“ปชป.”สนับสนุนสันนิบาตสหกรณ์ฯ

“ปชป.”สนับสนุนสันนิบาตสหกรณ์ฯ

ภาพ-ข่าว:พิสิษฐ์ รื่นเกษม

      “เดินหน้าโครงการ“สภาสหกรณ์แห่งชาติ”ยกระดับอัพเกรดขบวนการสหกรณ์ของไทย”

         นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคประชาธิปัตย์และอดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศคนที่ 1ได้รับมอบจากดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เข้าร่วมการประชุมและบรรยายตามคำเชิญของนายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ประธานคณะกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย (สสท.)ในวาระการประชุมของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยเรื่องโครงการจัดตั้งสภาสหกรณ์แห่งชาติ“ที่โรงแรมเอเซียแอร์พอร์ต
       วันนี้โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ มีนโยบายสนับสนุนขบวนการสหกรณ์และสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนานโดยเฉพาะในช่วงที่เป็นแกนนำรัฐบาลได้ปรับปรุงพรบ.สหกรณ์ปี2511ที่ใช้มา31ปีให้ทันสมัยในปี2542 ดังนั้นเมื่อสันนิบาตสหกรณ์ฯ.ริเริ่มโครงการจัดตั้งสภาสหกรณ์แห่งชาติจึงพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

         “ขบวนการสหกรณ์ของไทยเกิดขึ้นมากว่า100ปีตั้งแต่ปี2458จนเติบใหญ่มีสมาชิกกว่า 10 ล้านคนในสหกรณ์7ประเภทจำนวนกว่า6,000สหกรณ์เป็นองค์กรธุรกิจใหญ่ที่สุดมีทรัพย์สินเงินทุนหมุนเวียนและธุรกิจไม่น้อยกว่า5ล้านล้านบาทมากกว่างบประมาณแผ่นดินเกือบ2เท่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตลอดมา
          ดังนั้นเมื่อสันนิบาตสหกรณ์ฯ.ริเริ่มโครงการจัดตั้งสภาสหกรณ์แห่งชาติจึงพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่และพร้อมร่วมคิดร่วมจัดทำร่างพระราชบัญญัติ“สภาสหกรณ์แห่งชาติ”
เช่นเดียวกับการที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตได้ตราพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติพ.ศ. 2553เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเกษตรกรและภาคเกษตรกรรมของประเทศ“
          ทั้งนี้นายอลงกรณ์ได้เสนอ2แนวทางในการจัดตั้งสภาสหกรณ์แห่งชาติ เช่น การตรากฎหมายใหม่หรือปรับปรุงกฎหมายเดิมยกฐานะสันนิบาตสหกรณ์ฯ.เป็นสภาสหกรณ์ฯ.หรือเป็นสภาสหกรณ์และเกษตรกรแห่งชาติภายใต้การปรับปรุงกฎหมายสภาเกษตรกรแห่งชาติซึ่งต้องหารือกับคณะกรรมการสภาเกษตรกรแห่งชาติว่าขัดข้องหรือไม่อย่างไร เพื่อให้ขบวนการสหกรณ์แข็งแกร่งและเป็นเอกภาพ

นอกจากนั้นกฎหมายการจัดตั้งจะต้องตอบโจทย์การบริหารสหกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส ต้นทุนเงินสหกรณ์และดอกเบี้ย ความสามารถในการประกอบธุรกิจแบบอเนกประสงค์ทันต่อยุคดิจิตอล รวมทั้งการให้มีองค์กรอิสระทำหน้าที่กำกับดูแลและสนับสนุนในรูปแบบ Regulator ในสาขากิจการประกันภัย สาขากิจการสื่อสารโทรคมนาคม สาขากิจการไฟฟ้าฯลฯแทนกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินการภายใต้คณะกรรมการกำกับกิจการที่เป็นองค์อิสระ

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!