กาญจนบุรี-ม.มหิดล ไทรโยค จัดโครงการนำร่องลดการเผาที่โล่งป้องกันฝุ่นละออง

กาญจนบุรี-ม.มหิดล ไทรโยค จัดโครงการนำร่องลดการเผาที่โล่งป้องกันฝุ่นละออง

ภาพ-ข่าว:รักษพล พุ่มพฤกษ์

         วันที่ 12 ธันวาคม 2567 ณ.ห้องประชุมอาเซียน 2 โรงแรมพีลูดส์ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ทางมหาวิทยาลัยมหิดลไทรโยคกาญจนบุรี ได้จัดโครงการปฏิบัติการนำร่องลดการเผาในที่โล่งเชิงรุก เพื่อสุขภาวะที่ดีในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยมี นายวุฒิพงษ์ สุภัควนิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ดร.เจน ชาญณรงค์ รองประธานสภลมหายใจกรุงเทพมหานครฯ รศ.ดร. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ พื้นที่ป่าอนุรักษ์อำเภอศรีสวัสดิ์ พื้นที่ไร่อ้อย อำเภอไทรโยค พื้นที่ไร่อ้อย อำเภอบ่อพลอย ซึ่งเป็นพื้นที่เผาซ้ำซาก วิเคราะห์จากข้อมมูลจุดความร้อน (Hot spot) จากดาวเทียมย้อนหลัง 10 ปี
           วัตถุประสงค์ 4 ข้อ ประกอบด้วย เพื่อลดการเผาในที่โล่ง และปรับปรุงการจัดกิจกรรมทางการเกษตร ที่ก่อให้เกิดมลพิษ เสริมสร้างการแปรรูปวัสดุเหลือใช้จากทางการเกษตร เพื่อลดต้นทุนและเสริมรายได้ การสื่อสารในวงกว้างระหว่างรัฐกับประชาชน ชุมชนโรงเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องไฟและสุขภาพ และการสร้างสภาเครือข่ายลมหายใจ เกิดกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน การทำงานเชื่อมโยงกันและชัดเจน
            สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ ได้มีการเสวนาให้ความรู้องค์ความรู้ในปฏิบัติการนำร่อง ลดการเผาในที่โล่งเพื่อสุขภาวะที่ดี พร้อมแนวทางควบคุมป้องกันปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 รวมถึงการปฏิญาณร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน โดยมี นายวุฒิพงษ์ สุภัควนิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นผู้นำกล่าวในการเปิดพิธี
          โอกาสนี้ นายวุฒิพงษ์ สุภัควนิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้เปิดเผยว่า การนำร่องในครั้งนี้ได้ร่วมกับหน่วยงาน สสส. และมหาวิทยาลัยมหิดลกาญจนบุรี นำร่องเนื่องจากกาญจนบุรี เกิดปัญหาฝุ่นละอองในปีที่ผ่านมา โดยหวังว่าในปีนี้ทางเกษตรกรจะร่วมกันไม่เผาซากทางการเกษตร เพื่อลอฝุ่นควันเพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย การจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อเป็นการนำร่องให้กับเกษตรทั่วไปได้เกิดจิตสำนึก ฝากย้ำว่าเดือนธันวาคม ถึง มีนาคม นี้ ทำอย่างไร ไม่เผาทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ หรือลดภาวะให้ลดน้อย และฝากย้ำหากพบเจอควันไฟจากพื้นที่ใดสามารถแจ้งให้กับทางเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ทราบได้ทันที เรางต้องมาช่วยกันดูแลภาวะสิ่งแวดล้อมร่วมกัน
          อาจารย์ ดร.จุฑามาศ สุคนธปฏิภาค อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ หัวหน้าโครงการ ได้กล่าวว่าที่เลือกกาญจนบุรี เป็นนำร่องเพราะว่าไปดูสถิติย้อนหลังแล้ว กองไฟป่าที่ใหญ่ที่สุดในภาคกลางคือกาญจนบุรี ดังนั้นที่เราเลือกเพราะว่าระยะเวลาจำกัด จึงระดมสรรพกำลังมาลงที่นี่ คาดว่าเมื่อเราลงมาแล้วก็จะให้การรับรู้ของประชาชนในเรื่องของการดูแลสิ่งแวดล้อม ปัญหาฝุ่นละอองกาญจนบุรี ไม่ได้มีฝุ่นน้อยไปกว่าเชียงใหม่ หรือกรุงเทพมหานครฯ เพียงแต่ไม่ได้เป็นกระแสอย่างพื้นที่อื่น จึงอยากสร้างแระแสขึ้นในกลุ่มประชาชน เพื่อขับเคลื่อนไปไอย่างรวดเร็ว สุดท้ายปัญหาควันไฟข้ามแดนจากเพื่อนบ้าน เรื่องนี้เราได้มีการพูดคุยกันบ้างแล้ว แต่เราต้องมาจัดการไฟในบ้านเราก่อน หากเราสามารถจัดการควันไฟในบ้านเราแล้วค่อยขยายออกไปยังเพื่อนบ้านเขาเอง

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!