สระบุรี-ประชุมสรุปกิจกรรม “OpenGov for Citizen พลเมืองเคลื่อนรัฐ”

สระบุรี-ประชุมสรุปกิจกรรม “OpenGov for Citizen พลเมืองเคลื่อนรัฐ”

ภาพ-ข่าว:สมภพ พิมมะศร

           ที่ห้องประชุมหลวงพ่อสำเร็จศักดิ์สิทธิ์ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดสระบุรี จังหวัดสระบุรี นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นประธานการประชุม สรุปผลการจัดกิจกรรม “OpenGov for Citizen” พลเมืองเคลื่อนรัฐ โดยมี นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. และส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมนำเสนอพร้อมนำเสนอแนวทางการจับคู่ (Matching) ระหว่างภาคเอกชนและป่าชุมชนสระบุรี โดยมี นายธนศักดิ์ มังกโรทัย ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการนายนาวี นาควัชระ ChangeFusion เป็นผู้นำเสนอ
           นอกจากนี้ยังได้หารือและให้ความเห็นต่อแนวทางการจับคู่ (Matching) ระหว่างภาคเอกชนและป่าชุมชนสระบุรี เพื่อการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม โดย มีนายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารงานภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม ผู้แทนจากสำนักงางานทรัพยากรรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระบุรีผู้แทนจากสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย ผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี ผู้แทนจากสมาคมการท่องเที่ยวสระบุรี ผู้แทนจากป่าชุมชนสระบุรี ผู้แทนจากภาคเอกชน เข้าร่วมหารือ
            ทั้งนี้สำนักงาน ก.พ.ร. โดยความร่วมมือกับมูลนิธิ Konrad Adenauer Stiftung (KAS) จากสาธารณรัฐเยอรมนี และจังหวัดสระบุรี จัดกิจกรรม “OpenGov for Citizen พลเมืองเคลื่อนรัฐ” ครั้งที่ 3 เมื่อวันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมลีลาวดี วิลล่า ลีลาวดีรีสอร์ท จังหวัดสระบุรี โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นายบัญชา เชาวรินทร์ เป็นประธาน กิจกรรมในครั้งนี้จัดหัวข้อ “Forests for the Future – ป่าชุมชนสระบุรี เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ซึ่งเป็น “การเพิ่มพื้นที่สีเขียว” และเป็น 1 ใน 6 แนวทางการขับเคลื่อน “สระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ” (Saraburi Low Carbon City)ผ่านกลไกความร่วมมือของเครือข่ายป่าชุมชน และภาคส่วนต่าง ที่เกี่ยวข้อง
            ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ กพร. นายอลงกรณ์ พลบุตร คณะทำงานประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) นายปรพล อดิเรกสาร (ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศและที่ปรึกษาสมาคมการท่องเที่ยวสระบุรี อนุกรรมการฯ นายสุนิตย์ เชรษฐา อนุกรรมการฯ นางสาวอรพรรณ สุวรรณวัฒนกุล มูลนิธิ Konrad Adenaure Stiftung (KAS)และผู้แทนจาก 11 ป่าชุมชนจังหวัดสระบุรี
            ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กองทุนสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
           ผู้แทนจากหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระบุรีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสระบุรี สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 7 (สระบุรี) สำนักงาน ทรัพยากรน้ำที่ 2 นิคมสร้างตนเองพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี สำนักงานทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 3 (สระบุรี) สำนักจัดการทรัพยากรป้าไม้ที่ 5(สระบุรี) สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสระบุรี สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1สาขาสระบุรี อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
ผู้แทนจากภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท เคมีแมน จำกัด (มหาชน) บริษัท สยามฟูรูกาวา จำกัดบริษัท ชีพี-เมจิ จำกัด บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)บริษัท วันซ์ ออล จำกัด บริษัท คร็อกโคเฮด มีเดีย จำกัด ChangeFusion มูลนิลินิลุประสงค์ศูนย์อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

            โดยสรุปสาระสำคัญในการจัดกิจกรรม “OpenGov for Citizen พลเมืองเคลื่อนรัฐ ครั้งที่ 3″ ณ จังหวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่ให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ได้ระดมความคิดเห็นสู่ข้อเสนอในการพัฒนาพื้นที่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน ภายใต้หัวข้อ”Forests for the Future – ป่าชุมชนสระบุรี เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน” ซึ่งเป็น 1 ใน 6 แนวทางการขับเคลื่อน “สระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ” (Saraburi Low Carbon City)
            ป่าชุมชนสระบุรีมีประโยชน์ในหลายเรื่อง ได้แก่ เป็นธนาคารอาหารของชุมชน เป็นแหล่งสมุนไพร แหล่งท่องเที่ยว แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำ แหล่งการกักเก็บคาร์บอนและผลิตออกชิเจน แหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ แหล่งเรียนรู้ และแหล่งสร้างอาชีพ และรายได้ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นระบบนิเวศที่มีความสัมพันธ์กัน พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 มีเป้าหมายในการสนับสนุนการบริหารจัดการบ่าชุมชนโดยให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนในในการดูแลและใช้ประโยชน์จากบ่าได้อย่างยั่งยืน BOI มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่า โดยดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับมาตรการจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลระยะเวลา 3 ปี วงเงิน 120% ของเงินสนับสนุน การบริหารจัดการป่าชุมชนของจังหวัดสระบุรี เป็นการสนับสนุนเป้าหมายของประเทศในเรื่องCarbon Neutrality และ Net Zero เพื่อเป้าหมายในการสร้างอนาคตที่ขึ้นให้กับคนรุ่นหลัง

             ผลลัพธ์และประโยชน์จากการจัดกิจกรรม โดยผู้แทนจากแต่ละป่าชุมชนได้แผนการพัฒนาป่าชุมชนที่มีความสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยมีหน่วยงานภาครัฐส่วนกลางและพื้นที่ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแผนให้มีความสมบูรณ์และชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งพร้อมสำหรับการจับคู่(Matching) ระหว่างภาคเอกชนและภาคป่าชุมชน เพื่อการสนับสนุนในเรื่องต่างๆ ภาครัฐได้รับความเชื่อมั่น เชื่อใจจากประชาชนในการบริหารงานภาครัฐ (Trust in Government) ผ่านกลไกภาครัฐระบบเปิด (Open Government) และการมีส่วนร่วม (Participation) เกิดการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ(Saraburi Low Carbon City)และเกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!