที่ทางกรมที่ดินได้คิดค้นขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรได้นำมาใช้แทนสารเคมีต่างๆเพื่อลดสารพิษในผลผลิตทางการเกษตรและลดสารพิษในสิ่งแวดล้อม ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรมีคุณภาพมากขึ้น นอกจากนี้โครงการฝึกอบรมและให้ความรู้ดังกล่าวยังทำให้ทางพัฒนาที่ดินได้รับทราบถึงปัญหาต่างๆที่เกษตรกรมีซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากเพราะทางกรมพัฒนาที่ดินจะได้ช่วยแก้ไขในปัญหาต่างๆที่เกษตรกรประบอยู่พบเจอ
ต่อมาได้เดินทางลงพื้นที่ดูแลสวนทุเรียนของนายนิคม พลายแสงเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนที่พบปัญหาต้นทุเรียนยืนต้นตายเบื้องต้นได้แนะนำให้เจ้าของสวนใช้สารไตรโคเดอร์ม่าเพื่อกำจัดจัดเชื้อราที่มากับช่วงฤดูฝนซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นทุเรียนเกิดโรครากเน่าโคนเน่า พร้อมกันได้นำตัวอย่างดินเพื่อนำไปทำการตรวจหาเชื้อราต่างและจะเร่งเข้ามาช่วยดูและช่วยเหลือเกษตรกร
ด้าน นางสาวศิยาภา สุวรรณชนะ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการสถานีพัฒนาที่ดินกล่าวว่า จากการลงพื้นที่ในวันนี้ปัญหาที่เจอที่สำคัญคือโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนที่เกิดจากเชื้อไฟท็อปเตอร์ร่าที่เป็นตัวการทำให้ทุเรียนยืนต้นตาย จึงได้มอบพด.14ให้กับเจ้าของสวนพร้อมแนะนำวิธีการใช้ เนื่องจาก พด.14 เป็นเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าที่สามารถกำจัดเชื้อไฟทอปเทอร่าได้เป็นอย่างดี โดยแนะนำให้นำมาใช้เพื่อป้องกันการระบาดสู่ต้นอื่น สำหรับต้นที่โดนไฟท็อปเทอราแล้วก็จะให้เจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลและรักษาต่อไป
อย่างไรก็ตามทางกรมพัฒนาที่ดินได้เน้นย้ำเกษตรกรให้เลือกใช้สารชีวะพันธ์แทนสารเคมีเพื่อปรับปรุงและเสริมคุณภาพของดินในระยะยาว นอกจากนี้ยังลดอันตรายจากสารเคมีที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเกษตรกรและผู้บริโภค และที่สำคัญช่วยลดต้นทุนในการผลิตส่งผลถึงชีวิตความเป็นอยู่ของเกตรกรอีกด้วย