กาญจนบุรี-สสจ.Kick off ขับเคลื่อนนโยบายคนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs)
“ด้วยกลไก อสม.เพื่อคนเมืองกาญจน์สุขภาพดี”
ภาพ-ข่าว:รักษพล พุ่มพฤกษ์
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ณ.ที่ ห้องประชุมหลวงปู่หลิว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี นายแพทย์ธีรพจน์ ฟักน้อย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานเปิดโครงการขับเคลื่อนนโยบาย คนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) จังหวัดกาญจนบุรี
โดย นายรังสิมันตุ์ ทองสวัสดิ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี นายก อบจ.กาญจนบุรี ผู้อำนวยการ ร.พ.ทุกแห่ง สาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอ ประธานชมรม อสม.ระดับจังหวัดและอำเภอ อสม.ดีเด่น และผู้รับผิดชอบงานจากทุกอำเภอ จำนวน 200 คน เข้าร่วมฯ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรีเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนนโยบาย คนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) จังหวัดกาญจนบุรี และรวมพลังของ อสม.และเครือข่าย ในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติในทุกชุมชน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรค NCDs การให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง การดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยที่เชื่อมโยงระบบสุขภาพปฐมภูมิ สนองตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของ อสม.และเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อคนไทยห่างไกลโรคและภัยสุขภาพ เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ก่อนเข้าสู่ระบบการรักษา ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครอบครัวและชุมชน
โดยใช้แนวคิด “NCDs ดีได้ ด้วยกลไก อสม.” จากข้อมูลในปัจจุบันประชาชนป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs เป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น กินอาหารหวานจัด เค็มจัด ไม่ออกกำลังกาย การดื่่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่่ นอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียดสูง เป็นต้น ทำให้เกิดความสูญเสียต้นทุนด้านเศรษฐกิจสูงถึงปีละ 1.6 ล้านล้านบาท จากค่ารักษาพยาบาลทั้งทางตรงและทางอ้อม
ในส่วนของจังหวัดกาญจนบุรีมีข้อมูลสถานการณ์ผู้ป่วยรายใหม่ ทั้งความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ของจังหวัดกาญจนบุรี นับตั้งแต่ปี 2563-2567 พบว่าในแต่ละปี ผู้ป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูงมีจำนวน 2.5 เท่าของเบาหวาน โดยในปี 2567 พบว่า มีผู้ป่วยรายใหม่ความดันโลหิตสูง คิดเป็นอัตรา 1,870 ต่อแสนประชากร และเบาหวาน คิดเป็นอัตรา 725 ต่อแสนประชากร โดยที่กลุ่มเสี่ยงก็เริ่มเป็นกลุ่มที่อยู่ในช่วงอายุน้อยลง และมีแนวโน้มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้้นอย่างต่อเนื่่อง
ดังนั้น การขับเคลื่อนตามนโยบายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทำให้มีความรู้ในการปรับพฤติกรรมการกินแบบนับคาร์บ ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน ลดการเกิดผู้ป่วย NCDs รายใหม่ ส่วนผู้ที่ป่วยแล้วก็สามารถควบคุมโรคได้ดี ชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
สำหรับกิจกรรมภายในงาน มีการบรรยายพิเศษ การมอบประกาศเกียรติคุณหน่วยงานที่มีผลงานเด่น การแสดงนิทรรศการสาธิต การตอบปัญหาชิงรางวัล กิจกรรมเสริมความรู้สู่พลัง อสม. กิจกรรมชวน อสม.นับคาร์บ การรายงานข้อมูลผ่าน Application SMART อสม. และกิจกรรมเปิดตัว (Kick off) “NCDs ดีได้ ด้วยกลไก อสม.”