ร้อยเอ็ด-ประชุมแก้ไขปัญหาการนำเข้าสินค้าและบริการที่ไม่ได้มาตรฐานและผิดกฎหมายจากต่างประเทศ

ร้อยเอ็ด-ประชุมแก้ไขปัญหาการนำเข้าสินค้าและบริการที่ไม่ได้มาตรฐานและผิดกฎหมายจากต่างประเทศ

ภาพ-ข่าว:คมกฤช พวงศรีเคน

           วันนี้(15 ม.ค.68) เวลา 13.30 น.นายพิชัยยา ตุระซอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานการประชุมการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง กรอ.จังหวัด/กรอ.กลุ่มจังหวัด และภาคีเครือข่าย ณ ห้องประชุมพระมหาเจดีย์ชัยมงคลชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ ภาพเอกชน คณะกรรมการ กรอ.จังหวัดร้อยเอ็ด และภาคีเครือข่ายเข้าร่วมประชุม
         นายพิชัยยา ตุระซอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า การประชุมเพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่าง กรอ.จังหวัด กระทรวงมหาดไทยแจ้งเน้นย้ำให้จังหวัดร้อยเอ็ด ให้ความสำคัญกับการบูรณากาการงานและความร่วมมือระหว่าง กรอ.จังหวัด/กรอ.กลุ่มจังหวัด และภาคีเครือข่าย โดยให้ดำเนินการจัดประชุมอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดได้จัดประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดร้อยเอ็ด ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ครั้งนี้เป็นการประชุมฯ ครั้งที่ 2/2568 และเป็นการประชุมตามรอบวาระที่กระทรวงมหาดไทยแจ้งเน้นย้ำ
         โดยที่ประชุมได้มีมติในการแก้ไขปัญหาการนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าไม่ได้มาตรฐานและราคาต่ำจากต่างประเทศ ขอให้กระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบการจำหน่ายสินค้าผ่านแพลต ฟอร์ม TEMU เนื่องจาก ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศ ดำเนินการได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ 28 หน่วยงาน และภาคเอกชน 40 กลุ่มธุรกิจ กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาการนำเข้าสินค้าและบริการที่ไม่ได้มาตรฐานและผิดกฎหมายจากต่างประเทศ แบ่งเป็น 5 มาตรการหลัก 63 แผนปฏิบัติการ
        ประกอบด้วย การบังคับใช้ระเบียบ/กฎหมายที่มีอยู่อย่างเข้มขัน การปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบให้สอดคล้องกับการค้าอนาคต มาตรการด้านภาษี มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการสร้าง/ต่อยอยอดความร่ามมือกับประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบมาตรการดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะบูรณาการการทำงานร่วมกัน ภายใต้แผนปฏิบัติการตามข้อ 1 เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้านำเข้าที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐานและธุรกิจจากต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยการบังคับใช้กฎหมาย/ระเบียบที่มีอยู่อย่างเข้มข้น ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบให้สอดคล้องกับการค้าอนาคต มาตรการเยียวยาทางการค้า โดยการใช้มาตรการด้านภาษีมาตรการเชิงรุก โดยการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs ให้สามารถแข่งขันได้และผลักดันสินค้าไทยไปจำหน่ายบนแพลตฟอร์ม e-Commerce ต่างประเทศ
           นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาสินค้าและธุรกิจต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย การป้องกันและป้องปรามธุรกิจอำพรางของคนต่างด้าว (Nominee) การส่งเสริมและยกระดับ SMEs ไทย และแก้ไขปัญหาสินค้าที่ไม่มีคุณภาพจากต่างประเทศ เป็นต้น

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!