ประจวบคีรีขันธ์-สว.ป้ายแดงร่วม ขับเคลื่อนเครือข่ายผู้แทนเกษตรกรจังหวัดฯ
ภาพ-ข่าว:พิสิษฐ์ รื่นเกษม
วันที่ 25 กรกฎาคม 2567ณ .ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลช้างแรก ตำบลข้างแรกอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์นายมานิมิต วงศ์จินดา นายอำเภอบางสะพานน้อยเป็นประธานเปิดการประชุมขับเคลื่อนเครือข่ายผู้แทนเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยมีนายโชติเงินแทงรองประธานสภาเกษตรกรกล่าวรายงาน
วัตถุประสงค์ในการจัดการประชุมขับเคลื่อนเครือข่ายผู้แทนประจำจังหวัดประจวบ คีรีขันธ์ในครั่งนี้ พร้อมด้วยสมาชิกสภาเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทุกอำเภอหัวหน้าส่วนราชเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เครือข่ายผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านระดับตำบลระดับอำเภอบางสะพานน้อยและผู้มีเกียรติร่วมประชุมในครั้งนี้
โดยมี น.ส.นิชาภา สุวรรณนาค สมาชิกวุฒิสภา จ.ประจวบคีรีขันธ์ และคณะ หัวหน้า ส่วนราชการประจวบคีรีขันธ์ โดยมี นายธีรวัฒน สุขจันทร์นายกองค์การตรวจบริหารตำบลช้างแรกอำเภอบางสะพานน้อย พร้อมเครือข่ายผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล อำเภอ กิจกรรมขับเคลื่อนเกษตรกรจังหวัดประจวบครีขันธ์การสร้างเครือข่ายผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล เป็นกลไกในการรับฟังความคิดเห็น สะท้อนปัญหา เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการเกษตร โดยเชื่อมโยงกับสภาเกษตรกรจังหวัดและสภาเกษตรกรแห่งชาติ หรือการเชื่อมโยงจากล่างสู่บน
โดยสภาเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้สร้างเครือข่ายผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้าน และระดับตำบล เมื่อปี พ.พ.ศ. 2554 ได้หมดวาระลงเมื่อ ปี 2566 และปีนี้ สภาเกษตรกรจังหวัดได้ดำเนินการสรรหาเครือข่าย ทั้งสิ้น 438 คน โดยอำเภอบางสะพานน้อย มีเครือข่ายผู้แทนเกษตร กรระดับหมู่บ้าน 41 คน และผู้แทนเกษตรกรระดับตำบล 5 คน สภาเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงได้จัดทำกิจกรรมเคลื่อนเครือข่ายผู้แทนเกษตรกรจังหวัดประจวบศีรีชันธ์ ประจำปี 2567
ด้านนายนันทปรีชา คำทอง ประธานคณะทำงานแก้ไขที่ดิน น้ำและองค์กรเกษตรกรรมอื่นๆ ในสภาเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า วันนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ได้สมาชิกวุฒิสภามีสายเลือดเกษตรกร เป็นของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลงมารับฟังปัญหาเพื่อร่วมกันแก้ไขในครั้งนี้ ก็ขอฝากท่านสมาชิกวุฒิสภาว่า สิ่งที่เป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดคือการขับเคลื่อนองค์กรในสภาเกษตรเอง ทั้งระดับชาติ และระดับจังหวัด ขอฝากประเด็นที่ 1 คือปัญหาในพื้นที่ฝากท่านสมาชิกวุฒิสภาเข้าไปดำเนินการผลักดันขับเคลื่อนในเรื่องการทำยุทธศาสตร์น้ำ ซึ่งภาคการเกษตร ปศุสัตว์ พืชไร่ พืชสวนหรือประมง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแหล่งน้ำที่เพียงพอ
ปัจจุบันจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องยุทธ ศาสตร์น้ำ แต่ก็ยังประสบปัญหาภัยแล้งทุกปี ไม่ใช่แต่เฉพาะพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่เกิดทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จะจัดการบริหารอย่างไรในเรื่องแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการประกอบอาชีพดังกล่าว ประเด็นที่ 2 อยากจะฝากเรื่องสิทธิในที่ดินทำกินของพี่น้องชาวเกษตรกรจะดำเนินการอย่างไร ประเด็นที่ 3 อยากให้ท่านสมาชิกวุฒิสภาช่วยประสานสำนักงานการยางแห่งประเทศไทยให้เพิ่มพื้นที่สาขาขึ้นในพื้นที่อำเภอบางสะพาน เพราะพี่น้องเกษตรกรเราได้เรียกร้องไปเป็นจำนวนมาก
เพราะปัจจุบันมีสำนักงานการยางอยู่พื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดเพียงแห่งเดียว ซึ่งระยะทางไกลเป็นร้อยกิโลเมตร ไม่มีสำนักงานสาขาในพื้นที่ จึงขอให้เพิ่มสำนักงานสาขาขึ้น เพื่อเกษตรกรเราจะไม่ต้องเดินทางไปไกล เพราะพื้นที่เกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในอำเภอบางสะพาน และอำเภอบางสะพานน้อย เป็นพื้นที่สวนยางพาราเป็นส่วนมากประมาณ 80% เพื่อพัฒนารายได้ เพิ่มศักยภาพเกษตรกรให้มีคุณภาพมากขึ้น และขอให้หน่วยงานต่างๆเข้ามาดูแลช่วยเหลือเกษตรกรอย่างแท้จริง
ส่วน น.ส.นิชาภา สุวรรณนาค สมาชิกวุฒิสภา จ.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า วันนี้มาร่วมประชุมกับสภาเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่อำเภอบางสะพานน้อย เพื่อรับทราบปัญหาของเกษตรกร มีหลายประเด็นที่จะต้องหาทางแก้ไขช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่ดิน เรื่องของแหล่งน้ำ เรื่องของราคาพืชผลที่ไม่แน่นอน และพืชที่ล้นตลาดนั้น ต้องแก้ปัญหาโดยใช้คนรุ่นใหม่เข้ามาปรับปรุงโครงสร้าง แก้ปัญหาเทคโนโลยี ปัญหาในเรื่องของการแปรรูป การเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น
ปัญหาเหล่านี้จะแก้ไขได้ต้องมีการผสมผสานความคิดของคนรุ่นใหม่ และใช้ภูมิปัญ ญาของคนรุ่นเก่ามาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากที่สุด ปัญหาหลักคือองค์ความรู้ที่จะลงไปถึงตัวเกษตรกรเอง ต้องมีการเข้าถึงแหล่งความรู้ แล้วนำไปพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพของตัวเกษตรกรเอง และปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของแต่ละพื้นที่การเปลี่ยน แปลงเพื่อพัฒนาให้มากขึ้นแล้วมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น หลังจากนี้ปัญหาต่างๆที่เกินจากตัวเกษตรกรก็จะน้อยลงในที่สุด น.ส.นิชาภา สุวรรณนาค สมาชิกวุฒิสภา จ.ประจวบคีรีขันธ์ป้ายแดง กล่าว